คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุบลรัตน์ ลุยวิกกัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการหักชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นที่จำนำไว้ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิหักเงินปันผลชำระหนี้
ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิเศษ ข้อ 10 และหนังสือสัญญากู้เงินสามัญ ข้อ 7 ดังกล่าว มีข้อความทำนองเดียวกันว่า "ข้าพเจ้ายินยอมให้นำเงินค่าหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด ทั้งหมดในขณะนี้และเงินค่าหุ้นที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกต่อไปในภายหน้ามาจำนำกับสหกรณ์ออมทรัพย์ศรีสะเกษ จำกัด เพื่อเป็นการค้ำประกันเงินกู้ตามหนังสือนี้ และในกรณีที่หนี้ถึงกำหนดชำระตามที่กล่าวในข้อ 5 หรือหากมีการบังคับคดีใดๆ ก็ตาม ข้าพเจ้ายินยอมให้สหกรณ์โอนเงินค่าหุ้นของข้าพเจ้าที่จำนำไว้เป็นประกันนี้ชำระหนี้เงินกู้ของข้าพเจ้าที่มีอยู่ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ศรีสะเกษ จำกัด ได้ทันที โดยไม่ต้องนำเงินค่าหุ้นที่จำนำนี้ออกขายทอดตลาดแต่อย่างใดและให้ถือว่าในข้อนี้เป็นการจดแจ้งการจำนำหุ้นตลอดทั้งให้หนังสือกู้ฉบับนี้เป็นสมุดทะเบียนการจำนำหุ้นด้วย" ข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น โดยจำเลยยอมให้เงินค่าหุ้นของจำเลยที่มีอยู่แล้วและที่เพิ่มขึ้นในภายหน้าเป็นจำนำแก่ผู้คัดค้านเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิเศษและหนังสือสัญญากู้เงินสามัญ รวมทั้งให้สิทธิแก่ผู้คัดค้านโอนเงินค่าหุ้นของจำเลยที่จำนำไว้ดังกล่าวชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่มีต่อผู้คัดค้านได้ มิใช่เป็นข้อตกลงในเรื่องเกี่ยวกับเงินปันผลอันเป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่ผู้คัดค้านจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้คัดค้านจึงไม่อาจนำเงินปันผลที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้คัดค้านไปหักชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้คัดค้านโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าว เมื่อผู้คัดค้านได้รับคำสั่งอายัดเงินปันผลดังกล่าวจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธินำเงินปันผลที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดหลังการขายทอดตลาด ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระ
ในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 29 บัญญัติว่า ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมกับนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 มาแสดงด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น จึงย่อมนำมาใช้บังคับแก่กรณีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอันเนื่องมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลด้วย สำหรับหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ดังกล่าว แม้เจ้าของร่วมคือผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในอาคารชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระดังที่มาตรา 18 บัญญัติไว้ก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายด้งกล่าวหรือกฎหมายอื่นก็มิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุดแต่อย่างใด ดังนั้น ข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยที่ให้ผู้ซื้อต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยลูกหนี้เพื่อให้การขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีไม่มีข้อขัดข้อง เมื่อผู้ร้องได้เข้าร่วมประมูลซื้อห้องชุดรายนี้ก็เท่ากับเป็นการตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขในประกาศดังกล่าว นอกจากนี้ข้อกำหนดเงื่อนไขในประกาศดังกล่าวยังมีผลเป็นการกำหนดหน้าที่ของผู้ร้องอยู่ในตัวด้วยว่า ผู้ร้องต้องนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดด้วย เพราะเมื่อผู้ร้องต้องรับผิดชอบชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้แล้ว ก็ย่อมมีสิทธิขอให้นิติบุคคลอาคารชุดผู้เป็นเจ้าหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้หรือหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งแสดงถึงการปลอดหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระอยู่ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อห้องชุดรายหนี้ได้จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวตลอดจนมีหน้าที่ขอให้นิติบุคคลอาคารชุดออกหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยเจ้าของห้องชุดที่จะต้องชำระหนี้ดังกล่าวหรือเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้หรือไปฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจากการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระ
ในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 บัญญัติว่า ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมกับนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 มาแสดงด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น จึงย่อมนำมาใช้บังคับแก่กรณีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอันเนื่องมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลด้วย มิใช่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่เจ้าของห้องชุดเป็นผู้ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด
หนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายแม้เจ้าของร่วมผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในอาคารชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระตามที่มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุด ดังนั้น ข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยที่ให้ผู้ซื้อต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางต่อนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะผู้แทนเจ้าหนี้ในอันที่จะรับชำระหนี้ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ขายทอดตลาด จ่ายเงินตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษาตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาดห้องชุดของจำเลยเพื่อให้การขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อผู้ร้องเข้าร่วมประมูลซื้อห้องชุดก็เท่ากับเป็นการตกลงยอมรับข้อกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า หากผู้ร้องประมูลซื้อห้องชุดได้และมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยค้างชำระอยู่ ผู้ร้องยินยอมรับผิดชำระหนี้ที่ค้าง รวมทั้งนำหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดด้วย เพราะเมื่อผู้ร้องต้องชำระหนี้ดังกล่าวแทนจำเลยก็ย่อมมีสิทธิขอให้นิติบุคคลอาคารชุดผู้เป็นเจ้าหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้ หรือหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งแสดงถึงการปลอดหนี้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดมีหนี้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางค้างชำระ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อห้องชุดได้จึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวตลอดจนมีหน้าที่ขอให้นิติบุคคลอาคารชุดออกหนังสือรับรองรายการหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด จะอ้างว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยเจ้าของห้องชุดที่จะต้องชำระหรือเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ หรือไปฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์สินเช่าซื้อถูกบังคับคดี: การปล่อยให้ยึดทรัพย์ทำให้สิทธิเหนือเงินจากการขายทอดตลาดหมดไป
