คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำคุกและปรับตาม พ.ร.บ.การพนัน ศาลมีดุลพินิจลงโทษจำคุกสถานเดียวได้
คำว่าอีกโสดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติการพนัน มาตรา 12 ข้อ 1และปรับด้วยพระราชบัญญัติการพนันไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติไว้มีความหมายว่า อีกสถานหนึ่ง เท่ากับกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำคุกไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจที่จะวางโทษจำคุกสถานเดียวในเมื่อพระราชบัญญัตินั้นวางกำหนดโทษผู้กระทำความผิดทั้งจำคุกและปรับเมื่อไม่มีกฎหมายห้ามศาลย่อมอาศัยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20ประกอบมาตรา 17 ซึ่งบัญญัติว่าบรรดาความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับด้วยนั้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกก็ได้ การที่ศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่สถานเดียวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์บรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้กฎหมายเฉพาะไม่ได้บัญญัติไว้
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้นเมื่อจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 ประกอบด้วยมาตรา 17
การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งโจทก์ขอให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดแม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลริบของกลาง: รถยนต์ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ ก็มิได้บัญญัติถึง เรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ประกอบด้วย มาตรา 17 การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่ง โจทก์ขอให้ริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมาย ก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับผู้ร่วมกระทำผิด พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.17 ลงโทษรายบุคคล
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 148 มิได้บัญญัติว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้มาตรา 17 ดังนี้ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคลตามมาตรา 31 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ขนถ่านไม้ผิดกฎหมาย: ศาลใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ พ.ร.บ.ป่าไม้ไม่ได้บัญญัติริบ
การมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มิใช่การกระทำอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,48,54 และ 69 รถยนต์ของกลางซึ่งใช้เป็นยานพาหนะขนถ่านไม้ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในข่ายอันจะพึงริบได้ตามมาตรา74 ทวิ แต่ศาลนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ของกลางในคดีป่าไม้: ศาลพิจารณาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายอาญา
การมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มิใช่การกระทำอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา 11,48,54 และ 69 รถยนต์ของกลางซึ่งใช้เป็นยานพาหนะขนถ่านไม้ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในข่ายอันจะพึงริบได้ตามมาตรา 74 ทวิแต่ศาลนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการในความผิดตาม พ.ร.บ.แร่ โดยแยกปรับตามรายตัวบุคคล
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับทางอาญาสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.แร่: ลงโทษปรับเรียงรายบุคคล แม้เป็นนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการ
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148 ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่งระงับ-โทษปรับอาคารพาณิชย์-การเป็นความผิดสองกรรม
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หมายความว่า ผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณก็ดีผิดไปจากแบบแปลนก็ดี ผิดไปจากรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ดีผู้ไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก็ดี การกระทำผิดไปเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 ทั้งสิ้นหาจำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดพร้อมกันทั้งหมดไม่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่ 1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาท ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียวแต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ 5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เองถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท
(วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่งระงับการก่อสร้าง ถือเป็นความผิดสองกรรม ปรับตามอัตราที่สูงขึ้น
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 หมายความว่าผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณก็ดีผิดไปจากแบบแปลนก็ดีผิดไปจากรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ดีผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก็ดีการกระทำผิดไปเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา31ทั้งสิ้นหาจำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดพร้อมกันทั้งหมดไม่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11สิงหาคม 2523จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาทปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียว แต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เอง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท (วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่9/2528)
of 8