คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน, การลงโทษทางวินัย, และสิทธิการพิจารณาขึ้นเงินเดือนของลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอันสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 8(1)(2)และ(5)แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกลงโทษตัดเงินเดือนโดยโดยไม่มีความผิด ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษแล้วให้บังคับจำเลยขึ้นเงินเดือนตามสิทธิ คำฟ้องและคำขอที่เรียกเงินเดือนดังกล่าวไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างโดยตรง จะปรับใช้อายุความว่าด้วยการเรียกเงินจ้างอันมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ไม่ได้ การที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างประการใดได้ก็ต่อเมื่อข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานได้กำหนดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำว่าเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ นายจ้างจะถือเอาการปฎิบัติอันเป็นประเพณีมาลงโทษลูกจ้างมิได้ การให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ลูกจ้างเป็นอำนาจโดยเฉพาะของนายจ้าง อำนาจนี้เป็นสิทธิของนายจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินกิจการที่นายจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง หาใช่สิทธิของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการฟ้องร้องกรณีลงโทษทางวินัย, การขึ้นเงินเดือน, และการเรียกร้องค่าเสียหายของลูกจ้าง
คดีก่อนมีประเด็นว่า คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยชอบหรือไม่ โจทก์ถูกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบหรือไม่ และควรขึ้นค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกสอบสวนหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยชอบหรือไม่ ควรขึ้นเงินเดือนโจทก์ระหว่างถูกสอบสวนหรือไม่ โจทก์ควรได้ค่าจ้างส่วนที่ขาด โบนัส และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่ ซึ่งประเด็นและเหตุในคดีทั้งสองต่างกัน การพิจารณาคดีทั้งสองมีมูลฐานที่พิจารณาจากคำสั่งต่างฉบับกัน และคำขอท้ายฟ้องแตกต่างกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอันสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ.2522 มาตรา 8 (1) (2) และ (5) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกลงโทษตัดเงินเดือนโดยไม่มีความผิด ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษแล้วให้บังคับจำเลยขึ้นเงินเดือนตามสิทธิคำฟ้องและคำขอที่เรียกเงินเดือนดังกล่าวไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างโดยตรง จะปรับใช้อายุความว่าด้วยการเรียกเงินจ้างอันมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) ไม่ได้
การที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างประการใดได้ก็ต่อเมื่อข้อบังคับหรือระเบียบการทำงานได้กำหนดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำว่าเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ นายจ้างจะถือเอาการปฏิบัติอันเป็นประเพณีมาลงโทษลูกจ้างมิได้
การให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้าง อำนาจนี้เป็นสิทธิของนายจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินกิจการที่นายจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้างสิทธิของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง หากรวมแล้วไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง เมื่อรวมกันค่าจ้างแล้วเป็นค่าจ้างวันละ 76.67 บาท ดังนี้ไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบการเงินอย่างร้ายแรง กรณีไม่นำเงินฝากตามกำหนด
จำเลยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเป็นเงินสดว่า ให้หัวหน้าหน่วยอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาเงินสดที่ได้จากการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเป็นผู้รับผิดชอบส่งเงินสดที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไปฝากธนาคารหรือส่งให้สาขา โจทก์เป็นหัวหน้าหน่วยสินเชื่ออำเภอสุไหงปาดีมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน จึงต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวอย่างเคร่งรัด มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อกิจการธนาคารของจำเลย จนอาจทำให้ไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ การที่โจทก์รับเงินจากลุกค้าการเกษตรไว้จำนวน 1,074 บาท แม้จะเกินจำนวนที่โจทก์สามารถเก็บรักษาไว้ได้โดยไม่ต้องส่งฝากเข้าบัญชีเงินฝากของสาขาเพียง 74 บาท แต่เมื่อโจทก์ส่งฝากเข้าบัญชีสาขาล่าช้าถึง 5 วัน ทั้งที่โจทก์สามารถนำเงินไปฝากได้ทันทีตามกำหนดนั้น ถือได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างขัดแจ้งอันเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการเงิน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเป็นเงินสดว่า ให้หัวหน้าหน่วยอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาเงินสดและส่งฝากเงินสดที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปเข้าธนาคารหรือสาขา โจทก์เป็นหัวหน้าหน่วยสินเชื่ออำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบด้วยการเงิน รับเงินจากลูกค้าการเกษตรไว้จำนวน1,074 บาท แม้จะเกินจำนวนที่โจทก์สามารถเก็บรักษาไว้ได้เพียง 74 บาท แต่โจทก์ส่งฝากเข้าบัญชีสาขาล่าช้าถึง 5 วันดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากเหตุเล่นการพนันในที่ทำงาน และประเด็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน
ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างระบุว่า การเล่นการพนันทุกประเภทในสถานที่ทำการที่บริเวณที่ทำการของจำเลยนอกเวลาปฏิบัติงานและถูกศาลพิพากษาลงโทษไม่ถึงจำคุก ถือว่ากระทำผิดวินัย ซึ่งเท่ากับเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างและประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั่นเองเมื่อโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเล่นการพนันในสถานที่หรือบริเวณที่ทำการของจำเลยนอกเวลาปฏิบัติงาน จนถูกศาลพิพากษาลงโทษปรับ จำเลยย่อมลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานได้ กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นการเคร่งครัดตายตัวว่า หากคู่ความฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการยื่นและการรับฟังพยานหลักฐานแล้วศาลต้องปฏิเสธไม่รับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นเสมอไป หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและเป็นพยานสำคัญในคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ในการสืบพยานจำเลย จำเลยอ้างส่งเอกสารโดยมิได้นำส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้จำเลยส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ภายในสามวันคำสั่งศาลแรงงานกลางชอบแล้วและศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากข้อบังคับบริษัทเรื่องการเล่นการพนัน และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ
ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างระบุว่า การเล่นการพนันทุกประเภทในสถานที่ทำการที่บริเวณที่ทำการของจำเลยนอกเวลาปฏิบัติงานและถูกศาลพิพากษาลงโทษไม่ถึงจำคุก ถือว่ากระทำผิดวินัย ซึ่งเท่ากับเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างและประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั่นเอง เมื่อโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเล่นการพนันในสถานที่หรือบริเวณที่ทำการของจำเลยนอกเวลาปฏิบัติงานจนถูกศาลพิพากษาลงโทษปรับ จำเลยย่อมลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานได้
กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นการเคร่งครัดตายตัวว่าหากคู่ความฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการยื่นและการรับฟังพยานหลักฐานแล้ว ศาลต้องปฏิเสธไม่รับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นเสมอไป หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและเป็นพยานสำคัญในคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ในการสืบพยานจำเลย จำเลยอ้างส่งเอกสารโดยมิได้นำส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวันศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้จำเลยส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ภายในสามวัน คำสั่งศาลแรงงานกลางชอบแล้วและศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสคำนวณจากรายได้ประจำ: ค่าล่วงเวลา/เบี้ยขยันไม่รวม
รายได้ตลอดปีของพนักงานที่จะใช้คำนวณเงินโบนัสให้แก่พนักงานตามข้อบังคับของจำเลย หมายถึง เฉพราะรายได้ที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำตามปกติและมีจำนวนแน่นอนอันได้แก่ค่าจ้างรายเดือนหรือเงินเดือน ฉะนั้นค่าล่วงเวลาและเบี้ยขยันซึ่งเป็นเงินที่ลูกจ้างได้รับในระหว่างปีเป็นบางครั้งบางคราว และมีจำนวนไม่แน่นอน จึงไม่เป็นรายได้ของพนักงานที่จะนำมารวมเป็นหลักฐานคำนวณเงินโบนัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานคำนวณโบนัส: รายได้ประจำ vs. รายได้เสริม - ศาลฎีกาชี้ค่าล่วงเวลา/เบี้ยขยันไม่รวมคำนวณ
รายได้ตลอดปีของพนักงานที่จะใช้คำนวณเงินโบนัสให้แก่พนักงานตามข้อบังคับของจำเลย หมายถึงเฉพาะรายได้ที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำตามปกติและมีจำนวนแน่นอนอันได้แก่ค่าจ้างรายเดือนหรือเงินเดือนฉะนั้นค่าล่วงเวลาและเบี้ยขยันซึ่งเป็นเงินที่ลูกจ้างได้รับในระหว่างปีเป็นบางครั้งบางคราว และมีจำนวนไม่แน่นอน จึงไม่เป็นรายได้ของพนักงานที่จะนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินโบนัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของกรมแรงงาน แม้มิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กรณีค้างชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรกที่บัญญัติให้เจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น หมายถึงเจ้าหนี้ผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ส่วนกรณีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10ที่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบและหรือเงินเพิ่มได้ กรมแรงงานผู้ร้องจึงเป็นบุคคลผู้มีอำนาจดังกล่าวด้วย โดยมีสิทธิจะบังคับเหนือทรัพย์สินของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 แม้ผู้ร้องจะไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้
of 171