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เลิกกัน ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินของตนตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่การที่ผู้ร้องมิได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยรถยนต์ของผู้ร้องที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้เอารถยนต์นั้นออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง และผู้ร้องได้ปล่อยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปเช่นนี้ สิทธิของผู้ร้องอันอาจที่จะบังคับเหนือทรัพย์สินในฐานะเจ้าของทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ดังกล่าวย่อมเป็นอันหมดไป ทั้งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินที่เข้าแทนที่รถยนต์ของผู้ร้องในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันก่อนดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวเพื่อชำระให้แก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติมาตรา 288 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์สินเช่าซื้อหลังถูกยึดบังคับคดี - การสูญเสียสิทธิจากการไม่ใช้สิทธิยื่นคำร้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ร้องผู้ให้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้เช่าซื้อเลิกกัน ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่การที่ผู้ร้องมิได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยรถยนต์ของผู้ร้องที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ก่อนเอารถยนต์ออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง และผู้ร้องได้ปล่อยให้ขายทอดตลาดไป สิทธิของผู้ร้องอันอาจที่จะบังคับเหนือทรัพย์สินในฐานะเจ้าของทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ย่อมเป็นอันหมดไป ทั้งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่ใช่ทรัพย์สินที่เข้าแทนที่รถยนต์ของผู้ร้องในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเพื่อชำระให้แก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งอยู่ภาคใต้บังคับของบทบัญญัติมาตรา 288 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์สินเช่าซื้อที่ถูกบังคับคดี: การปล่อยละเลยสิทธิทำให้สิทธิขาดเสีย
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เลิกกัน ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่การที่ผู้ร้องมิได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยรถยนต์ของผู้ร้องที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก่อนเอารถยนต์นั้นออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง และผู้ร้องปล่อยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปเช่นนี้ สิทธิของผู้ร้องอันอาจที่จะบังคับเหนือทรัพย์สินในฐานะเจ้าของทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ดังกล่าวย่อมหมดไป ทั้งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินที่เข้าแทนที่รถยนต์ของผู้ร้องในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันก่อนดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวเพื่อชำระให้แก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติมาตรา 288 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดและการประกันภัย: สัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้รับประกันภัยไม่กระทบความรับผิดของผู้ทำละเมิด
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายทำละเมิดโดยขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 เฉี่ยวชนกับรถยนต์ของโจทก์โดยประมาท จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จนเต็มจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีการเอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับไว้หรือไม่ การที่จำเลยที่ 2 เอาประกันภัยรถยนต์เกิดเหตุไว้กับบริษัท ส. ในลักษณะประกันภัยค้ำจุนก็เพื่อให้บริษัท ส. ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแทนจำเลยที่ 2 ภายในวงเงินประกันภัย ซึ่งโจทก์ผู้ได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง การที่โจทก์เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการกรมการประกันภัย ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยและที่โจทก์ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวนดังกล่าวก็เนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับวงเงินที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัย ไม่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด แม้ในบันทึกข้อความเรื่องจ่ายค่าสินไหมทดแทน มีข้อความเพิ่มเติมว่า "เมื่อผู้เสนอข้อพิพาทได้รับค่าสินไหมทดแทนแล้วจะไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ จากบริษัทหรือผู้อื่นใดอีกต่อไป" คำว่า "ผู้อื่น" ในที่นี้ก็ไม่ชัดแจ้งว่าหมายถึงจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจตีความว่าหมายถึงจำเลยทั้งสองซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตกลงประนีประนอมยอมความได้ ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัยดังกล่าวจึงไม่มีผลทำให้มูลละเมิดตามฟ้องระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยกเว้นข้อผิดพลาดในกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลา ทำให้จำเลยไม่สามารถโต้แย้งได้อีก และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกา
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ที่แถลงด้วยวาจาอันไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 275 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคแรก จำเลยต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามมาตรา 27 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14892/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเอกสารแทนพยานบุคคล และการยกอายุความต้องแสดงเหตุผลชัดเจนในคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้กู้ยืมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณา การที่โจทก์แถลงขอส่งหนังสือรับรองและหนังสือมอบอำนาจแทนการสืบพยานและศาลอนุญาตถือได้ว่าเป็นการให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบ
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 จำเลยที่ 2 ต้องแสดงโดยชัดแจ้งด้วยว่าอายุความ 1 ปี นับแต่วันใดและโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความนั้นแล้วอย่างไร การที่จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาค้ำประกันตกเป็นมรดกของ ศ. ตั้งแต่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องตามสัญญาค้ำประกันภายใน 1 ปี นับถึงวันฟ้องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความนั้น จำเลยที่ 2 มิได้ระบุวันที่โจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ศ. ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความว่าเป็นวันที่เท่าใด จึงไม่ชัดแจ้งว่าอายุความเริ่มนับเมื่อวันที่เท่าใดและโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้วจริงหรือไม่ จำเลยที่ 2 จะอนุมานเอาจากข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของ ศ. ว่าเป็นวันใดก็ไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
of 13