พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว เจ้าของใหม่มีสิทธิไล่ที่ แม้จำเลยมีข้อตกลงพิเศษกับเจ้าของเดิมก็ใช้ไม่ได้
ขณะโจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทแล้วแจ้งให้จำเลยขนย้ายออกไป เป็นระยะเวลาที่สัญญาเช่าเดิมสิ้นสุดลงแล้วและไม่มีการทำสัญญาใหม่โจทก์ไม่เคยยินยอมให้เช่าต่อไป จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้จำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนเป็นพิเศษกับเจ้าของเดิม สัญญานี้ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับป.พ.พ. ม.569 จำเลยไม่มีสิทธิเอาข้อตกลงดังกล่าวมายกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายเงินค่าสินค้าที่ลูกค้าส่งไปชำระโดยตรงที่ต่างประเทศ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยโจทก์ลงชื่อในสัญญาเป็นผู้ขายในฐานะเป็นตัวแทน โจทก์จึงเป็นตัวแทนของบริษัท น. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้จากการขายสินค้า มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อของบริษัท น. เท่านั้นโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524)
(วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524)
(วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไร หากลูกค้าส่งเงินค่าสินค้าโดยตรงไปยังบริษัทต่างประเทศ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยโจทก์ลงชื่อในสัญญาเป็นผู้ขายในฐานะเป็นตัวแทน โจทก์จึงเป็นตัวแทนของบริษัท น. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้จากการขายสินค้า มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อของบริษัท น.เท่านั้นโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น 'สถานประกอบการถาวร' ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น.(ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริง หรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521 และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524) (วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น 'สถานประกอบการถาวร' ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น.(ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริง หรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521 และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524) (วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายภารจำยอมเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผูกพันตามเอกสาร, ห้ามเปลี่ยนแปลงข้อตกลงด้วยพยานบุคคล
บันทึกเรื่องทางภารจำยอมและแผนผังสภาพถนนซึ่งต่อท้ายข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถวซึ่งได้แบ่งแยกจดทะเบียนไปแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนทางภารจำยอมนี้จะได้มีการจดทะเบียนกันในภายหลังเมื่อรังวัดออกโฉนดเรียบร้อยแล้ว ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 บันทึกดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 เมื่อได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว แสดงว่าคู่กรณีเจตนาจะผูกพันกันตามบันทึกนี้ ฉะนั้นจำเลยจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่า ความจริงโจทก์จำเลยตกลงเรื่องทางภารจำยอมไว้เพียงด้านเดียวหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ต้องฟังว่าตกลงจดทะเบียนภารจำยอมถนนทั้งสี่ด้านตามแผนผังดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ (ภารจำยอม) มีผลผูกพันตามเอกสาร แม้ฝ่ายจำเลยจะอ้างข้อเท็จจริงอื่น
บันทึกเรื่องทางภารจำยอมและแผนผังสภาพถนนซึ่งต่อท้ายข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถวซึ่งได้แบ่งแยกจดทะเบียนไปแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนทางภารจำยอมนี้จะได้มีการจดทะเบียนกันในภายหลังเมื่อรังวัดออกโฉนดเรียบร้อยแล้วภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 บันทึกดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 เมื่อได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว แสดงว่าคู่กรณีเจตนาจะผูกพันกันตามบันทึกนี้ ฉะนั้นจำเลยจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่า ความจริงโจทก์จำเลยตกลงเรื่องทางภารจำยอมไว้เพียงด้านเดียวหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ต้องฟังว่าตกลงจดทะเบียนภารจำยอมถนนทั้งสี่ด้านตามแผนผังดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรับผิดทั้งสัญญาและละเมิด: ผู้รับขนส่งต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการยกสิ่งของให้ผู้อื่นโดยประมาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับขนส่งโจทก์ผู้โดยสารจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ยกสิ่งของของโจทก์ให้แก่ผู้โดยสารอื่นไปโดยปราศจากความระมัดระวังทำให้โจทก์เสียหาย เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ด้วย จำเลยจึงอาจต้องรับผิดทั้งในด้านสัญญาและละเมิดพร้อม ๆ กัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะฟ้องอย่างไรก็ได้ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีละเมิดควบคู่กับผิดสัญญา: โจทก์มีสิทธิฟ้องทั้งสองฐานได้ แม้มีสัญญารับขน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับขนส่งโจทก์ผู้โดยสารจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ยกสิ่งของของโจทก์ให้แก่ผู้โดยสารอื่นไปโดยปราศจากความระมัดระวังทำให้โจทก์เสียหาย เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ด้วย จำเลยจึงอาจต้องรับผิดทั้งในด้านสัญญาและละเมิดพร้อม ๆ กัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะฟ้องอย่างไรก็ได้ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความผูกพันกับคำฟ้อง ชื่อจำเลยในใบแต่งทนายไม่ตรงไม่กระทบ
คำฟ้องเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดี ส่วนใบแต่งทนายเป็นเครื่องแสดงว่าทนายความมีอำนาจดำเนินคดีแทนตัวความ เมื่อคำฟ้องระบุชื่อจำเลยไว้ถูกต้อง แม้ในใบแต่งทนายพิมพ์ชื่อจำเลยผิดไป ก็ไม่ทำให้อำนาจการดำเนินคดีของทนายโจทก์ที่มีต่อจำเลยเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735-3739/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินราชพัสดุใช้ประโยชน์แผ่นดิน แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
กระทรวงการคลังมอบที่ดินราชพัสดุให้กองทัพเรือใช้ประโยชน์เป็นที่ปลูกโรงเรือเก็บเรือพระราชพิธี เป็นที่ทำงานของกองทัพเรือ และใช้เป็นบ้านพักข้าราชการทหารเรือจึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เดิมจำเลยบุกรุก เข้ามาปลูกบ้านในที่พิพาท แล้วต่อมาได้ทำสัญญาอาศัยกับกองทัพเรือแม้จำเลยครอบครองมาช้านานเพียงใด ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท