คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง คล้ายแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีหน้าที่ช่วยเหลือทางการเงินแก่โจทก์ตาม พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย แม้สถาบันการเงินประสบวิกฤต
ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ตรีประกอบมาตรา 29 อัฏฐ (4) บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในธนาคารแห่งประเทศไทย เรียกว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟู และพัฒนาระบบการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ และให้มีอำนาจรวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามควรแก่กรณีสำหรับผู้ฝากเงิน หรือผู้ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินที่ต้องเสียหายเนื่องจากสถาบันการเงินดังกล่าวประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินอย่างร้ายแรง จึงเป็นสิทธิของกองทุนในการที่จะให้ความช่วยเหลือ มิใช่หน้าที่ของกองทุนที่จะต้องช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงิน หรือผู้ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินดังกล่าวทุกกรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4061/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความหนังสือมอบอำนาจต้องพิจารณาเอกสารทั้งฉบับและเจตนาของผู้มอบอำนาจ ไม่จำกัดเฉพาะข้อความบางส่วน
การแปลความเอกสารหาอาจพิเคราะห์เพียงข้อความตอนใดตอนหนึ่งของเอกสารเท่านั้นไม่ หากต้องพิจารณาเอกสารทั้งฉบับและความมุ่งหมายของผู้ทำเอกสารเป็นสำคัญอีกด้วย แม้ข้อความตอนแรก ๆ ของหนังสือมอบอำนาจจะกล่าวถึงกิจการที่มอบหมายให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำในประเทศญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ข้อความตอนต่อ ๆ มาก็มิได้จำกัดว่าจะต้องให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำได้เฉพาะแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น การที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจขึ้นในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานสาขาของโจทก์และอ้างถึงการเป็นตัวแทนตามกฎหมายญี่ปุ่น หรือกิจการที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องกระทำในประเทศญี่ปุ่นบางประการ ย่อมไม่ได้หมายความจำกัดเฉพาะกิจการในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
เมื่อหนังสือมอบอำนาจมีข้อความมุ่งหมายจะมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจทำการตามที่ระบุไว้ในกิจการอันเกี่ยวกับการรับประกันภัยทั้งสิ้นโดยไม่ได้จำกัดว่าให้กระทำได้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น และยังได้มอบอำนาจให้ ท.มีอำนาจฟ้องคดีและมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงได้ท.จึงมอบอำนาจให้ พ.ซึ่งอยู่ในประเทศไทยฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตและครอบครองเมทแอมเฟตามีนเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
การที่จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท จำเลยก็ประสงค์ที่จะมีเมทแอมเฟตามีน และเมทแอมเฟตามีนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และนำสืบมาก็เป็นผลที่ได้มาจากการผลิตของจำเลยเอง การผลิตกับการมีเมทแอมเฟตามีนของจำเลยเป็นการกระทำเกี่ยวพันต่อเนื่องกัน ไม่อาจแยกได้ว่าเป็นการผลิตตอนหนึ่ง การมีไว้ในครอบครองเป็นอีกตอนหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำครั้งเดียวอันเป็นความผิดกรรมเดียวแต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินโดยประมาณ หากรังวัดได้เนื้อที่น้อยกว่า ผู้ซื้อมีสิทธิรับตามส่วน หรือ ปัดเสียได้
โจทก์จำเลยตกลงซื้อที่ดินกันโดยกำหนดเนื้อที่โดยประมาณเพราะจะต้องมีการรังวัดออกโฉนดกันตามสัญญาอีกครั้งจึงจะได้เนื้อที่ดินที่แน่นอน เมื่อรังวัดแล้วได้เนื้อที่ขาดไปจากที่ประมาณไว้ โจทก์ผู้จะซื้อจะรับเอาหรือปัดเสียก็ได้เมื่อโจทก์เลือกจะรับเอาไว้ และใช้ราคาตามส่วน แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอศาลบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้ได้เนื้อที่ 156 ตารางวา และไปดำเนินการออกโฉนดใหม่ให้ได้เนื้อที่ 156 ตารางวา แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องเพียงประมาณเนื้อที่ไว้เท่านั้น ศาลมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื้อที่ 127 ตารางวา ตามจำนวนซึ่งรังวัดสอบเขตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และการเรียกร้องค่าเสียหาย
