คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง คล้ายแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า: เหตุพฤติการณ์นอกเหนือควบคุมและกรอบเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208
ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก กำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น 2 ประการ กล่าวคือประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดา หรือโดยวิธีอื่นแทนก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ภายใน15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 2 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นมีความหมายว่า ห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่เมื่อพ้น 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม.
จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว ศาลชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณา ใหม่ได้แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่หลังขาดนัดยื่นคำให้การและเหตุผลความล่าช้าที่ศาลรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกกำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น มีความหมายว่าห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม
จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า - เหตุสุดวิสัยและการบรรยายเหตุผล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกกำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น2 ประการ กล่าวคือ ประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น มีความหมายว่าห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยการพิพากษาผิดฐานะเดิมและการพิพากษานอกฟ้อง
จำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์นำไปจัดสรรขาย โดยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปดำเนินการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อย และขายที่ดินที่แบ่งแยกได้เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ดินให้จำเลย เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนสัญญาจะซื้อจะขาย.
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจัดสรรที่ดินขายโดยโจทก์ลงทุนปรับปรุงที่ดิน จำเลยลงทุนเป็นที่ดิน จำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปคืน ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินเสร็จเด็ดขาดและเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไปแล้ว เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง.
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 นิติกรรมอันเป็นโมฆะที่คู่กรณีกลับคืนยังฐานะเดิมจะต้องเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วมีการบอกล้าง มิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่แรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการคืนเงินค่าที่ดินและค่าใช้จ่ายในการจัดสรร
จำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์นำไปจัดสรรขาย โดยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปดำเนินการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อยและขายที่ดินที่แบ่งแยกได้ เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ดินให้จำเลย เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจัดสรรที่ดินขาย โดยโจทก์ลงทุนปรับปรุงที่ดินจำเลยลงทุนเป็นที่ดิน จำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปคืน ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไปแล้ว เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นิติกรรมอันเป็นโมฆะที่คู่กรณีกลับคืนยังฐานะเดิม จะต้องเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วมีการบอกล้าง มิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่แรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน การเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงที่ดิน และการพิพากษานอกคำฟ้อง
จำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์นำไปจัดสรรขาย โดยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปดำเนินการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อยและขายที่ดินที่แบ่งแยกได้ เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ดินให้จำเลย เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะไปทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจัดสรรที่ดินขาย โดยโจทก์ลงทุนปรับปรุงที่ดินจำเลยลงทุนเป็นที่ดิน จำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินที่ลงทุนไปคืน ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไปแล้ว เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
นิติกรรมอันเป็นโมฆะที่คู่กรณีกลับคืนยังฐานะเดิม จะต้องเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วมีการบอกล้าง มิใช่นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่แรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในเช็คพิพาท: ผลของการชำระหนี้บางส่วนและการขาดมูลหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระต้นเงิน30,000 บาทแก่โจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สลักหลังซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็คนั้น แต่เมื่อโจทก์แถลงรับในคำแก้ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้โจทก์บ้างแล้ว จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นเงิน3,500 บาท จำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 3,500 บาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การรับผิดร่วมกันของผู้อ้างสลักหลัง และผลกระทบจากการชำระหนี้บางส่วน
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระต้นเงิน30,000 บาทแก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สลักหลังซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็คนั้น แต่เมื่อโจทก์แถลงรับในคำแก้ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้โจทก์บ้างแล้ว จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นเงิน 3,500 บาทจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 3,500 บาท และแม้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ทั้งมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่รูปคดีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ได้รับผลตามคำพิพากษานี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2451 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต่อการสูญหายของสินค้า และการบังคับใช้กฎหมายไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบยื่นคำร้องต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้าตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้างการท่าเรือแห่งประเทศไทยนำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้า การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล ผู้ขายสินค้าพิพาทมีสัญชาติญี่ปุ่น และส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่นโดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทยการขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทยและบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13ให้ใช้กฎหมายใดบังคับในเรื่องค่าเสียหายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายรับผิดชอบความเสียหายสินค้าสูญหาย การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัทจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ ยื่นคำร้องต่อการท่าเรือฯ ขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือฯ ให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้า ตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าดังกล่าวให้แก่การท่าเรือฯเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้าง การท่าเรือฯ นำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือฯ เพื่อรับสินค้าซึ่งหากไม่มีใบรับสินค้าก็ไม่สามารถจะไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือฯ ได้ ดังนี้ การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล.
แม้ปรากฏว่าผู้ขายสินค้าพิพาทจะมีสัญชาติญี่ปุ่นและส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่น โดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย การขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยบริษัทจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทย และบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 ให้ใช้กฎหมายใดบังคับไม่.
of 89