คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายกัญชาโดยผู้รับจ้างขนส่ง: เจตนาและองค์ประกอบความผิด
จำเลยเป็นเพียงผู้รับจ้าง ส. ขนกัญชาไปมอบให้แก่ผู้ที่ล่อซื้อเท่านั้น จำเลยมิได้มีเจตนายึดถือกัญชาไว้เพื่อตน การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่การที่จำเลยส่งมอบกัญชาให้แก่ผู้ที่ ล่อซื้อเป็นความผิดฐานจำหน่ายกัญชาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายยาเสพติดยังไม่สำเร็จเป็นความผิดพยายามจำหน่าย แม้มีการชำระเงินแล้ว
จำเลยทั้งสองตกลงจะขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ให้แก่ ส. ในราคา 150 บาท และรับเงินค่า เมทแอมเฟตามีนจาก ส. ไว้แล้ว แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังใช้ไขควงคลายน็อตยึดฝาครอบไฟท้ายรถจักรยานยนต์ของกลางซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่ในหลอดกาแฟจำนวน 20 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ เพื่อจะนำเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ออกมามอบให้แก่ ส. ก็ถูกสิบตำรวจโท จ. กับพวกจับกุมเสียก่อน โดยขณะนั้นจำเลยทั้งสองยังมิได้แยกเมทแอมเฟตา-มีนจำนวน 1 เม็ด ออกจากหลอดกาแฟมาส่งมอบให้แก่ ส. การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยกับ ส. จึงยัง ไม่สำเร็จบริบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด เท่านั้น และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้างผิดแบบ: ความผิดสำเร็จเมื่อก่อสร้างโครงสร้างเสร็จ โจทก์ฟ้องเกินกำหนด ยุติคดี
การตกแต่งภายในมิใช่งานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร การก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ทำการก่อสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างแล้วเสร็จ
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดครั้งเดียวและบทบัญญัติเฉพาะ
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ที่บัญญัติให้ลงโทษปรับ 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากรนั้น เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ดังนั้นการปรับจำเลยเรียงตัว คนละ 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันย่อมเป็น การปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งเกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อ บทกฎหมายดังกล่าว และในมาตรา 120 ก็บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ว่าเมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ กรณีจึงไม่อาจนำความ ในมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.เลือกตั้ง: จัดทำทรัพย์สินแจกเพื่อให้ได้คะแนนเสียง ถือเป็นความผิดสำเร็จ แม้ยังไม่ได้แจกจ่าย
ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 มาตรา 35 ที่บัญญัติว่า เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใดจนถึงวันเลือกตั้ง ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือให้งดเว้นมิให้ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดด้วยวิธีการดังนี้(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด"จะเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ว่าในเขตเลือกตั้งใด กฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดที่มิใช่ผู้สมัครกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่นด้วยวิธีการจัดทำให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใดดังนั้น ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวด้วยการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ว่าด้วยการจัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด ย่อมเป็นการกระทำความผิดสำเร็จ ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกจับและเจ้าพนักงานตำรวจยึดของกลางทั้งหมดได้ จำเลยทั้งสองได้จัดทำธนบัตรของกลางทั้ง11,400,000 บาท ไว้พร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่ผู้เลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อในเขตอำเภอ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งแล้ว ด้วยการนำธนบัตรชนิดราคา 100 บาท กับชนิดราคา 20 บาท ที่มีตรายางรูปยันต์ประทับตรงบริเวณลายน้ำพระบรมฉายาลักษณ์ มาเย็บติดกันเป็นชุด ชุดละ 20 บาท และมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุด ใส่ถุงพลาสติกบรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเล ไว้พร้อม ดังนั้น โดยลักษณะของการกระทำดังกล่าวถือว่าจำเลย ทั้งสองจัดทำธนบัตรของกลางซึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้บรรดาผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นแล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะยังไม่ได้แจกจ่ายหรือให้ธนบัตรนั้นแก่บรรดาผู้เลือกตั้งทั้งหลายจำเลยทั้งสองก็กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35(1) สำเร็จแล้ว โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเอาผิดแก่การจัดทำธนบัตรของกลางของจำเลยทั้งสองซึ่งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จมาด้วย โจทก์คงบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้ง