ก. กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมาประกอบกิจการรับขนส่งด้วยกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของ ก. ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างของ ก. กับจำเลยที่ 2 ร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินค่าซ่อมรถที่เอาประกันภัยไปแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานว่าได้จ่ายไปในวันใดจึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้เมื่อมีการแลกเงินตามข้อตกลงในวงแชร์ แม้เงินยังไม่ครบถึงมือผู้รับเช็ค ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิด
ข้อตกลงในการเล่นแชร์มีว่า เมื่อลูกวงแชร์คนใดประมูลได้จะต้องออกเช็คมอบให้ ส. นายวงแชร์เพื่อนำไปแลกเงินสดจากลูกวงแชร์ที่ยังมิได้ประมูลทุก ๆ คน แล้ว ส. จะนำมามอบให้ผู้ที่ประมูลได้ ถ้ายังได้เงินไม่ครบ ส. นายวงแชร์จะต้องรับผิดดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ส.ได้นำเช็คของจำเลยจากอ. ลูกวงแชร์ผู้ประมูลได้ไปแลกเงินสดจากโจทก์มา 20,000 บาท แต่ยังไม่ได้นำเงินมาให้ อ. เพราะยังรวบรวมเงินได้ไม่ครบทุกมือ ก็ถือได้ว่า อ. ได้รับเงินจากโจทก์แล้ว เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้เมื่อเช็คเบิกเงินไม่ได้ จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้จากการเล่นแชร์: การรับชำระหนี้โดยนายวงแชร์ทำให้ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดต่อผู้ทรง
ข้อตกลงในการเล่นแชร์มีว่า เมื่อลูกวงแชร์คนใดประมูลได้จะต้องออกเช็คมอบให้ ส. นายวงแชร์เพื่อนำไปแลกเงินสดจากลูกวงแชร์ที่ยังมิได้ประมูลทุก ๆ คน แล้ว ส. จะนำมามอบให้ผู้ที่ประมูลได้ ถ้ายังได้เงินไม่ครบ ส. นายวงแชร์จะต้องรับผิดดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ส. ได้นำเช็คของจำเลยจาก อ. ลูกวงแชร์ผู้ประมูลได้ไปแลกเงินสดจากโจทก์มา 20,000 บาท แต่ยังไม่ได้นำเงินมาให้ อ. เพราะยังรวบรวมเงินได้ไม่ครบทุกมือ ก็ถือได้ว่า อ. ได้รับเงินจากโจทก์แล้ว เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้เมื่อเช็คเบิกเงินไม่ได้ จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คย่อมต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและการโอนมรดก: สิทธิของผู้จะซื้อเมื่อเจ้าของเสียชีวิต
จำเลยให้การเพียงว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาอย่างใดมิได้กล่าวไว้ ดังนั้นคำให้การของจำเลยมีแต่ปฏิเสธลอย ๆ ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา โจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทในระหว่างระยะเวลาแห่งการเช่า โจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกับ ส.บิดาจำเลยแล้วโจทก์ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะผู้ซื้อตลอดมาแม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิได้ด้วย ดังนั้นการที่ ส.เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมของ ส. โอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ 241

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามประเด็นใหม่ & สิทธิยึดหน่วงไม่ขาดอายุความเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาอย่างไรจำเลยมิได้กล่าวไว้ คำให้การของจำเลยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไว้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745-3747/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยซ้ำซ้อน, ความรับผิดของบริษัทประกันภัย, การเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้, และดอกเบี้ยชดใช้
สต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าระหว่างผลิตส่วนสต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นสินค้าที่เก็บในโกดัง เป็นสต๊อกสินค้าต่างรายการกัน จึงมิใช่การเอาประกันภัยซ้ำซ้อน โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดที่ว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น โจทก์แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉล และโจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหาย เป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น นอกจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้เช่นนั้น หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสามไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ธนาคารผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ 3
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ 3 ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4)ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยใหัชัดเจน
of 89