พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิดป่าไม้: ศาลพิจารณาจากบทบัญญัติอาญาควบคู่กับดุลพินิจ
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของตนนำไปบรรทุกถ่านจากผู้ที่ลักลอบเผา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นถ่านที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์เป็นพิเศษซึ่งไม่อาจใช้บังคับแก่รถยนต์ของกลางคันนี้ได้ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องคืนของกลางของผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำผิด: การบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 บัญญัติเฉพาะในเรื่องริบของกลางอันได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดแต่ในเรื่องที่มีผู้มาร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบไปแล้วพระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา 17 ซึ่งเป็นบททั่วไป ดังนั้น แม้ศาลจะฟังว่าถ่านของกลางได้มาจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ และได้สั่งริบไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของ เป็นบุคคลภายนอกคดี ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ที่จะร้องขอให้ศาลสั่งคืนของกลางแก่ผู้ร้องได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนถ่านของกลาง โดยอ้างแต่เพียงว่าถ่านของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้องเท่านั้น มิได้อ้างว่าไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องไม่ได้ ต้องยกคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนถ่านของกลาง โดยอ้างแต่เพียงว่าถ่านของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้องเท่านั้น มิได้อ้างว่าไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องไม่ได้ ต้องยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนของกลางของผู้ที่อ้างเป็นเจ้าของ แม้ของกลางได้มาจากการกระทำผิด ต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจ
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 บัญญัติเฉพาะในเรื่องริบของกลางอันได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดแต่ในเรื่องที่มีผู้มาร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบไปแล้ว พระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา 17 ซึ่งเป็นบททั่วไป ดังนั้น แม้ศาลจะฟังว่าถ่านของกลางได้มาจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ และได้สั่งริบไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของเป็นบุคคลภายนอกคดี ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ที่จะร้องขอให้ศาลสั่งคืนของกลางแก่ผู้ร้องได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนถ่านของกลาง โดยอ้างแต่เพียงว่าถ่านของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้องเท่านั้น มิได้อ้างว่าไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องไม่ได้ ต้องยกคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนถ่านของกลาง โดยอ้างแต่เพียงว่าถ่านของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้องเท่านั้น มิได้อ้างว่าไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องไม่ได้ ต้องยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดฆ่าสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องปรับตามจำนวนสัตว์ที่ฆ่าต่อจำเลยแต่ละคน
โทษปรับฐานฆ่าสัตว์ไม่รับอนุญาตตามมาตรา 18 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502 ไม่มีข้อความบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่า ไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้ ในกรณีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 มาใช้บังคับแก่โทษปรับตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ฉะนั้น แม้กฎหมายให้ลงโทษปรับเรียงตัวสัตว์ที่ฆ่า เมื่อมีผู้กระทำผิดหลายคนในความผิดอันเดียวกัน ศาลก็ต้องลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลด้วย โดยปรับจำเลยแต่ละคนเรียงตามรายตัวสัตว์ที่ร่วมกันฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ ต้องปรับตามจำนวนสัตว์ที่ฆ่า และปรับเรียงรายตัว
โทษปรับฐานฆ่าสัตว์ไม่รับอนุญาตตามมาตรา 18 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502 ไม่มีข้อความบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่า ไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้ ในกรณีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 มาใช้บังคับแก่โทษปรับตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ฉะนั้น แม้กฎหมายให้ลงโทษปรับเรียงตัวสัตว์ที่ฆ่า เมื่อมีผู้กระทำผิดหลายคนในความผิดอันเดียวกัน ศาลก็ต้องลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลด้วย โดยปรับจำเลยแต่ละคนเรียงตามรายตัวสัตว์ที่ร่วมกันฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำผิด เมื่อเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจ ศาลใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ประกอบมาตรา 17
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35เป็นบทบัญญัติในเรื่องริบของกลางที่ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เมื่อมีผู้ร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบไปแล้ว พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา17 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำผิด เมื่อเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจ ศาลมีอำนาจสั่งคืนได้ตามกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35 เป็นบทบัญญัติในเรื่องริบของกลางที่ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เมื่อมีผู้ร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบไปแล้ว พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา17 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการออกเช็ค – เจตนาไม่มีเงินในบัญชี – การเซ็นรับรองลายมือเป็นพฤติการณ์ร่วม
การที่จำเลยเซ็นรับรองลายมือของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็ค และจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปใช้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เพราะมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่าบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น และมาตรา 83 ก็เป็นบทบัญญัติในภาค 1 ทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ก็มิได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1603/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของบุคคลที่ไม่มีส่วนรู้เห็นในความผิด: ขัดต่อหลักกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
บทกฎหมายใดก็ตาม ที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่เขามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด และทรัพย์นั้นไม่ใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิดแล้ว ย่อมขัดกับการลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาในระหว่างใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลตีความมาแล้วว่า บทบัญญัติเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยใช้บังคับมิได้ (อ้างฎีกาที่ 225/2506)
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้นย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้นย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1603/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของบุคคลที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ
บทกฎหมายใดก็ตามที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่เขามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด และทรัพย์นั้นไม่ใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิดแล้ว ย่อมขัดกับการลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ในระหว่างใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลตีความมาแล้วว่า บทบัญญัติเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยใช้บังคับมิได้ (อ้างฎีกาที่ 225/2506)
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น ย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น ย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย