พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14743/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกทำลายป่าสงวน, ทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, และมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครอง ศาลพิพากษาลงโทษตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักเกณฑ์การบรรยายฟ้องของโจทก์ ตามกฎหมายดังกล่าวมาตรา 158 (5) ว่า "การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด..." เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้บังอาจร่วมกัน ก่นสร้าง แผ้วถาง และเข้ายึดถือหรือครอบครองบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ...โดยจำเลยทั้งสองได้ใช้มีดพร้าเป็นอุปกรณ์ในการก่นสร้าง โค่นไม้จำนวนหลายต้น อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองใช้มีดพร้าตัดกิ่งไม้โยนเข้ากองไฟในที่เกิดเหตุ ประกอบกับภาพถ่ายสภาพที่เกิดเหตุลักษณะเป็นการแผ้วถางทำป่าให้เตียนเพื่อเข้ายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในกรอบของข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันก่นสร้าง แผ้วถาง อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติชอบแล้ว
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางที่เกิดเหตุ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และในขณะเดียวกันยังร่วมกันทำไม้โดยตัดไม้ในที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีที่ได้กระทำ แต่ลักษณะความผิดฐานร่วมกันทำไม้และยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นการกระทำคนละคราวโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดให้เกิดผลแตกต่างแยกต่างหากจากกัน โดยหลังจากที่ตัดไม้แล้วจำเลยทั้งสองมีเจตนามีไม้ที่ตัดไว้ในครอบครองย่อมเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากการตัดไม้ แม้ว่าไม้ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันตัดและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางที่เกิดเหตุ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และในขณะเดียวกันยังร่วมกันทำไม้โดยตัดไม้ในที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีที่ได้กระทำ แต่ลักษณะความผิดฐานร่วมกันทำไม้และยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นการกระทำคนละคราวโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดให้เกิดผลแตกต่างแยกต่างหากจากกัน โดยหลังจากที่ตัดไม้แล้วจำเลยทั้งสองมีเจตนามีไม้ที่ตัดไว้ในครอบครองย่อมเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากการตัดไม้ แม้ว่าไม้ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันตัดและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14628/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์เกี่ยวกับพยานหลักฐานเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 ปี ฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป จำคุก 3 เดือน รวมจำคุก 3 ปี 3 เดือน และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลล่างให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14487/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน-อุทยานฯ การครอบครองหลังประกาศเขตป่า การชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 895 (พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2523 และ พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2524 ซึ่งกฎกระทรวงและแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกาและแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2523 และวันที่ 24 ธันวาคม 2524 ตามลำดับ แม้จะมีพื้นที่บางส่วน เช่น ที่ดินพิพาท ปรากฏว่าอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินก็ตามก็ไม่มีผลทำให้กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่มีสภาพบังคับเพราะเหตุผลและวัตถุประสงค์ ในการออกกฎหมายแต่ละฉบับแตกต่างกัน อำนาจในการดูแลจัดการหรือดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายแต่ละฉบับขึ้นกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างกัน และตราบใดที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ ยังมิได้นำที่ดินพิพาทไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ จะนำที่ดินพิพาทไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับลาน
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 มีสาระสำคัญว่า รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ โดยรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่าไม้ ได้กำหนด ให้มีการตรวจพิสูจน์การครอบครองที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อพิสูจน์ว่าราษฎรอยู่อาศัยและทำกินมาก่อน ให้กรมป่าไม้จัดทำขอบเขตที่อยู่อาศัยและทำกินให้ชัดเจน ห้ามขยายพื้นที่เพิ่มเติมโดยเด็ดขาด...ฯลฯ ส่วนกรณีราษฎรอยู่อาศัยและทำกินหลังวันประกาศสงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายครั้งแรก ให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์นั้น แล้วทำการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ที่ดินพิพาทถูกกำหนดให้เป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2523 ตามสำเนากฎกระทรวงฉบับที่ 895 (พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และแผนที่แนบท้าย ดังนั้นราษฎรที่จะได้รับประโยชน์อยู่อาศัยและทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จะต้องเป็นผู้อยู่อาศัยและทำกินมาก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2523 แต่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจาก ว. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 จำเลยปลูกบ้านพักอาศัยเมื่อปลายปี 2540 เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว 1 หลัง แล้วเสร็จในปี 2545 จึงเป็นเวลาภายหลังจากที่มีการประกาศกำหนดให้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำของจำเลยเป็นการบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับลาน
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 มีสาระสำคัญว่า รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ โดยรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่าไม้ ได้กำหนด ให้มีการตรวจพิสูจน์การครอบครองที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อพิสูจน์ว่าราษฎรอยู่อาศัยและทำกินมาก่อน ให้กรมป่าไม้จัดทำขอบเขตที่อยู่อาศัยและทำกินให้ชัดเจน ห้ามขยายพื้นที่เพิ่มเติมโดยเด็ดขาด...ฯลฯ ส่วนกรณีราษฎรอยู่อาศัยและทำกินหลังวันประกาศสงวนหวงห้ามเป็นพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายครั้งแรก ให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์นั้น แล้วทำการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ที่ดินพิพาทถูกกำหนดให้เป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2523 ตามสำเนากฎกระทรวงฉบับที่ 895 (พ.ศ.2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และแผนที่แนบท้าย ดังนั้นราษฎรที่จะได้รับประโยชน์อยู่อาศัยและทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จะต้องเป็นผู้อยู่อาศัยและทำกินมาก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2523 แต่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจาก ว. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 จำเลยปลูกบ้านพักอาศัยเมื่อปลายปี 2540 เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว 1 หลัง แล้วเสร็จในปี 2545 จึงเป็นเวลาภายหลังจากที่มีการประกาศกำหนดให้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำของจำเลยเป็นการบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับลาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14391/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิดป่าไม้ และความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่ไม่เข้าข่ายต้องมีใบอนุญาต
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ บัญญัติว่า "บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 11 มาตรา 48 มาตรา 54 หรือมาตรา 69 ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่" โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองพร้อมกับยึดของกลางต่าง ๆ รวมทั้งรถยนต์กระบะ อันเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล และยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองใช้และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานทำไม้และแปรรูปไม้ บรรทุกไม้และอุปกรณ์เครื่องมือดังกล่าวเป็นของกลาง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง และไม่ได้ขอนำพยานเข้าสืบในส่วนรถยนต์กระบะของกลางให้เชื่อได้ว่า รถยนต์กระบะของกลางเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองใช้เดินทางไปรับจ้างแปรรูปไม้และจอดอยู่บริเวณที่เกิดเหตุ กรณีจึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะซึ่งจำเลยทั้งสองใช้บรรทุกไม้ด้วย และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, มาตรา 48 รถยนต์กระบะของกลางจึงเป็นยานพาหนะซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 อันเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบตามมาตรา 74 ทวิ แห่งกฎหมายดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ยังปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว อันเป็นการกำหนดไว้ว่าเฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดฐานดังกล่าว แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ยังปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว อันเป็นการกำหนดไว้ว่าเฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดฐานดังกล่าว แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13933/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินไม่มีเอกสิทธิ ครอบครองก่อนกฎหมายใช้บังคับ เป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การเข้ายึดถือครอบครองเป็นความผิด
