คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิชัย วุฒิจำนงค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและฆ่าโดยไม่เจตนาจากฤทธิ์สุรา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยที่1เมาสุราใช้มีดปลายแหลมยาวทั้งตัวทั้งด้ามประมาณ1คืบแทงเปะปะไปโดยมิได้เลือกว่าเป็นที่ใดและแทงผู้ตายไปทีเดียวจะฟังว่ามีเจตนาฆ่ายังไม่ถนัดการกระทำของจำเลยที่1เป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและฆ่าโดยไม่เจตนา: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เมาสุราใช้มีดปลายแหลมยาวทั้งตัวทั้งด้ามประมาณ 1 คืบ แทงเปะปะไปโดยมิได้เลือกว่าเป็นที่ใด และแทงผู้ตายไปทีเดียว จะฟังว่ามีเจตนาฆ่ายังไม่ถนัด การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสิ่งของสูญหาย และขอบเขตการประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ดังนี้เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิมส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้นและต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการโจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรจำเลยที่1จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่1ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา29ไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141. จำเลยที่2มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่1ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใดถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่2รับไปจำเลยที่2ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสิ่งของสูญหาย: ข้อจำกัดความรับผิดตามระเบียบและข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหาย ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ ดังนี้ เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิม ส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้น และต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์ มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141
จำเลยที่ 2 มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 48 ตามที่จำเลยที่1 กำหนดให้ส่ง ทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใด ถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่ 2 รับไป จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหาย จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดไปรษณียภัณฑ์ตามกฎหมายและข้อบังคับ: การรับประกันสูงสุด 3,950 บาท
อำนาจหน้าที่และความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการขนไปรษณียภัณฑ์ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2515และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520มิใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. จากข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ131,141,143,146และ147สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณียภัณฑ์รับประกันมีเฉพาะจดหมายรับประกันซึ่งจดหมายรับประกันนี้จะจดแจ้งราคาหรือไม่ก็ได้การขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งของที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุอยู่หากมีราคามากกว่า3,950บาทขอรับประกันได้ไม่เกิน3,950บาท. ความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหักสูญหายต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141ส่วนมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์อื่นอันมิใช่จดหมายรับประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดไปรษณีย์: รับประกันภัยตามจริง, ไม่เกิน 3,950 บาท, ผู้ขนส่งชั้นสองไม่ต้องรับผิด
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่1มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชนจึงมิใช่ผู้ขนส่งตามป.พ.พ.และตามป.พ.พ.มาตรา609การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยต้องบังคับตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520 ตามข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์รับประกันมีได้เฉพาะจดหมายรับประกันการขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุหากมีราคามากกว่า3,950บาทก็ขอให้รับประกันได้ไม่เกินกว่านั้นฉะนั้นเมื่อผู้ฝากส่งได้ฝากส่งของประเภทจดหมายรับประกันและของที่ฝากส่งสูญหายจำเลยที่1คงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในไปรษณียนิเทศเท่าที่รับประกันไว้เท่านั้นหาต้องรับผิดจนเต็มราคาสิ่งของที่ฝากส่งไม่ บริษัทสายการบินอลิตาเลีย จำกัดจำเลยที่2ขนส่งของให้จำเลยที่1ตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งและมิได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์จำเลยที่2จึงมิใช่ผู้รับขนส่งให้ผู้ฝากส่งและกรณีมิใช่การขนส่งหลายทอดเมื่อจำเลยที่2ขนส่งของไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่าได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจำกัดของไปรษณีย์ในการขนส่งของรับประกันตามกฎหมายและข้อบังคับ
อำนาจหน้าที่และความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการขนไปรษณียภัณฑ์ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2515 และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช 2520 มิใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จากข้อบังคับของไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 131, 141,143, 146 และ 147 สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณียภัณฑ์รับประกันมีเฉพาะจดหมายรับประกัน ซึ่งจดหมายรับประกันนี้จะจดแจ้งราคาหรือไม่ก็ได้ การขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งของที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุอยู่หากมีราคามากกว่า 3,950 บาท ขอรับประกันได้ไม่เกิน 3,950 บาท
ความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหักสูญหายต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141 ส่วนมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช 2477 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์อื่นอันมิใช่จดหมายรับประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์: สิทธิในการเลิกสัญญาและค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินโฉนดของจำเลยตามสัญญาข้อ13ระบุไว้ว่าผู้ก่อสร้างจะต้องสร้างตึกแถวได้ไม่ต่ำกว่า90-110ห้องตามสัญญาข้อ15ระบุว่าผู้ให้ก่อสร้างรับว่าจะอำนวยความสะดวกต่างๆรวมทั้งการให้ความร่วมมือในการติดต่อกับทางราชการเพื่อให้การก่อสร้างและการเซ้งห้องเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและตามสัญญาข้อ17ระบุว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องได้ทันทีดังนั้นเมื่อโจทก์ผู้ก่อสร้างทำผังให้ปลูกตึกแถวในที่ดินโฉนดของจำเลยผู้ให้ก่อสร้างได้91ห้องก็ถือได้ว่าถูกต้องตามสัญญาการที่จำเลยไม่ยอมลงชื่อในแบบพิมพ์คำขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวของทางราชการให้โจทก์โจทก์ไม่อาจสร้างตึกแถวได้พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญากับจำเลยแล้วคู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะตามที่เป็นอยู่เดิมและโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391ค่าเสียหายเรื่องขาดผลกำไรเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอนศาลเห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับค่าเสียหายส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์: การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และค่าเสียหาย
โจทก์ จำเลยได้ทำสัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินโฉนดของจำเลย ตามสัญญาข้อ 13 ระบุไว้ว่า ผู้ก่อสร้างจะต้องสร้างตึกแถวได้ไม่ต่ำกว่า 90 - 110 ห้อง ตามสัญญาข้อ 15 ระบุว่าผู้ให้ก่อสร้างรับว่าจะอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการให้ความร่วมมือในการติดต่อกับทางราชการเพื่อให้การก่อสร้างและการเซ้งห้องเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว และตามสัญญาข้อ 17 ระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องได้ทันที ดังนั้น เมื่อโจทก์ผู้ก่อสร้างทำผังให้ปลูกตึกแถวในที่ดินโฉนดของจำเลยผู้ให้ก่อสร้างได้ 91 ห้องก็ถือได้ว่าถูกต้องตามสัญญา การที่จำเลยไม่ยอมลงชื่อในแบบพิมพ์คำขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวของทางราชการให้โจทก์ โจทก์ไม่อาจสร้างตึกแถวได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้
เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะตามที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ค่าเสียหายเรื่องขาดผลกำไรเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ การฟ้องขับไล่ และการแสดงเจตนาครอบครองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเดิมที่พิพาทเป็นของป.บิดาโจทก์ซึ่งให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยต่อมาป.ถึงแก่กรรมที่พิพาทตกเป็นของโจทก์โจทก์ได้อนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อมาต่อมาโจทก์จะขายที่พิพาทจึงไม่อนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไปจำเลยไม่ยอมออกฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่เคลือบคลุม. คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่พิพาทและที่ดินอีกแปลงหนึ่งศาลสั่งให้โจทก์แยกฟ้องสำหรับที่พิพาทเป็นคดีใหม่โจทก์จึงได้ฟ้องเป็นคดีใหม่ตามคำสั่งศาลจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน. จำเลยเช่าที่พิพาทจากโจทก์จึงเป็นเพียงผู้ยึดถือครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์หามีสิทธิครอบครองในที่พิพาทไม่ที่จำเลยไปยื่นคำร้องขอรังวัดออกโฉนดที่พิพาทโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านจำเลยก็ถอนคำร้องโดยไม่ได้ความว่าเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องร้องต่อไปทั้งได้ความอีกว่าจำเลยได้ไปขอโทษโจทก์เกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไปขอรังวัดออกโฉนดจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาต่อโจทก์ที่จะครอบครองที่พิพาทเพื่อตนเองต่อไปโจทก์จึงไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งสิทธิการครอบครองภายในกำหนด1ปี.
of 45