คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุนท์ จันทรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,707 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4648/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตข้อผูกพันตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: สมาชิกภาพสหภาพแรงงานและการมีส่วนร่วมในการเจรจา
โจทก์มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยทั้งโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนซึ่งเข้าร่วมในการเจรจากับจำเลยผู้เป็นนายจ้าง จนได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งโจทก์อ้างมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ และไม่ปรากฎว่าลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสภาพแรงงานซึ่งยื่นข้อเรียกร้องมีลูกจ้างเป็นสมาชิกเกินกว่าสองในสามของลูกจ้างทั้งหมด ทั้งไม่มีพฤติการณ์อันใดที่แสดงว่า จำเลยมีเจตนาที่จะให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้างทุกคนของจำเลย โจทก์จึงหาได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากค่าขึ้นศาลค้างชำระ และการรับฟ้องอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ชำระแล้ว
การที่โจทก์เพิกเฉยไม่นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดในส่วนของดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นสั่งถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246ศาลย่อมไม่รับฟ้องอุทธรณ์ในเรื่องดอกเบี้ย แต่ต้องรับฟ้องอุทธรณ์เฉพาะที่เกี่ยวกับทุนทรัพย์ในต้นเงินที่เสียค่าธรรมเนียมถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากค่าขึ้นศาลที่ไม่ครบถ้วนและการรับฟ้องเฉพาะส่วน
การที่โจทก์เพิกเฉยไม่นำคำขึ้นศาลที่ยังขาดในส่วนของดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด
เวลาที่ศาลชั้นต้นสั่ง ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ศาลย่อมไม่รับฟัองอุทธรณ์ในเรื่องดอกเบี้ยแต่ต้องรับฟ้องอุทธรณ์เฉพาะที่เกี่ยวกับทุนทรัพย์ในต้นเงินที่เสียค่าธรรมเนียมถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากสัญญาจ้างแรงงานและการปฏิบัติผิดสัญญา vs. ละเมิด และความรับผิดของลูกจ้างร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป.ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่ ป.ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตามมาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงาน, ความรับผิดของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา, การชดใช้ค่าเสียหายจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธิปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป. ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่
ป. ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง ป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน
โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตาม มาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดงานโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงานในช่วงแจ้งล่วงหน้า แต่จ่ายค่าจ้างให้
เมื่อกรณีเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ นายจ้างได้แจ้งการปิดงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามกฎหมายแล้ว แม้นายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานในช่วงเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงที่ประกาศแจ้งล่วงหน้า แต่ก็ได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถือได้ว่าคงมีการทำงานอยู่จนถึงกำหนดวันเวลาที่แจ้งให้การปิดงานมีผล มิใช่เป็นการปิดงานนับแต่วันเวลาที่แจ้ง จึงเป็นการปิดงานโดยชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างในระหว่างที่มีการปิดงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท
การเลิกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 และอาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาความคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิดการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เป็นการละเมิดและเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นคดีที่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 หาใช่เป็นเรื่องตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มาก่อนก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
การเลิกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 และอาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เป็นการละเมิดและเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นคดีที่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หาใช่เป็นเรื่องตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มาก่อนก็ตาม โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุด และลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของนายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยกับโจทก์ต้องผูกพันกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยดำรงตำแหน่งใหม่ก็ไม่ทำให้ความเป็นลูกจ้างนายจ้างสิ้นสุดลง คงเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะได้กำหนดขึ้น เมื่อโจทก์ได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม ดังนี้ จำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์บรรยายฟ้องว่ากระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างตามข้อผูกพันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนี้ โจทก์ต้องการให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วยอายุความในการฟ้องร้องจึงต้องถืออายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ตกเป็นผู้ผิดนัดเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: คำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคำฟ้องไม่ถูกต้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยความผิด
คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าคำเบิกความเท็จของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร และประเด็นสำคัญแห่งคดีมีว่าอย่างไรจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงพยานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยตามข้อกล่าวหาของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำพิพากษาที่ได้วินิจฉัยในความผิดซึ่งได้ฟ้องโจทก์ฟ้องใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
of 171