พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำต้องส่งมอบในวันทำสัญญา การริบเงินต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เงินมัดจำคือเงินที่มอบให้แก่กันในวันทำสัญญา แม้คู่กรณีจะระบุไว้ในสัญญาว่าโจทก์ได้ให้เงินมัดจำแก่จำเลย 1,000,000 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ งวดแรกชำระในวันทำสัญญา 500,000 บาท แต่ในวันทำสัญญาโจทก์ก็มิได้มอบเงิน 500,000 บาท แก่จำเลย คงให้จำเลยในวันหลัง เงิน 500,000 บาทนี้ จึงหาใช่เงินมัดจำตามกฎหมายไม่ แม้หากฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยก็หาอาจริบเงินดังกล่าวในฐานะเป็นการริบเงินมัดจำได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงและขอบเขตความรับผิดของผู้เช่าช่วง แม้สัญญาเช่าเดิมไม่มีผลผูกพัน แต่ผู้เช่าช่วงก็ไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าบ้านและที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อประกอบธุรกิจร้านอาหาร มีกำหนด 3 ปี มีข้อสัญญาข้อหนึ่งว่า ผู้เช่าจะโอนสิทธิการเช่าหรือนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงไม่ได้เว้นแต่ผู้เช่าจะได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาราวเดือนพฤษภาคม 2559 จำเลยที่ 1 นำบ้านและที่ดินไปให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วง เป็นการผิดสัญญาเช่า การที่จำเลยที่ 3 อยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้เช่าช่วงแต่เป็นเพียงบริวารของจำเลยที่ 1 สัญญาเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ระงับ จำเลยทั้งสามสามารถอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ นับว่าเป็นการกล่าวอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าจำเลยที่ 3 อยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นเพียงบริวารของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงเป็นคำให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
แม้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาเช่าช่วงบ้านและที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้ใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาท แต่ก็เป็นการอยู่และใช้ประโยชน์โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลเพียงว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิให้เช่าช่วง จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาทอีกต่อไป แต่ไม่ทำให้การที่จำเลยที่ 3 ได้อยู่และใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วนั้น กลายเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงไม่จำต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์
แม้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาเช่าช่วงบ้านและที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้ใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาท แต่ก็เป็นการอยู่และใช้ประโยชน์โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลเพียงว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิให้เช่าช่วง จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาทอีกต่อไป แต่ไม่ทำให้การที่จำเลยที่ 3 ได้อยู่และใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วนั้น กลายเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงไม่จำต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาทางเช็ค: การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ และการแก้ไขโทษที่ศาลชั้นต้น
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ในทำนองว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เท่ากับว่าจำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์มาชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย แม้เป็นฎีกาซึ่งไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา และไม่อาจรับรองให้ฎีกาได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ในทำนองว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เท่ากับว่าจำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์มาชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย แม้เป็นฎีกาซึ่งไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา และไม่อาจรับรองให้ฎีกาได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินประโยชน์ตอบแทนพิเศษของข้าราชการ แม้มีการทักท้วงภายหลัง การยกเลิกคำสั่งไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจ
เงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (เงินรางวัลประจำปี) ที่จำเลยรับไปแล้วนั้น เป็นเงินที่จำเลยมีสิทธิได้โดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่จำเลย หลังจากจำเลยรับเงินดังกล่าวไปแล้ว แม้ต่อมาสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 11 และสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดพิจิตรจะมีหนังสือทักท้วงไปยังโจทก์ว่าการเบิกจ่ายเงินดังกล่าวไม่ถูกต้อง โดยแจ้งว่าเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (เงินรางวัลประจำปี) ต้องเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่สามารถเบิกจ่ายจากเงินสะสมได้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้เงินที่จำเลยรับไปแล้วเป็นเงินที่ไม่ชอบ เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่การเงินของโจทก์เบิกเงินดังกล่าวจากเงินสะสมซึ่งสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดพิจิตรอ้างว่าไม่ถูกต้องตามระเบียบ ก็เป็นการทำงานที่บกพร่องของเจ้าหน้าที่การเงินของโจทก์เอง หาได้เกี่ยวข้องกับจำเลยแต่อย่างใดไม่ และการยกเลิกคำสั่งของเทศบาลตำบลวังกรดที่อนุมัติให้จำเลยได้รับเงินประโยชน์ดังกล่าว โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีอำนาจตามกฎหมายข้อใดที่จะยกเลิกคำสั่งดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นการตัดสิทธิจำเลยที่จะได้รับเงินทั้งที่จำเลยมีสิทธิได้รับเงินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์เองก็ได้อนุมัติให้จำเลยรับเงินดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะยึดถือเงินทั้งสองจำนวนไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินทั้งสองจำนวนคืนจากจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องดำเนินการทางบัญชีเบิกจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษจากกองเงินงบประมาณที่ถูกต้องตามระเบียบการจ่ายเงินชดใช้คืนแก่กองเงินงบประมาณที่เจ้าหน้าที่การเงินของโจทก์เบิกผิดพลาดไป หาใช่มาฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยเช่นนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ความผิดฐานกระทำชำเรา พาเด็กไปเพื่ออนาจาร และพรากเด็กจากผู้ปกครอง
จำเลยใช้วาจาล่อลวงชักชวนให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปหาจำเลยยังที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขายวัตถุอันตรายต้องตรวจสอบฉลากวันเดือนปีที่ผลิต หากไม่ตรวจสอบถือว่าละเลยหน้าที่ตามกฎหมาย
พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 4 นิยามคำว่า "ฉลาก" หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่วัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ หรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับวัตถุอันตราย หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ และหมายความรวมถึงเอกสาร หรือคู่มือประกอบการใช้วัตถุอันตรายด้วย มาตรา 62 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ขายสินค้าเคมีที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จะต้องระมัดระวังตรวจสอบความเชื่อถือได้ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าหรือผู้จัดหาวัตถุอันตรายนั้นให้แก่ตน ความถูกต้องของภาชนะบรรจุและฉลาก ความเหมาะสมของการเก็บรักษา และความไว้วางใจได้ของผู้ที่รับมอบวัตถุอันตรายไปจากตนและมาตรา 83 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ที่ขายวัตถุอันตรายโดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลาก หรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้องมีความผิด นอกจากนี้ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ.2538 ข้อ 6 (12) กำหนดให้วัตถุอันตรายที่ขายหรือจำหน่าย หรือแสดงไว้เพื่อขายหรือจำหน่ายต้องมีฉลากขนาดที่เหมาะสมกับภาชนะบรรจุ ปิดหรือพิมพ์ไว้ที่ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายทุกชิ้น ฉลากดังกล่าวต้องมีเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ เช่นนี้ เห็นได้ว่ากฎหมายให้ความสำคัญกับฉลาก วันเดือนปีที่ผลิตที่ผู้ขายต้องแสดงให้ลูกค้าทราบเพื่อรู้ว่าสินค้าหมดอายุเมื่อใด จึงกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตและผู้ขายวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องติดฉลากแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของวัตถุอันตรายที่ผลิตหรือขายทั้งภาชนะที่บรรจุคือขวดไม่ว่าชนิดใดและหีบห่อบรรจุคือกล่อง จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขายสารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดแมลงของกลางอันเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม โดยจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 ซึ่งผ่านการฝึกอบรมจากกรมวิชาการเกษตรและขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบฉลากและภาชนะวัตถุอันตรายตามที่กฎกระทรวงกำหนดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของฉลากแสดงวันเดือนปีที่ผลิตสินค้าก่อนส่งให้ลูกค้า... จำเลยทั้งสองไม่ได้เปิดกล่องกระดาษตรวจดูเป็นรายขวดหรือแกลลอนที่บรรจุเนื่องจากเห็นว่าหากกล่องกระดาษมีร่องรอยการแกะก่อนส่งให้ลูกค้าจะมองดูไม่น่าเชื่อถือ ทั้งการตรวจสินค้าดังกล่าวเป็นประเพณีทางการค้าที่ผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้และผู้จัดจำหน่ายปฏิบัติต่อกัน จำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดจำหน่ายจึงไม่สามารถล่วงรู้ว่าสินค้าเคมีเกษตรแต่ละชนิดที่บริษัท พ. ผลิตออกมา มีรายการวันเดือนปีที่ผลิตติดไว้ครบถ้วนทุกขวดทุกแกลลอนหรือไม่ เป็นหน้าที่ของบริษัท พ. ที่จะต้องติดรายการวันเดือนปีที่ผลิต นั้น จำเลยทั้งสองสามารถส่งพนักงานไปตรวจสอบสินค้าที่บริษัท พ. ผลิตก่อนที่จะบรรจุกล่อง หากพบว่าฉลากไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่ผลิตก็สามารถแก้ไขได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบดังกล่าว กรณีต้องถือว่าจำเลยทั้งสองละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขายสินค้าเคมีตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 62 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8649/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการริบทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ต้องมีของกลางถูกยึดและระบุในฟ้อง
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ ไม่ใช่เป็นบทความผิด แต่เป็นเพียงบทที่ให้อำนาจแก่ศาลในการริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใดๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 11 มาตรา 48 มาตรา 54 หรือมาตรา 69 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ ด้วย เป็นการไม่ชอบ
คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานยึดสิ่งใดเป็นของกลางอันพึงจะต้องริบตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวดังนั้น จึงไม่มีของกลางที่ศาลจะสั่งให้ริบเสีย แม้โจทก์จะมีคำขอตามมาตรา 74 ทวิ มาท้ายฟ้องด้วยก็ตาม ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องสั่งตามมาตรานี้
คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานยึดสิ่งใดเป็นของกลางอันพึงจะต้องริบตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวดังนั้น จึงไม่มีของกลางที่ศาลจะสั่งให้ริบเสีย แม้โจทก์จะมีคำขอตามมาตรา 74 ทวิ มาท้ายฟ้องด้วยก็ตาม ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องสั่งตามมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7915/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวต่างกรรม: การพิจารณาความผิดฐานครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบต่อการนับโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดคดีนี้ตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อคดีนี้ไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยมีไม้กันเกราแปรรูป 397 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 8.95 ลูกบาศก์เมตร และมีไม้นนทรีแปรรูป 568 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 19.79 ลูกบาศก์เมตร รวม 965 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 28.74 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยเพียงอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ โดยไม่ได้โต้แย้งว่าไม้ของกลางคดีนี้กับไม้ของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559, 78/2559 และ 79/2559 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเป็นไม้ที่จำเลยมีเจตนาครอบครองในคราวเดียวกันอันจะทำให้เป็นความผิดกรรมเดียว ซึ่งเมื่อไม้ของกลางในคดีนี้เป็นไม้กันเกราแปรรูปและไม้นนทรีแปรรูป รวม 965 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 28.74 ลูกบาศก์เมตร ส่วนไม้ของกลางในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559 ของศาลชั้นต้นเป็นไม้กันเกราแปรรูป ไม้นนทรีแปรรูป ไม้ประดู่แปรรูป และไม้มะค่าโมงแปรรูป รวม 1,706 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตรรวม 59.44 ลูกบาศก์เมตร ไม้ของกลางทั้ง 2 คดี เป็นไม้คนละจำนวนกัน จำเลยมีเจตนาครอบครองไม้ในแต่ละจำนวนคนละคราวต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่างกรรม เมื่อศาลมีคำพิพากษาในความผิดกรรมหนึ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับกรรมอื่นหาได้ระงับลงไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ไม้ของกลางในคดีนี้และในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559, 78/2559 และ 79/2559 ของศาลชั้นต้นเป็นไม้แปรรูปที่จำเลยมีเจตนาครอบครองในคราวเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยในทั้ง 4 คดี จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เมื่อคดีอาญาหมายเลขดำที่ 76/2559 ของศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และพิพากษายกฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เห็นสมควรวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้ออื่นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลเป็นหนี้ตามกฎหมาย ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขุดน้ำบาดาลไปใช้ในกิจการของจำเลย และจำเลยต้องชำระค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย หาใช่สัญญาซื้อขายดังที่จำเลยฎีกาไม่ เมื่อพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 มิได้กำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หาใช่อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี: ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย แม้เป็นโทษปรับเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นมี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 ให้ระวางโทษจำคุกหกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 141 ให้ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีไม่อาจกำหนดโทษจำคุกแก่จำเลยได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์อีกต่อไปเพราะศาลลงโทษจำเลยได้เพียงโทษปรับเท่านั้น อย่างไรก็ตามในส่วนของโทษปรับที่ศาลนำมาลงโทษจำเลยนั้น พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 87 มีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าจะในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นกฎหมายเดียวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225