พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาฐานทำไม้และรับซื้อไม้ผิดกฎหมาย การรับคำสารภาพ และการแก้ไขโทษ
แม้จะระบุวันนัดกระทำความผิด และไม้พะยูงจำนวนเดียวกันแต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2 (ก) และข้อ 2 (ข) มิได้มีข้อความใดระบุยืนยันหรือทำให้เข้าใจได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานเป็นตัวการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ หรือรับไว้ซึ่งไม้ของกลางโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่คนร้ายได้มาจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ทั้งสองฐานในคราวเดียวกัน และมิได้มีความขัดแย้งกัน แต่เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เพื่อให้ศาลวินิจฉัยและเลือกลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความ คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2 (ก) และข้อ 2 (ข) ถือได้ว่าเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ดังนั้น ฟ้องโจทก์ข้อ 2 (ก) และ ข้อ 2 (ข) จึงไม่ขัดแย้งกันและไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 70 เป็นบทบัญญัติพิเศษที่บัญญัติให้ผู้ใดรับไว้ด้วยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้น ซึ่งไม้หรือของป่าที่ตนรู้แล้วว่าเป็นไม้หรือของป่าที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้มีความผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำผิดนั้น แม้ผู้นั้นจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในภายหลังจากการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว หรือมิได้เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดโดยตรงมาตั้งแต่ต้นก็ตาม ก็ต้องรับผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำความผิดนั้นด้วย คำรับสารภาพของจำเลยในข้อหารับไว้ด้วยประการใดซึ่งไม้ของกลางที่ตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิด กับข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายชัดแจ้งและไม่เคลือบคลุมแต่อย่างใด ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ได้
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 70 เป็นบทบัญญัติพิเศษที่บัญญัติให้ผู้ใดรับไว้ด้วยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้น ซึ่งไม้หรือของป่าที่ตนรู้แล้วว่าเป็นไม้หรือของป่าที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้มีความผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำผิดนั้น แม้ผู้นั้นจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในภายหลังจากการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว หรือมิได้เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดโดยตรงมาตั้งแต่ต้นก็ตาม ก็ต้องรับผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำความผิดนั้นด้วย คำรับสารภาพของจำเลยในข้อหารับไว้ด้วยประการใดซึ่งไม้ของกลางที่ตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิด กับข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายชัดแจ้งและไม่เคลือบคลุมแต่อย่างใด ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้จะเป็นกฎหมายใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยทั้งสองได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองอีกต่อไป เพราะศาลคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงโทษปรับเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองนั้น โทษปรับตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาท เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดีประมง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยอีกต่อไป เพราะศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงโทษปรับเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยนั้น โทษปรับตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในพื้นที่ป่า การแปรรูปไม้ และการมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลยกฟ้องฐานแปรรูปและมีไม้แปรรูป
เมื่อไม้ของกลางที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นท่อนยังมิได้มีการกระทำใด ๆ ให้ไม้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไป จึงถือว่าไม้ดังกล่าวยังมิได้แปรรูปอันจะเป็นการแปรรูปไม้ตามคำนิยามของคำว่า แปรรูปไม้ ในมาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "แปรรูป หมายความว่า การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ไม้ดังนี้ คือ ก. เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิม..." ลำพังเพียงการตัดไม้แล้วทอนเป็นท่อนยังไม่ถือเป็นการแปรรูปไม้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันแปรรูปไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และเมื่อไม้หวงห้ามของกลางเป็นไม้อันยังมิได้แปรรูป จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้องด้วยเช่นกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดทั้งสองฐานนี้จึงไม่ชอบ ซึ่งศาลฎีกาเมื่อเห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดในสองฐานนี้ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบช้างป่าคุ้มครองและสิทธิในการขอคืนของกลางของผู้ไม่รู้เห็นเป็นใจ
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 388/2558 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีช้างซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าช้างเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และศาลชั้นต้นริบช้างของกลางตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 58 และ ป.อ. มาตรา 32 ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนช้างของกลาง จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนช้างของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าศาลสั่งริบช้างของกลางได้หรือไม่นั้นยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะยกประเด็นโดยอ้างว่าช้างของกลางเป็นช้างบ้านที่มีตั๋วรูปพรรณช้าง (ส.พ. 5) เพื่อให้ฟังว่ามิใช่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองขึ้นมาในคำร้องขอคืนช้างของกลางต่อไปอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
กรณีที่ศาลสั่งริบสัตว์ป่าคุ้มครองของกลางที่บุคคลมีไว้เนื่องจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 58 และเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 32 นั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวและประมวลกฎหมายอาญา ตลอดจนกฎหมายอื่นไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ใดยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลชั้นต้นริบในกรณีดังกล่าวได้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอคืนช้างของกลางคดีนี้
