คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการซ้ำซ้อน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้กลับคำพิพากษาเดิม
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้กับคดีก่อนในข้อหาความผิดอย่างเดียวกันการกระทำความผิดทั้งสองคดีอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันและคาบเกี่ยวกัน ผู้เสียหายส่วนมากเป็นรายเดียวกันและพยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน หากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ดังนี้เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้ แม้ศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน ก็จะลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวน และให้นับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่มาตรา 91 บัญญัติไว้ และกรณีนี้แม้คดีที่ศาลสั่งให้นับโทษต่อถึงที่สุดแล้วก็ตาม จำเลยก็ยื่นคำร้องขอไม่ให้นับโทษต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างที่ปฏิบัติงานบกพร่องตามสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่มูลละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ได้รับคำสั่งจากโจทก์ให้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นคณะกรรมการตรวจรับมอบการก่อสร้างแล้วไม่ตรวจรับมอบการก่อสร้างให้เป็นไปตามที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนด และได้รับความเห็นชอบจากโจทก์ ดังนี้เป็นคำฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ และไม่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงาน ขอให้บังคับจำเลยตามสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงนำอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ คดีมีอายุความสิบปีตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่ารถบริการรับส่งของลูกจ้างถือเป็นหนี้อันเกิดจากการทำงาน ไม่เป็นหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ค่ารถบริการรับส่งที่นายจ้างทดรองจ่ายไปก่อนแทนลูกจ้างแล้วนำมาหักกับค่าจ้างของลูกจ้างตามที่ตกลงกัน เงินที่หักก้เป็นจำนวนอันสมควรที่นายจ้างได้จ่ายไปตามความเป็นจริง ถือได้ว่าเงินที่หักนั้นเป็นหนี้อันเกิดแต่การทำงาน มิใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายค่ารถบริการรับส่งจากค่าจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นที่ไม่ชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ค่ารถบริการรับส่งที่นายจ้างทดรองจ่ายไปก่อนแทนลูกจ้างแล้วนำมาหักกับค่าจ้างของลูกจ้างตามที่ตกลงกัน เงินที่หักก็เป็นจำนวนอันสมควรที่นายจ้างได้จ่ายไปตามความเป็นจริง ถือได้ว่าเงินที่หักนั้นเป็นหนี้อันเกิดแต่การทำงาน มิใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคุณสมบัติเท็จในการสมัครงานเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ แม้ไม่มีความเสียหายร้ายแรง
การที่ลูกจ้างยื่นใบสมัครงานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้ลาออกจากบริษัทเดิม แต่ความจริงถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกินสามวันโดยไม่มีเหตุอันควรนั้น เป็นการแสดงคุณสมบัติอันเป็นเท็จเป็นเหตุให้นายจ้างหลงเชื่อในคุณสมบัติของลูกจ้างและยอมรับให้เป็นลูกจ้าง ดังนี้ อาจทำให้กิจการของนายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างตามข้อกำหนดในใบสมัครงานนั้นได้โดยไม่จำต้องเกิดความเสียหายร้ายแรงต่อนายจ้างเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อลดเช็คขัดวัตถุประสงค์บริษัท ทำให้ไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
การซื้อลดเช็คกับการให้กู้ยืนเงินเป็นนิติกรรมคนละประเภทมีกฎหมายรองรับในเรื่องรูปแบบและผลประโยชน์ผิดแยกแตกต่างกัน ดังนั้น การที่บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงิน จึงไม่อาจฟังว่า การซื้อลดเช็คอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์
บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการรับซื้อลดเช็ค แต่รับซื้อลดเช็คไว้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้เช็คมาโดยการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่เป็นผู้เสียหายดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์บริษัทจำกัด: การซื้อลดเช็คไม่อยู่ในขอบเขต แม้จะอ้างเป็นการให้กู้ยืมเงิน
การซื้อลดเช็คกับการให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมคนละประเภทมีกฎหมายรองรับในเรื่องรูปแบบและผลประโยชน์ผิดแผกแตกต่างกันดังนั้น การที่บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงิน จึงไม่อาจฟังว่า การซื้อลดเช็คอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการรับซื้อลดเช็ค แต่รับซื้อลดเช็คไว้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้เช็คมาโดยการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่เป็นผู้เสียหายดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3303/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าแรง/ค่าจ้างที่ค้างจ่าย ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เสียหายจากการฉ้อโกง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจเรียกร้องแทนผู้เสียหาย
ในคดีฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะไปฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้ในทางแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3303/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าแรงไม่ใช่ทรัพย์สินที่เสียหายจากการฉ้อโกง ผู้เสียหายต้องฟ้องทางแพ่ง
ในคดีฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะไปฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้ในทางแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3303/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าแรงมิใช่ทรัพย์สินเสียหายในคดีฉ้อโกง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจเรียกร้องแทนผู้เสียหาย
ในคดีฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะไปฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้ในทางแพ่ง.
of 171