พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3188/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ทายาทผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์และตัด จำเลยมิให้ รับ มรดกโจทก์จึงเป็นทายาทผู้รับมรดกตาม พินัยกรรม ดังนี้ โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียสมควรเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: เงื่อนไขการบอกกล่าวติดตามหนี้ การตีความสัญญา
ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า หาก ซ.บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ให้จำเลยรับผิดชอบในจำนวนเงินดังกล่าวโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้ให้ ถ้าติดตามไม่ได้ จำเลยจะขอรับชดใช้เองจนครบจำนวนนั้น ไม่มีข้อความตอนใดบังคับว่าโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยติดตามตัว ซ. ก่อน ข้อความตามสัญญามีความหมายเพียงว่าถ้า ซ. ไม่ชำระ จำเลยต้องชำระแทนเท่านั้น ส่วนข้อความที่ว่าโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้นั้น เป็นเรื่องเปิดโอกาสให้จำเลยมีเวลาติดตามลูกหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่เงื่อนไขให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความเงื่อนไขการบอกกล่าวติดตามหนี้
ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า หาก ซ.บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ให้จำเลยรับผิดชอบในจำนวนเงินดังกล่าวโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้ให้ ถ้าติดตามไม่ได้ จำเลยจะขอรับชดใช้เองจนครบจำนวนนั้น ไม่มีข้อความตอนใดบังคับว่าโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยติดตามตัว ซ. ก่อน ข้อความตามสัญญามีความหมายเพียงว่าถ้า ซ. ไม่ชำระ จำเลยต้องชำระแทนเท่านั้น ส่วนข้อความที่ว่าโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้นั้น เป็นเรื่องเปิดโอกาสให้จำเลยมีเวลาติดตามลูกหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่เงื่อนไขให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการคิดดอกเบี้ยหลังบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุด ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับและผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เท่านั้น มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียตามฟ้องจริง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ส่วนปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุอื่นและขัดต่อกฎหมายไทยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า ได้ตกลงกับโจทก์คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 14 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี ตามที่ตกลงไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาว่าควรเสียดอกเบี้ยหลังจากบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงแล้วในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า ได้ตกลงกับโจทก์คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 14 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี ตามที่ตกลงไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาว่าควรเสียดอกเบี้ยหลังจากบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงแล้วในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและอัตราดอกเบี้ย: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยไม่รับวินิจฉัยประเด็นนอกคำให้การ
จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับและผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เท่านั้น มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียตามฟ้องจริง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ ส่วนปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุอื่นและขัดต่อกฎหมายไทยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยให้การว่า ได้ตกลงกับโจทก์คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ14 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี ตามที่ตกลงไว้จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาว่าควรเสียดอกเบี้ยหลังจากบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงแล้วในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่มีมูลหนี้เนื่องจากเกิดจากการหลอกลวง สัญญาเป็นโมฆะและไม่ต้องชำระหนี้
จำเลยทั้งสามนำสืบว่า ป. สามีโจทก์หลอกลวง บ. บุตรจำเลยที่ 1 ส.หลานจำเลยที่2พ. บุตรจำเลยที่ 3 กับพวกรวม 8 คนว่าสามารถจัดส่งบุคคลทั้งแปดไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้โดยเรียกเงินจากบุคคลทั้งแปดคนละ 52,000 บาท บ. ส.และพ.มีเงินให้ ป. ไม่ถึงคนละ 52,000 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ให้โจทก์ยึดถือไว้โดยมิได้รับเงินจากโจทก์เลย เมื่อปรากฏในภายหลังว่าความจริง ป. ไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศดังกล่าวตามที่อวดอ้างได้ จำเลยทั้งสามจึงขอให้โจทก์คืนหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและโฉนดที่ดินที่มอบให้โจทก์ไว้เป็นประกัน แต่โจทก์ไม่ยอมคืนให้ดังนี้นอกจากจะเป็นการนำสืบถึงที่มาหรือมูลเหตุแห่งการทำสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องแล้ว ยังเป็นการนำสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีมูลหนี้เป็นสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ มิใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับว่าจะต้องมีมาแสดง จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การหลังพ้นกำหนด และคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมใช้ สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การ โดย แนบคำให้การมากับคำร้องด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า จำเลยร่วมจงใจไม่ยื่นคำให้การจึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การ ดังนี้เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ ดุลพินิจ มีคำสั่งไปตาม มาตรา 199 โดย ยังมิได้ตรวจดู คำให้การของจำเลยร่วม จึงมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จะนำเอามาตรา 18 วรรคท้ายมาปรับแก่คดีไม่ได้ คำสั่งที่ว่า จำเลยร่วมจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 226 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา คำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องหรือไม่รับคำให้การนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยร่วมขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ศาลอนุญาตให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ซึ่ง ศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวว่า "ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง คำสั่งรวม" ดังนี้ คำสั่ง ศาลชั้นต้น ดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่าง พิจารณาและต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส-สินส่วนตัว-อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรม-ทรัพย์สินมรดก: การแบ่งทรัพย์สินหลังการเสียชีวิตของคู่สมรสและผู้จัดการมรดก
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่ผู้ตายได้ยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมยกบ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรมให้ การให้ดังกล่าวจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มากเมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่าสมรสก็ตามก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส การโอนกรรมสิทธิ์ และการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัวหลังการเสียชีวิต
การที่คู่สมรสยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของตนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าคู่สมรสนั้นได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรส และตกเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การให้อสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่บ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อทางพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายกรรมสิทธิ์ในบ้านยังคงเป็นของผู้ให้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร และเครื่องประดับอื่น ๆ คือสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน เข็มขัดนาก ซึ่งเป็นของภรรยามีราคาไม่มากนักเป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะแม้จะได้มาโดยสามีเป็นผู้หามาให้ หรือภรรยาหามาเองในระหว่างสมรสก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของภรรยา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, มรดก, การโอนกรรมสิทธิ์, สิทธิในทรัพย์สิน
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว
ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้
เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้
เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย