พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจากความผิดอาญาฐานฆ่าผู้อื่น เนื่องจากจำเลยมอบตัวและให้การเป็นประโยชน์
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต่อหน้าสาธารณชนในร้านอาหารประจักษ์พยานของโจทก์หลายคนต่างก็รู้จักจำเลยเป็นอย่างดีข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดจริงเมื่อถูกฟ้องจำเลยจึงให้การรับสารภาพแสดงให้เห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน อย่างไรก็ดีหลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ให้การรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุให้พนักงานสอบสวนทำแผนที่เกิดเหตุและถ่ายภาพไว้ ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78ลดโทษให้หนึ่งในสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และผลของการเลิกสัญญาเมื่อทรัพย์สูญหาย โดยศาลพิจารณาดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ข้อสัญญาว่ากรณีผิดนัดหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาแสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่สัญญามีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นหาได้มีข้อตกลงที่พอจะแสดงให้เห็นว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนแต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ ป.พ.พ.มาตรา372วรรคแรกไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์บอกเลิกสัญญาจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วเป็นผลให้สัญญาสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปีตามข้อสัญญาแต่จะต้องนำป.พ.พ.มาตรา224มาใช้แทนโดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7ครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. เช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อรถหาย และดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่า จะขายทรัพย์สินนั้น หรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้ว ข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว ทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญา หรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม คู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้น ไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญา ให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้ว และผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 574 สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตาม มาตรา 459 หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษา การใช้ และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดี ให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดี ก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้น หาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่า แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย ฉะนั้น เมื่อระหว่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน รถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมา จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติ มาตรา 372 วรรคแรก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 114
เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม มาตรา 391 จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์ และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลย แต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระราคารถให้แทน โดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา ตามมาตรา 224
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่า แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย ฉะนั้น เมื่อระหว่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน รถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมา จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติ มาตรา 372 วรรคแรก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 114
เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม มาตรา 391 จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์ และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลย แต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระราคารถให้แทน โดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา ตามมาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. เช่าซื้อ: การสูญหายของทรัพย์สิน และผลผูกพันสัญญา
ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้วข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญาหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญาให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา574สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตามมาตรา459หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษาการใช้และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดีให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดีก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้นหาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่าแม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใดหรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใดผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วยฉะนั้นเมื่อระหห่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วนรถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมาจำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา372วรรคแรกซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา114 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลงคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา391จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยแต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องชำระราคารถให้แทนโดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญาตามมาตรา224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากการยกให้โดยเสน่หา และสิทธิในทรัพย์สินร่วม
คดีฟ้องหย่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยด่าหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรงว่า"อีดอกทองมึงก็ดอกทองเหมือนแม่"ถือว่าได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ทรัพย์ที่ได้รับยกให้ระหว่างเป็นสามีภริยาก่อนป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับต้องเป็นไปตามป.พ.พ.บรรพ5เดิมเมื่อหนังสือยกให้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้รับยกให้ย่อมตกเป็นสินสมรสตามมาตรา1464,1466บรรพ5เดิม ซึ่งสามีภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละกึ่งหนึ่งโดยถือเป็นเจ้าของรวมสามีจึงมีสิทธิอายัดบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสเพื่อมิให้ภริยาจำหน่ายจ่ายโอนแก่ผู้ใดได้ตามป.พ.พ.มาตรา1359และภริยาไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่สามีออกจากบ้านและที่ดินดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินรับยกให้ระหว่างสมรส หากหนังสือยกให้ไม่ได้ระบุเป็นสินส่วนตัว ให้ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หาเมื่อวันที่13มีนาคม2518ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับกรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมเมื่อหนังสือยกให้ที่ดินรายนี้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวแก่โจทก์จึงตกเป็นสินสมรส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินรับยกให้ก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ มิได้ระบุเป็นสินส่วนตัว ตกเป็นสินสมรส