กรณีที่ศาลสั่งริบสัตว์ป่าคุ้มครองของกลางที่บุคคลมีไว้เนื่องจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 58 และเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 32 นั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวและประมวลกฎหมายอาญา ตลอดจนกฎหมายอื่นไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ใดยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลชั้นต้นริบในกรณีดังกล่าวได้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอคืนช้างของกลางคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตควบคุมการแปรรูปไม้เป็นองค์ประกอบความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าพื้นที่เกิดเหตุอยู่ในเขตควบคุม
ความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้...มีไม้สักแปรรูปไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง หรือมีไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่..." ดังนั้น การแปรรูปไม้และการมีไม้แปรรูปจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อความผิดดังกล่าวกระทำในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ เขตควบคุมการแปรรูปไม้จึงถือเป็นองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีการนำประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2499 ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีการนำไปปิดประกาศ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน หรือที่สาธารณะที่เกี่ยวข้อง แต่ประกาศของรัฐมนตรีฯ หาใช่กฎหมายหรือเป็นข้อเท็จจริงที่ประชาชนรู้กันทั่วไป เมื่อจำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงต้องมีภาระพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบขาดองค์ประกอบความผิดของมาตรา 48 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีแทนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งราชอาณาจักรไทยไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่อาจดำเนินคดีแทนจำเลยได้ คดีนี้จำเลยมอบอำนาจให้องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นผู้ดำเนินคดีแทน การที่ ส. ประธานองค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งราชอาณาจักรไทย ลงลายมือชื่อ ในฐานะผู้อุทธรณ์และผู้เขียนเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบมาตรา 67 (5) และ 246 กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ไว้และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษาเป็นการไม่ชอบ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนขององค์กรที่ไม่เป็นนิติบุคคล และผลของการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
ชั้นพิจารณาในศาลชั้นต้นจำเลยต่อสู้คดีด้วยตนเอง ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจำเลยมิได้แต่งตั้งทนายให้เข้าว่าความ แต่ได้มอบอำนาจให้องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งราชอาณาจักรไทย โดย ส. ประธานองค์การฯ เป็นผู้อุทธรณ์และผู้ฎีกา แต่องค์การตรวจสอบอำนาจรัฐแห่งราชอาณาจักรไทยไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยได้ การที่องค์การฯ ดังกล่าวยื่นอุทธรณ์แทนจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10492/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์จากการประมงผิดกฎหมาย แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี กฎหมายเดิมยังใช้บังคับ
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลฎีกา มีพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ใช้บังคับ โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และให้ใช้บทบัญญัติใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสิบห้าในส่วนโทษปรับและการริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (1), 82 และ 98 และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 69, 147 วรรคหนึ่ง และ 169 จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยทั้งสิบห้า ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ซึ่งมาตรา 69 (เดิม) บัญญัติว่า เครื่องมือทำการประมง เรือ สัตว์น้ำ และสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ศาลจะริบเสียก็ได้ แต่ถ้าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 19 หรือมาตรา 20 ให้ศาลริบสิ่งเช่นว่านั้นเสียทั้งสิ้น และมาตรา 70 (เดิม) บัญญัติว่า เครื่องมือทำการประมงที่ได้มีประกาศตามความในมาตรา 32 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้โดยเด็ดขาดนั้น ถ้านำมาใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ ให้ศาลริบเครื่องมือนั้นเสีย เมื่อจำเลยทั้งสิบห้าใช้เรือยนต์ประมงในการกระทำความผิดและนำเครื่องมืออวนล้อมจับอันเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ได้มีประกาศห้ามใช้โดยเด็ดขาดมาใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ริบจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10489/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการบังคับคดีตามคำพิพากษา: โจทก์/กรมป่าไม้มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและมีคำขอบังคับให้จำเลยออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงถือเป็นผู้เสียหายในคดี และถือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนคำขอส่วนแพ่งที่ขอให้จำเลยออกไปจากป่าสงวน กรมป่าไม้ย่อมสามารถที่จะทำการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 แต่เนื่องจากคดีนี้เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งในส่วนแพ่งและส่วนอาญา โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ เมื่อโจทก์ในฐานะคู่ความได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุให้โจทก์หรือผู้แทนโจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย จึงเป็นการออกหมายบังคับคดีที่ชอบแล้ว ทั้งในหมายบังคับคดีก็ระบุให้โจทก์ตั้งผู้แทนโจทก์ไปดำเนินการบังคับคดีแทนได้ ในกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์จะไปดำเนินการบังคับคดีด้วยตนเอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับโจทก์ว่าโจทก์เห็นควรตั้งบุคคลใดที่มีส่วนได้เสียกับการบังคับคดีแทนโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ โจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีแทนย่อมทราบว่าควรให้บุคคลใดเป็นผู้แทนโจทก์ในการนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่ที่จำเลยครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีดังกล่าว จึงสามารถดำเนินการบังคับคดีได้ตามกฎหมายไม่มีเหตุเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าว