ที่ดินเกิดเหตุไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินใด ๆ และไม่มีการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จึงเป็นที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน และเป็นป่าตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) ที่บัญญัติว่า "ป่า" หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 เพราะที่ดินเกิดเหตุเป็นป่า ไม่ใช่ให้รับผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เพราะที่ดินเกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ความเป็นป่าหรือความเป็นป่าสงวนแห่งชาติก็ต่างกันไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคนละฉบับ ดังนั้น ไม่ว่าจะมีการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ โดยผลแห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) หรือไม่ก็ตาม หามีผลให้ที่ดินเกิดเหตุพ้นสภาพความเป็นป่าไปด้วยไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 เพราะที่ดินเกิดเหตุเป็นป่า ไม่ใช่ให้รับผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เพราะที่ดินเกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ความเป็นป่าหรือความเป็นป่าสงวนแห่งชาติก็ต่างกันไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคนละฉบับ ดังนั้น ไม่ว่าจะมีการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ โดยผลแห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) หรือไม่ก็ตาม หามีผลให้ที่ดินเกิดเหตุพ้นสภาพความเป็นป่าไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12852/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายป่าสงวนฯ และความผิดเกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ ศาลฎีกายกฟ้องบางส่วนและแก้ไขโทษ
พ.ร.บ. เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 3 นิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ หมายถึง เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลและให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎกระทรวงว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 เมื่อเหตุคดีนี้เกิดวันที่ 23 เมษายน 2552 ภายหลังจากวันที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องมาให้ครบถ้วนว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นไปตามคำนิยามในกฎกระทรวงด้วย เพราะถือว่ากำลังแรงม้าและขนาดความยาวของแผ่นบังคับโซ่เป็นข้อสาระสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องมือที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวเกินกว่า 12 นิ้ว ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นฟ้องที่ไม่มีรายละเอียดพอสมควรไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพก็ไม่สามารถลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ และตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบ หรือในกรณีที่ศาลมิได้มีคำสั่งริบของกลางหรือของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อคดีนี้ศาลมิได้สั่งริบของกลางและมิได้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาทั้งสองข้อที่กล่าวมาข้างต้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12750/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดหลังมีคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุด และข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้แทน จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ อันถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.จัดปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 เข้ารื้อถอนที่พักอาศัยของโจทก์และทำลายทรัพย์สินของโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสามจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวโดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดไม่ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 188 บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป และมาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นในคดีอาญาดังกล่าวพิพากษาลงโทษโจทก์และคดีถึงที่สุดแล้ว แสดงว่าไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาย่อมมีผลบังคับแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์หามีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว จึงขอให้บังคับแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสาม เป็นการบังคับคดีในคดีอาญาดังกล่าว ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ป.วิ.อ. มาตรา 188 บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป และมาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นในคดีอาญาดังกล่าวพิพากษาลงโทษโจทก์และคดีถึงที่สุดแล้ว แสดงว่าไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาย่อมมีผลบังคับแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์หามีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว จึงขอให้บังคับแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสาม เป็นการบังคับคดีในคดีอาญาดังกล่าว ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12747/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายสิ่งแวดล้อม: โจทก์ต้องพิสูจน์มูลค่าความเสียหายที่ชัดเจน ไม่สามารถอ้างเพียงหลักการประเมิน
ค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (2) บัญญัติให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันหมายความว่า แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็ยังมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับความเสียหายดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ในกรณีเช่นนี้จึงหาใช่โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเช่นใด ศาลต้องเชื่อต้องรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์เช่นว่านั้นเสมอไปไม่
