คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิชัย วุฒิจำนงค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และสิทธิของผู้เช่า: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่พิพาทเป็นของ ป. บิดาโจทก์ ซึ่งให้จำเลยเข้าอยู่อาศัย ต่อมา ป. ถึงแก่กรรม ที่พิพาทตกเป็นของโจทก์ โจทก์ได้อนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อมา ต่อมาโจทก์จะขายที่พิพาทจึงไม่อนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไปจำเลยไม่ยอมออก ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่เคลือบคลุม
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่พิพาทและที่ดินอีกแปลงหนึ่งศาลสั่งให้โจทก์แยกฟ้องสำหรับที่พิพาทเป็นคดีใหม่ โจทก์จึงได้ฟ้องเป็นคดีใหม่ตามคำสั่งศาล จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
จำเลยเช่าที่พิพาทจากโจทก์ จึงเป็นเพียงผู้ยึดถือครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ หามีสิทธิครอบครองในที่พิพาทไม่ ที่จำเลยไปยื่นคำร้องขอรังวัดออกโฉนดที่พิพาท โจทก์ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยก็ถอนคำร้อง โดยไม่ได้ความว่าเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องร้องต่อไป ทั้งได้ความอีกว่าจำเลยได้ไปขอโทษโจทก์เกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไปขอรังวัดออกโฉนด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาต่อโจทก์ที่จะครอบครองที่พิพาทเพื่อตนเองต่อไป โจทก์จึงไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งสิทธิการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2336/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการแทงบริเวณสำคัญของร่างกาย แม้ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ชีวิต ถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยใช้เหล็กตะไบเลือกแทงผู้เสียหายที่บริเวณช่องท้องข้างซ้ายและที่ช่องอกซ้ายในขณะที่ผู้เสียหายไม่มีอาวุธและไม่ได้ทำร้ายจำเลยแต่อย่างใดย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายได้.และได้ความจากแพทย์ว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการผ่าตัดอาจทำให้ถึงตายได้และบาดแผลของผู้เสียหายนี้ไม่สามารถรักษาโดยการฉีดยาหรือใช้ยารับประทานจะต้องรักษาโดยการผ่าตัดทันทีเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,80.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2336/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการแทงตามร่างกาย: การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าและการลงโทษที่เหมาะสม
จำเลยใช้เหล็กตะไบเลือกแทงผู้เสียหายที่บริเวณช่องท้องข้างซ้ายและที่ช่องอกซ้ายในขณะที่ผู้เสียหายไม่มีอาวุธและไม่ได้ทำร้ายจำเลยแต่อย่างใดย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายได้และได้ความจากแพทย์ว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการผ่าตัดอาจทำให้ถึงตายได้และบาดแผลของผู้เสียหายนี้ไม่สามารถรักษาโดยการฉีดยาหรือใช้ยารับประทานจะต้องรักษาโดยการผ่าตัดทันทีเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตามป.อ.มาตรา288,80.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามมาตรา 166 วรรคสอง เพื่อขอให้ไต่สวนมูลฟ้องใหม่ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นยกคดีของโจทก์ซึ่งถูกยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ โจทก์จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 166 วรรคสองเสียก่อน โดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อศาลจะได้ไต่สวนคำร้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่ามีเหตุสมควรที่โจทก์มาศาลไม่ได้ตามกำหนดนัดดังที่กล่าวอ้างหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งได้โดยถูกต้อง การที่โจทก์กลับยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงเพียงใดหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้เพราะไม่มีข้อเท็จจริงที่จะวินิจฉัยให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์โดยวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการปฏิบัติข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขั้นตอนการขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องใหม่หลังมีคำสั่งยกฟ้อง: ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นยกคดีของโจทก์ซึ่งถูกยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166วรรคหนึ่งขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่โจทก์จำต้องปฏิบัติตามมาตรา166วรรคสองเสียก่อนโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อศาลจะได้ไต่สวนคำร้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่ามีเหตุสมควรที่โจทก์มาศาลไม่ได้ตามกำหนดนัดดังที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาสั่งได้โดยถูกต้องการที่โจทก์กลับยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงเพียงใดหรือไม่ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้เพราะไม่มีข้อเท็จจริงที่จะวินิจฉัยให้ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์โดยวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการปฏิบัติข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968-1969/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ สิทธิในที่ดินมรดก การฟ้องซ้อน และอายุความคดี
จำเลยอาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของท. มารดาโจทก์โดยทำสัญญาเช่าไว้ป้องกันการบิดพลิ้วแต่ไม่ต้องเสียค่าเช่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะไม่ต้องการให้อาศัยอยู่ต่อไปไม่ได้ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าดังนี้แม้สัญญาเช่าจะไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือจำเลยก็ยังรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ว่าที่ที่จำเลยปลูกบ้านอยู่นั้นเป็นของท. จำเลยอาศัยสิทธิของท. เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของแม้จำเลยจะครอบครองมานาน25ปีแล้วก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์ที่1ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ที่1ในโฉนดที่ดินที่ยังมิได้แบ่งแยกเป็นหลายโฉนด ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้แบ่งแยกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นผลทำให้ที่พิพาทและบ้านของจำเลยส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินโฉนดของโจทก์ที่2และบางส่วนยังคงอยู่ในที่ดินของโจทก์ที่1ด้วยเช่นนี้โจทก์ทั้งสองต่างมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ฟ้องของโจทก์ที่2ไม่เป็นฟ้องซ้อนตามป.วิ.พ.มาตรา173 การที่โจทก์ที่2ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งมิได้เป็นทายาทหรือผู้รับพินัยกรรมเป็นฟ้องในมูลละเมิดหาใช่ฟ้องตามข้อกำหนดในพินัยกรรมไม่จำเลยมิใช่บุคคลที่จะยกอายุความ1ปีตามป.พ.พ.มาตรา1755ขึ้นต่อสู้ได้แม้โจทก์ที่2ฟ้องคดีเกิน1ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วคดีของโจทก์ที่2ก็ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968-1969/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนและอายุความมรดก: ศาลพิพากษายืน ฟ้องขับไล่ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันโดยยังมิได้แบ่งแยกเป็นหลายโฉนดเพราะอยู่ในระหว่างการรังวัดแบ่งแยกของเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้น โจทก์ที่ 1 จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้แบ่งแยกออกโฉนดที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 2 ให้แก่โจทก์ที่ 2 ปรากฏว่าที่พิพาทและบ้านของจำเลยส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องจำเลยหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วและปรากฏว่าที่พิพาทบางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่ 1 บางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองต่างมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
โจทก์ที่ 2 ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ที่ 2 ตามพินัยกรรมและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์ที่ 2 โดยละเมิด กรณีมิใช่ฟ้องเรียกที่พิพาทตามข้อกำหนดในพินัยกรรม ทั้งจำเลยก็มิใช่บุคคลที่จะยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1755 แม้โจทก์ที่ 2 จะฟ้องคดีเกิน 1 ปี หลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968-1969/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนและอายุความมรดก: การฟ้องขับไล่ที่ดินที่ยังไม่ได้แบ่งแยกและการสืบสิทธิมรดก
โจทก์ที่1และโจทก์ที่2เป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันโดยยังมิได้แบ่งแยกเป็นหลายโฉนดเพราะอยู่ในระหว่างการรังวัดแบ่งแยกของเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้นโจทก์ที่1จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ที่1ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้แบ่งแยกออกโฉนดที่ดินส่วนของโจทก์ที่2ให้แก่โจทก์ที่2ปรากฏว่าที่พิพาทและบ้านของจำเลยส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ที่2โจทก์ที่2จึงฟ้องจำเลยหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วและปรากฏว่าที่พิพาทบางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่1บางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่2โจทก์ทั้งสองต่างมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ฟ้องของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173. โจทก์ที่2ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ที่2ตามพินัยกรรมและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์ที่2โดยละเมิดกรณีมิใช่ฟ้องเรียกที่พิพาทตามข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งจำเลยก็มิใช่บุคคลที่จะยกอายุความ1ปีขึ้นต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755แม้โจทก์ที่2จะฟ้องคดีเกิน1ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์ที่2ก็ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุนข้อเท็จจริง หากไม่มี ถือเป็นการวินิจฉัยโดยปราศจากหลักฐาน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่2เป็นนายจ้างจำเลยที่1และจำเลยที่1กระทำไปในทางการที่จ้างอันเป็นผลให้จำเลยที่2กับจำเลยที่4ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุต้องรับผิดร่วมในการละเมิดของจำเลยที่1ต่อโจทก์เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นดังกล่าวเลยการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีถ้อยคำสำนวนสนับสนุนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่2ที่4เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยกอุทธรณ์ของจำเลยที่2ที่4จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน การรับผิดของนายจ้างในความเสียหายจากการกระทำของลูกจ้าง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 กระทำไปในทางการที่จ้าง อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุ ต้องรับผิดร่วมในการละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นดังกล่าวเลย การรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีถ้อยคำสำนวนสนับสนุน เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 4 เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบ
of 45