เพื่อจะจูงใจให้บรรดาผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าวลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นสถานเดียวเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย ทั้งสองตามที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเพียงการพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งสถานเดียว ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเพียงขั้นตระเตรียมการให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งอันไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35(1)ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาหรือไม่ ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพร้อมของกลางคงเหลือเวลาอีกเพียง 3 วัน ก็จะถึงกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนับว่าเป็นระยะเวลาที่ใกล้ชิดกับวันเลือกตั้งมากแล้ว ประกอบกับลักษณะธนบัตรของกลางที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นเป็นชุดพร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งดังกล่าวได้ตามบัญชีรายชื่อหัวคะแนนแต่ละหมู่บ้านบัญชีรายชื่อแกนนำ บัญชีรายชื่อผู้รับผิดชอบแต่ละตำบลในอำเภอบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง (ส.ส.13) ของอำเภอ ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน ตลอดจนข้อมูลหน่วยเลือกตั้งตำบลต่าง ๆ ในอำเภอในเขตเลือกตั้งดังนั้นที่จำเลยทั้งสองรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งจะให้แก่ผู้สมัคร และจำเลยทั้งสองก็ได้เตรียมจัดหาทรัพย์สิน คือธนบัตรชนิดราคา 100 บาท และชนิดราคา 20 บาท รวมทั้งของกลางต่าง ๆ ดังกล่าว แล้วจำเลยทั้งสองได้ลงมือดำเนินการตามเจตนาข้างต้นโดยนำธนบัตรมาเย็บติดกันเป็นชุดมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุดบรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเลเสร็จพร้อมที่จะนำไปให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ทันที่ การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการนำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครที่จำเลยทั้งสองให้การสนับสนุน เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองพ้นขั้นตระเตรียมการเข้าสู่การลงมือกระทำความผิดแล้ว หากแต่ไม่สำเร็จเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้เสียก่อนมิฉะนั้นแล้วจำเลยทั้งสองก็จะกระทำความผิดต่อไปได้สำเร็จจำเลยทั้งสองย่อมมีความผิดฐานพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครดังที่โจทก์ฟ้องแล้ว และธนบัตรของกลางกับของกลางอื่นถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียง: การพิจารณาขั้นตระเตรียม vs. พยายามกระทำความผิด
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522มาตรา 35 ที่บัญญัติว่า เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใดจนถึงวันเลือกตั้ง ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือให้งดเว้นมิให้ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดด้วยวิธีการดังนี้ (1)จัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด..." จะเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ว่าในเขตเลือกตั้งใด กฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดที่มิใช่ผู้สมัครกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่นด้วยวิธีการ จัดทำให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด ดังนั้น ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวด้วยการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ว่าด้วยการจัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด ย่อมเป็นการกระทำความผิดสำเร็จ
ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกจับและเจ้าพนักงานตำรวจยึดของกลางทั้งหมดได้ จำเลยทั้งสองได้จัดทำธนบัตรของกลางทั้ง 11,400,000 บาท ไว้พร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่ผู้เลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อในเขตอำเภอ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งแล้ว ด้วยการนำธนบัตรชนิดราคา 100 บาท กับชนิดราคา 20บาท ที่มีตรายางรูปยันต์ประทับตรงบริเวณลายน้ำพระบรมฉายาลักษณ์มาเย็บติดกันเป็นชุด ชุดละ 120 บาท และมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุด ใส่ถุงพลาสติกบรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเลไว้พร้อม ดังนั้น โดยลักษณะของการกระทำดังกล่าวถือว่าจำเลยทั้งสองจัดทำธนบัตรของกลางซึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้บรรดาผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นแล้วแม้จำเลยทั้งสองจะยังไม่ได้แจกจ่ายหรือให้ธนบัตรนั้นแก่บรรดาผู้เลือกตั้งทั้งหลายจำเลยทั้งสองก็กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522 มาตรา 35 (1) สำเร็จแล้ว
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเอาผิดแก่การจัดทำธนบัตรของกลางของจำเลยทั้งสองซึ่งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จมาด้วย โจทก์คงบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้ง เพื่อจะจูงใจให้บรรดาผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าวลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นสถานเดียวเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเพียงการพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งสถานเดียว ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเพียงขั้นตระเตรียมการให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งอันไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522 มาตรา 35 (1) ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาหรือไม่
ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพร้อมของกลางคงเหลือเวลาอีกเพียง 3 วัน ก็จะถึงกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนับว่าเป็นระยะเวลาที่ใกล้ชิดกับวันเลือกตั้งมากแล้ว ประกอบกับลักษณะธนบัตรของกลางที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นเป็นชุดพร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งดังกล่าวได้ตามบัญชีรายชื่อหัวคะแนนแต่ละหมู่บ้าน บัญชีรายชื่อแกนนำ บัญชีรายชื่อผู้รับผิดชอบแต่ละตำบลในอำเภอ บัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง(ส.ส.13) ของอำเภอ ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน ตลอดจนข้อมูลหน่วยเลือกตั้งตำบลต่าง ๆ ในอำเภอในเขตเลือกตั้งนั้นที่จำเลยทั้งสองรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งจะให้แก่ผู้สมัคร และจำเลยทั้งสองก็ได้เตรียมจัดหาทรัพย์สิน คือธนบัตรชนิดราคา100 บาท และชนิดราคา 20 บาท รวมทั้งของกลางต่าง ๆ ดังกล่าว แล้วจำเลยทั้งสองได้ลงมือดำเนินการตามเจตนาข้างต้นโดยนำธนบัตรมาเย็บติดกันเป็นชุดมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุด บรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเลเสร็จพร้อมที่จะนำไปให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ทันที การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการนำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครที่จำเลยทั้งสองให้การสนับสนุน เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองพ้นขั้นตระเตรียมการเข้าสู่การลงมือกระทำความผิดแล้ว หากแต่ไม่สำเร็จเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้เสียก่อนมิฉะนั้นแล้วจำเลยทั้งสองก็จะกระทำความผิดต่อไปได้สำเร็จ จำเลยทั้งสองย่อมมีความผิดฐานพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครดังที่โจทก์ฟ้องแล้ว และธนบัตรของกลางกับของกลางอื่นถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบได้ ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคารและการกำหนดโทษปรับรายวันภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร รวมถึงประเด็นอายุความ
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดกฎหมาย, ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน, และอายุความความผิดฐานก่อสร้างผิดแบบ
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาต แต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีกและจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตาม ป.อ.มาปรับใช้ตามนัยแห่ง ป.อ.มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาทจำเลยอุทธณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาทย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร, การปรับบทกฎหมาย และการกำหนดโทษปรับรายวัน
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารเป็นความผิดตามมาตรา 42 มิใช่เป็นความผิดอยู่ในบทมาตราเดียวกัน สำหรับมาตรา 65 นั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษของความผิดตามมาตรา 21, 42 และมาตราอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็ได้บรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม โดยระบุวันเวลาที่กระทำผิดแต่ละฐานต่างกันและลักษณะการกระทำผิดย่อมแยกออกต่างหากจากกันได้ ดังนั้นจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ได้ระบุในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ถึงที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ฎีกาว่า ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการนั้นขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 รับฟังไม่ได้ และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 69 มาด้วย ซึ่งตามมาตรา 69 ได้บัญญัติไว้ว่า"ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ" เมื่อความผิดตามมาตรา 65 วรรคสอง มีอัตราโทษปรับวันละ 500 บาท ศาลชั้นต้นจึงปรับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 วันละ 1,000 บาท ต่อคน ตามมาตรา 65 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 69 ได้ หาเป็นการเกินคำขอไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการร่วมกันกระทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันกระทำความผิดในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 72แต่กรณีที่ลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.อ.มาตรา 31 ประกอบด้วยมาตรา 17 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 31 ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กักขังจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับ จึงเป็นการไม่ชอบ
of 8