คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3118/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดป่าไม้: ศาลฎีกาชี้ว่าการริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ไม่ชอบ แต่ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญาโดยใช้ดุลพินิจ
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา29 ทวิ นั้น ศาลจะสั่งให้ริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ ไม่ได้ เพราะมาตรา 74 ทวิไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 29 ทวิ
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3118/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดป่าไม้: ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อจำกัดการริบตามกฎหมายป่าไม้ และการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ฟืนซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 29 ทวิ นั้น ศาลจะสั่งให้ริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 ทวิ ไม่ได้เพราะมาตรา 74 ทวิไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 29 ทวิ
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแล้ว ศาลก็นำมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับในการที่จะริบทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับผู้กระทำผิด พ.ร.บ.ยาสูบ หลายคน ให้ปรับเรียงรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 49 บัญญัติเรื่องโทษว่าผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 มาตรา 20 ต้องระวางโทษปรับสิบ เท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่แต่ ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทถ้าเป็นบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิต ในประเทศและมิได้ประกาศกำหนดราคาขายปลีกไว้ต้อง ระวางโทษปรับกรัมละสองบาทแต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทดังนี้ย่อมเห็นได้ว่าผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติยาสูบฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน ตามค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดทั้ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ได้บัญญัติให้ใช้บังคับบทบัญญัติ ในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่น ด้วยคดีพระราชบัญญัติยาสูบมิได้บัญญัติ ไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคล ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับผู้กระทำผิด พ.ร.บ.ยาสูบ หลายคน ศาลต้องปรับเรียงรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 49 บัญญัติเรื่องโทษว่าผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 มาตรา 20 ต้องระวางโทษปรับสิบ เท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่แต่ ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทถ้าเป็นบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิต ในประเทศและมิได้ประกาศกำหนดราคาขายปลีกไว้ต้อง ระวางโทษปรับกรัมละสองบาทแต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่าผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติยาสูบฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน ตามค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดทั้ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ได้บัญญัติให้ใช้บังคับบทบัญญัติ ในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นด้วยคดีพระราชบัญญัติยาสูบมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำที่มีอายุไม่เกิน 17 ปี ต้องนำหลักเกณฑ์จากประมวลกฎหมายอาญามาใช้
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกในคดีก่อนฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองมีกำหนด 6 เดือน ในขณะที่จำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี แล้วมากระทำผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคดีนี้อีก จะเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา97 ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 94 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค, การเรียงกระทงความผิด, และการนำหลักกฎหมายมาใช้กับเช็ค
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 บัญญัติถึงกรณีที่ให้คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นอันเลิกกันได้ ไม่ได้บัญญัติในเรื่องเหตุบรรเทาโทษไว้เป็นพิเศษ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญาในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ศาลจึงนำเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาใช้ในกรณีแห่งความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้
แม้ตามฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดหรืออีกนัยหนึ่งโจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตามเมื่อตามฟ้องของโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลย ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามบทบัญญัติมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คลงวันที่ 30 ตุลาคม 2519 ต่อมาวันที่ 15 ตุลาคม 2519 โจทก์ได้นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้นำเช็คไปขึ้นเงินก่อนวันออกเช็ค จึงไม่อาจอ้างได้ว่าเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายในวันออกเช็ค การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับเช็คดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็ค: เหตุบรรเทาโทษ, การเรียงกระทง, และผลของการนำเช็คไปขึ้นเงินก่อนวันออกเช็ค
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 บัญญัติถึงกรณีที่ให้คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นอันเลิกกันได้ไม่ได้บัญญัติในเรื่องเหตุบรรเทาโทษไว้เป็นพิเศษ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญาในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วยเว้นแต่ กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นศาลจึงนำเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาใช้ในกรณีแห่งความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้
แม้ตามฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดหรืออีกนัยหนึ่งโจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตามเมื่อตามฟ้องของโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามบทบัญญัติมาตรา 91แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คลงวันที่ 30 ตุลาคม 2519ต่อมาวันที่ 15 ตุลาคม 2519 โจทก์ได้นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีเพื่อเรียก เก็บเงินเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้นำเช็คไปขึ้นเงินก่อนวันออกเช็คจึงไม่อาจ อ้างได้ว่าเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายในวันออกเช็คการกระทำของจำเลยเกี่ยวกับเช็คดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: สิทธิของเจ้าของที่ไม่รู้เห็นเป็นใจ
การขอคืนของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือศาลไม่พิพากษาให้ริบนั้น ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองขอคืนได้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 64 ทวิ วรรคสอง ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2518 มาตรา 26แต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ริบตามมาตรา 74 และ 74ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้นั้นมิได้บัญญัติเรื่องการขอคืนของกลางไว้ในที่ใดในพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องใช้บทบัญญัติทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา 17บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกริบมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมจะร้องขอต่อศาลให้สั่งคืนของกลางแก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ห้ามปรับซ้ำสำหรับความผิดครั้งเดียว
มาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติศุลกากร แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ปรับ 4 เท่าราคาของรวมค่าอากร ฯลฯ แม้ไม่มีข้อความว่า 'สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ' ดัง มาตรา 27 ก็ตามก็มีความหมายมิให้ปรับเรียงตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: ศาลพิจารณาจากบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาได้ แม้มีกฎหมายเฉพาะ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ++
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว / โปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของตนนำไปบรรทุกถ่านจากผู้ที่ลักลอบเผา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นถ่านที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์เป็นพิเศษซึ่งไม่อาจใช้บังคับแก่รถยนต์ของกลางคันนี้ได้ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2510)
of 8