ที่ดินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2518 ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ กรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม เมื่อหนังสือยกให้ที่ดินรายนี้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวแก่โจทก์ จึงตกเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานที่ดินในการตรวจสอบหนังสือมอบอำนาจ – พยานหลักฐานต้องชัดเจนและมีน้ำหนัก
คดีก่อนจำเลยที่5ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่3ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทและศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดในคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่5ไม่มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการปลอมใบมอบอำนาจคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145โจทก์จะมาอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยที่5ได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ในการขายที่ดินพิพาทให้กับโจทก์หาได้ไม่. กรมที่ดินได้วางระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นเกี่ยวแก่การมอบอำนาจไว้ว่า'ฯโดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบลายมือชื่อมิใช่ผู้ชำนาญการพิเศษโดยเฉพาะการตรวจสอบจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำได้.....ฯลฯ.....การตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ....ให้ตรวจสอบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับของเดิมพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่....ฯลฯ....'ดังนี้เมื่อลายมือชื่อปลอมของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมกับลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้มอบอำนาจมีลักษณะตัวอักษรช่องไฟและลีลาในการเขียนคล้ายคลึงกันมากในสายตาของวิญญูชนย่อมถือได้ว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันการที่เจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงจึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินกระทำโดยประมาทเลินเล่อ. กรมที่ดินวางระเบียบว่า'หนังสือมอบอำนาจควรมีพยานอย่างน้อย1คนถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายมือต้องมีพยาน2คน...ฯลฯ...'เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจนอกจากจะมีผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นพยานคนหนึ่งแล้วยังมีลายมือชื่อพยานอื่นอีกเช่นนี้แม้จะตัดลายมือชื่อพยานที่เป็นผู้รับมอบอำนาจออกไปใบมอบอำนาจนั้นก็ยังสมบูรณ์อยู่เมื่อไม่มีระเบียบให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบใบมอบอำนาจถ่ายบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจติดเรื่องไว้การที่เจ้าพนักงานไม่ได้กระทำเช่นนั้นจึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อถึงกับเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย. โจทก์เบิกความเพียงว่าหากจำเลยที่3ตรวจดวงตราเขตบางรักที่ประทับก็จะรู้ว่าเป็นตราปลอมส่วนจำเลยที่4ก็เคยเห็นดวงตราเขตบางรักเสมอๆแต่มิได้นำสืบให้เห็นว่าดวงตราที่แท้จริงของเขตบางรักเป็นอย่างไรคำเบิกความของโจทก์จึงเป็นเพียงความเข้าใจหรือการคาดคะเนของโจทก์เองเป็นการเลื่อนลอยกรณียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่3ที่4กระทำละเมิดต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารมอบอำนาจโดยสุจริต แม้ลายมือชื่อและตราประทับจะคล้ายคลึงกับของจริง ไม่ถือเป็นความประมาทเลินเละ
คดีก่อนจำเลยที่5ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่3ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทและศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดในคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่5ไม่มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการปลอมใบมอบอำนาจคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ตามป.วิ.พ.มาตรา145โจทก์จะมาอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยที่5ได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ในการขายที่ดินพิพาทให้กับโจทก์หาได้ไม่ กรมที่ดินได้วางระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นเกี่ยวแก่การมอบอำนาจไว้ว่า"ฯโดยที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบลายมือชื่อมิใช่ผู้ชำนาญการพิเศษโดยเฉพาะการตรวจสอบจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำได้...ฯลฯ...การตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ...ให้ตรวจสอบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับของเดิมพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่...ฯลฯ..."ดังนี้เมื่อลายมือชื่อปลอมของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมกับลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้มอบอำนาจมีลักษณะตัวอักษรช่องไฟและลีลาในการเขียนคล้ายคลึงกันมากในสายตาของวิญญูชนย่อมถือได้ว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันการที่เจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงจึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินกระทำโดยประมาทเลินเล่อ กรมที่ดินวางระเบียบว่า"หนังสือมอบอำนาจควรมีพยานอย่างน้อย1คนถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายมือต้องมีพยาน2คน...ฯลฯ..."เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจนอกจากจะมีผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นพยานคนหนึ่งแล้วยังมีลายมือชื่อพยานอื่นอีกเช่นนี้แม้จะตัดลายมือชื่อพยานที่เป็นผู้รับมอบอำนาจออกไปใบมอบอำนาจนั้นก็ยังสมบูรณ์อยู่เมื่อไม่มีระเบียบให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบใบมอบอำนาจถ่ายบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจติดเรื่องไว้การที่เจ้าพนักงานไม่ได้กระทำเช่นนั้นจึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคนประมาทเลินเล่อถึงกับเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย โจทก์เบิกความเพียงว่าหากจำเลยที่3ตรวจดวงตราเขตบางรักที่ประทับก็จะรู้ว่าเป็นตราปลอมส่วนจำเลยที่4ก็เคยเห็นดวงตราเขตบางรักเสมอๆแต่มิได้นำสืบให้เห็นว่าดวงตราที่แท้จริงของเขตบางรักเป็นอย่างไรคำเบิกความของโจทก์จึงเป็นเพียงความเข้าใจหรือการคาดคะเนของโจทก์เองเป็นการเลื่อนลอยกรณียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่3ที่4กระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้ทรัพย์สินเนื่องจากประพฤติเนรคุณ การด่าบิดาด้วยถ้อยคำดูหมิ่นเป็นเหตุให้เพิกถอนได้
จำเลยด่าโจทก์ซึ่งเป็นบิดาว่า'บักเฒ่าหัวหงอกบักเฒ่าตาบอดบักเฒ่าหูหนวกเฒ่าหนังยานเฒ่าหนังเหี่ยวหนีไปไหนก็ไปกูไม่เลี้ยงมึงดอกไปอยู่กับหมาโน่น'ทำให้โจทก์ได้รับความอับอายถือเป็นเหตุประพฤติเนรคุณโจทก์ถอนคืนการให้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)