คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง คล้ายแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้ แม้มีการโอนสิทธิ แต่การโอนนั้นไม่เข้าข่ายฉ้อฉล ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเช็ค
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยฎีกากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลย เพราะไม่ทำให้การโอนเช็คพิพาทระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ไปได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณและการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ได้
โจทก์พูดห้ามปรามมิให้จำเลยขายที่ดินที่โจทก์ยกให้ จำเลยชี้หน้าด่าโจทก์ด้วยเสียงอันดังว่า "อีเฒ่า หน้าด้าน อีเฒ่า หน้าหมาอีเฒ่า หมาแม่ ไม่นับถือว่ามึงเป็นแม่กูหรอกจะไปตายที่ไหนก็ไปกูบ่เลี้ยงมึงแล้ว กูจะขายมึงอยากได้ให้ไปฟ้องเอา" การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณที่โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงของบุตรต่อมารดาเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ได้
โจทก์พูดห้ามปรามมิให้จำเลยขายที่ดินที่โจทก์ยกให้ จำเลยชี้หน้าด่าโจทก์ด้วยเสียงอันดังว่า "อีเฒ่าหน้าด้าน อีเฒ่าหน้าหมาอีเฒ่าหมาแม่ ไม่นับถือว่ามึงเป็นแม่กูหรอก จะไปตายที่ไหนก็ไปกูบ่เลี้ยงมึงแล้ว กูจะขายมึงอยากได้ให้ไปฟ้องเอา" การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณที่โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงของบุตรต่อมารดา เป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ได้
โจทก์พูดห้ามปรามมิให้จำเลยขายที่ดินที่โจทก์ยกให้ จำเลยชี้หน้าด่าโจทก์ด้วยเสียงอันดังว่า "อีเฒ่า หน้าด้าน อีเฒ่า หน้าหมาอีเฒ่า หมาแม่ ไม่นับถือว่ามึงเป็นแม่กูหรอกจะไปตายที่ไหนก็ไปกูบ่ เลี้ยงมึงแล้ว กูจะขายมึงอยากได้ให้ไปฟ้องเอา" การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณที่โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4090/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากตัวแทนที่ขายหุ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนประเด็นแห่งคดีมีว่า โจทก์ (จำเลยในคดีนี้) มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการเป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นให้แก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ได้หรือไม่ แต่สำหรับประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยได้หรือไม่ ดังนั้น แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอาศัยเหตุคนละอย่าง กรณีจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้ซื้อหุ้นให้แก่โจทก์จำเลยได้จัดการซื้อหุ้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งของโจทก์แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยได้นำหุ้นเหล่านั้นออกขายให้แก่บุคคลภายนอกไปโดยโจทก์มิได้สั่ง การที่จำเลยได้ขายหุ้นของโจทก์ให้แก่บุคคลอื่นไปโดยพลการ โดยไม่ได้รับความยินยอมและอนุญาตจากโจทก์นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ต้องคืนเงินและทรัพย์สินที่ได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนให้แก่โจทก์ทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4090/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนจากตัวแทนที่ขายหุ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนประเด็นแห่งคดีมีว่า โจทก์ (จำเลยในคดีนี้) มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการเป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นให้แก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ได้หรือไม่ แต่สำหรับประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลยได้หรือไม่ ดังนั้น แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอาศัยเหตุคนละอย่าง กรณีจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้ซื้อหุ้นให้แก่โจทก์จำเลยได้จัดการซื้อหุ้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งของโจทก์แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยได้นำหุ้นเหล่านั้นออกขายให้แก่บุคคลภายนอกไปโดยโจทก์มิได้สั่ง การที่จำเลยได้ขายหุ้นของโจทก์ให้แก่บุคคลอื่นไปโดยพลการ โดยไม่ได้รับความยินยอมและอนุญาตจากโจทก์นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ต้องคืนเงินและทรัพย์สินที่ได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนให้แก่โจทก์ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายผูกพันตามเช็คแม้ไม่มีมูลหนี้ต่อผู้ทรงโดยชอบธรรม
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ แม้จำเลยจะนำสืบฟังได้ตามข้อต่อสู้ว่าสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมที่ น. กู้ยืมไปจาก บ. มิได้สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ถือได้ว่าเป็นการสั่งจ่ายเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คพิพาทได้มาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมไม่มีเหตุหรือข้ออ้างอันใดที่จะยกขึ้นต่อสู้เพื่อมิให้มีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นได้ แม้เช็คพิพาทจะไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับโจทก์หรือมีมูลหนี้เงินกู้ยืมที่ บ. คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจากจำเลยรวมอยู่ด้วยจำเลยก็จะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับ บ. ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลซึ่งจำเลยก็มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแม้ไม่มีมูลหนี้ต่อผู้ทรง หากเช็คโอนเปลี่ยนมือโดยชอบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ แม้จำเลยจะนำสืบฟังได้ตามข้อต่อสู้ว่าสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมที่ น. กู้ยืมไปจาก บ. มิได้สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ถือได้ว่าเป็นการสั่งจ่ายเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คพิพาทได้มาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมไม่มีเหตุหรือข้ออ้างอันใดที่จะยกขึ้นต่อสู้เพื่อมิให้มีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นได้ แม้เช็คพิพาทจะไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับโจทก์หรือมีมูลหนี้เงินกู้ยืมที่ บ. คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจากจำเลยรวมอยู่ด้วยจำเลยก็จะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับ บ. ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลซึ่งจำเลยก็มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะผู้ขอถอน หากถอนแล้วยื่นฟ้องใหม่ ถือเป็นการเอาเปรียบ
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน ๒ เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๑๘๐ วรรคสอง(๒) จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องต้องพิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่องการกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คัดค้าน โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงคัดค้าน ดังนี้ คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหายไม่ชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
of 89