พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของกรมแรงงาน แม้มิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กรณีค้างชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรกที่บัญญัติให้เจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น หมายถึงเจ้าหนี้ผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ส่วนกรณีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10ที่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบและหรือเงินเพิ่มได้ กรมแรงงานผู้ร้องจึงเป็นบุคคลผู้มีอำนาจดังกล่าวด้วย โดยมีสิทธิจะบังคับเหนือทรัพย์สินของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 แม้ผู้ร้องจะไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยชอบ และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ทั้งเจ็ดออกมาร่วมนัดหยุดงานภายหลังจากที่สหภาพแรงงานได้นัดหยุดงานไปแล้วย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 15 เลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ด จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่ชอบ ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่เนื่องจากโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 15 รับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายหรือให้จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเนื่องจากถูกเลิกจ้างซึ่งเป็นดุลพินิจอันเป็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาวินิจฉัย เช่นนี้ เป็นเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดมีสิทธิเรียกร้องให้รับโจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายให้ตาม มาตรา 41 (4) หาใช่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ไม่ ดังนั้น เมื่อย้อนสำนวนไปแล้ว ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดของจำเลยที่ 15 เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 จึงไม่ถูกต้อง จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหลังการนัดหยุดงาน: สิทธิเรียกร้องของลูกจ้างและการวินิจฉัยค่าเสียหาย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ทั้งเจ็ดออกมาร่วมนัดหยุดงานภายหลังจากที่สหภาพแรงงานได้นัดหยุดงานไปแล้วย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 15 เลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ด จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่ชอบ ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่เนื่องจากโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 15 รับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายหรือให้จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากถูกเลิกจ้างซึ่งเป็นดุลพินิจอันเป็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาวินิจฉัย เช่นนี้ เป็นเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดมีสิทธิเรียกร้องให้รับโจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายได้ตาม มาตรา 41(4) หาใช่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ ดังนั้น เมื่อย้อนสำนวนไปแล้วศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดของจำเลยที่ 15 เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 จึงไม่ถูกต้อง จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญญาจ้างแรงงาน, อำนาจฟ้องของหญิงมีสามี, ค่าชดเชย, โบนัส, ค่านายหน้า
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นสินสมรสการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสหญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังตน โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคมลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว หญิงมีสามีฟ้องเองได้ ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้ โบนัสจ่ายเมื่อทำงานครบปี
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นสินสมรสการฟ้องเรียกเก็บเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส หญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังตน โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย
นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคม ถูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ
เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย
นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคม ถูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาที่นายจ้างสั่งให้เข้าร่วม ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์กำหนดระเบียบว่าด้วยการแข่งขันกีฬาว่าเพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดของพนักงานจากการปฏิบัติงานประจำวันอันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกของธนาคารโจทก์ ดังนั้นการเล่นกีฬาของพนักงานของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปเพื่อสนับสนุนให้กิจการธนาคารซึ่งเป็นกิจการหลักของโจทก์ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เมื่อโจทก์สั่งให้ ผ. ลงแข่งกีฬาในนามของโจทก์แม้การแข่งขันกีฬาจะกระทำนอกสำนักงานและนอกเวลาปฏิบัติงานก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของโจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่าตามระเบียบของกองทุนเงินทดแทนเกี่ยวกับค่าห้องและค่าอาหาร โจทก์มีสิทธิขอเบิกค่าห้องได้ไม่เกินวันละ180 บาท และเป็นค่าอาหารได้ไม่เกินวันละ 70 บาท หากโจทก์นำใบเสร็จรับเงินมาเบิกค่าห้อง ค่าอาหารรวม 10 วัน ย่อมไม่เกิน2,500 บาท ที่โจทก์อนุญาตให้ ผ. เบิกค่าห้องและค่าอาหารเกินสิทธิ เป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ดังกล่าว จำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การใหม่ ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นพิพากษาคดี อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียกรรมสัญญาจ้างงาน, การคืนสภาพเดิม, ค่าเสียหายจากการทำงานที่กระทำไปแล้ว, และการปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยแจ้งปีเกิดตามหลักฐานที่ผิดโดยมีเจตนาปกปิดความจริงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518ทำให้โจทก์ยอมรับโอนจำเลยเข้าเป็นพนักงานของโจทก์ โดยที่ขณะนั้นจำเลยมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว ต่อมาโจทก์ทราบความจริงจึงเลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ แม้การที่จะให้จำเลยคืนเงินค่าจ้างและเงินอื่นแก่โจทก์ ไม่เป็นการพ้นวิสัย แต่การงานที่จำเลยทำให้โจทก์ไปแล้วซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการงานของจำเลยแล้วก็ต้องกลับคืนไปยังฐานะเดิมด้วยดุจกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม เมื่อการที่จะให้การงานที่ทำไปแล้วกลับคืนยังฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงต้องใช้ค่าเสียหายที่สมควรแก่หน้าที่การงานให้แก่จำเลย โดยถือว่าค่าจ้างและเงินอื่นตามฟ้องที่จำเลยได้รับไปแล้วเป็นค่าเสียหายจำนวนนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ลูกจ้างทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการของนายจ้างทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ระหว่างเวลา 8.30 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกาเป็นประจำและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนรถยนต์โดยสารและมีฐานะเป็นลูกจ้างรายวันค่าจ้างวันละ 73 บาท ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ในวันจันทร์ อังคาร และพุธ ตั้งแต่เวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง18 นาฬิกาหรือกว่านั้น จึงเป็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย คำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ได้รับความยินยอม เป็นเหตุเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ลูกจ้างทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการของนายจ้าง ทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ระหว่างเวลา 8.30 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกา เป็นประจำและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนรถยนต์โดยสารและมีฐานะเป็นลูกจ้างรายวันค่าจ้างวันละ 73 บาท ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ในวันจันทร์ อังคาร และพุธ ตั้งแต่เวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง 18 นาฬิกาหรือกว่านั้น จึงเป็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย คำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อกันในคดีความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ: หากแยกฟ้องและศาลไม่รวมพิจารณา จะนับโทษต่อกันไม่ได้
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้กับคดีก่อนในข้อหาความผิดอย่างเดียวกันการกระทำความผิดทั้งสองคดีอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ผู้เสียหายส่วนมากเป็นรายเดียวกันและพยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน หากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ดังนี้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้ แม้ศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน ก็จะลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวน และให้นับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่มาตรา 91 บัญญัติไว้ และกรณีนี้แม้คดีที่ศาลสั่งให้นับโทษต่อถึงที่สุดแล้วก็ตาม จำเลยก็ยื่นคำร้องขอไม่ให้นับโทษต่อได้