ค่าเสียหายดังกล่าว ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเพียงการแสดงวิธีการ หลักเกณฑ์ และสร้างแบบจำลองในการประเมินหาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม อันเป็นไปตามหลักวิชาการที่โจทก์อ้างและยอมรับเพียงฝ่ายเดียว หาใช่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) (2) และ (3) ไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะถือเอาเป็นข้อยุติในการคิดหาค่าเสียหายคดีนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้ พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการแสดงถึงกระบวนการคิดการประเมินค่าเสียหายของโจทก์ให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นเท่านั้น มีผลเท่ากับโจทก์เองก็ยืนยันและพิสูจน์ถึงมูลค่าความเสียหายที่ถูกต้องแน่นอนไม่ได้อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายไม่ได้ตามคำฟ้องและใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรเช่นว่านั้น จึงชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว
ค่าเสียหายดังกล่าว ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเพียงการแสดงวิธีการ หลักเกณฑ์ และสร้างแบบจำลองในการประเมินหาความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม อันเป็นไปตามหลักวิชาการที่โจทก์อ้างและยอมรับเพียงฝ่ายเดียว หาใช่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) (2) และ (3) ไม่ จึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะถือเอาเป็นข้อยุติในการคิดหาค่าเสียหายคดีนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้ พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการแสดงถึงกระบวนการคิดการประเมินค่าเสียหายของโจทก์ให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นเท่านั้น มีผลเท่ากับโจทก์เองก็ยืนยันและพิสูจน์ถึงมูลค่าความเสียหายที่ถูกต้องแน่นอนไม่ได้อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายไม่ได้ตามคำฟ้องและใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรเช่นว่านั้น จึงชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12500/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีหลักฐานข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นธรรม การคำนวณค่าเสียหายแบบหยาบๆ ใช้ไม่ได้
การประเมินความเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาติควรจะต้องกระทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรกก่อนการประเมินต้องเก็บข้อมูลและประเมินความเสียหายเบื้องต้น และขั้นตอนการประเมิน คือกระบวนการประเมินเพื่อกำหนดจำนวนมูลค่าความเสียหาย ซึ่งต้องใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ตามทางนำสืบของโจทก์คงมีแต่คำเบิกความของนาย ก. ลอย ๆ เท่านั้นว่า นาย ก. เป็นผู้เข้าไปตรวจสอบความเสียหายของที่ดินที่เกิดเหตุ โดยไม่ปรากฏสภาพที่ดินใกล้เคียงว่ามีความสมบูรณ์เพียงใดและไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นรายละเอียดของการตรวจสอบว่ามีการเก็บข้อมูลและการประเมินความเสียหายในเบื้องต้นอย่างไร ในเรื่องนี้แม้นาย ก. เบิกความว่า รูปแบบการคำนวณค่าเสียหายของโจทก์ใช้มาตั้งแต่ปี 2544 จนปัจจุบันและใช้เหมือนกันทั่วประเทศก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหลังจากการทำลายไม้จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทั้งไม่ได้ความว่ามีการทดลองใช้แบบจำลองดังกล่าวเพื่อทดสอบความแม่นยำว่าอยู่ในระดับใดก่อนใช้ ในความเป็นจริงความเปลี่ยนแปลงทางทรัพยากรธรรมชาติส่วนต่างๆ ย่อมมีปัจจัยหลายอย่างอันเป็นตัวแปรที่กระทบต่อผลการประเมินได้ ผลการประเมินที่ออกมาถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่เพียงใดจึงไม่อาจยืนยันได้แน่นอน แม้แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมบางประการหลังการทำลายไม้ดังกล่าวอาจมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการบ้าง แต่ก็เห็นได้ว่ารูปแบบการคำนวณค่าเสียหายของโจทก์สำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจากการทำลายป่าไม้ที่โจทก์นำมาใช้เป็นเครื่องมือและวิธีการคำนวณแบบหยาบ ๆ จะใช้เป็นสูตรสำเร็จในการคำนวณค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจากการทำลายป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 แก่ผู้กระทำผิดทุกรายซึ่งเหตุเกิดต่างพื้นที่กันย่อมไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12479/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สมบูรณ์ของคำฟ้องเลื่อยโซ่ยนต์ ทำให้การลงโทษไม่ชอบ ศาลฎีกายกข้อผิดพลาดและแก้ไขโทษ
ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ มาตรา 3 นิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายถึง "เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้ความหมายรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง" เช่นนี้ แสดงว่าตามคำนิยามจากบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" มิใช่เป็นการกำหนดความหมายถึงเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ไว้โดยลำพัง แต่ได้ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วย และโดยอาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว ซึ่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555 เมื่อเหตุคดีนี้เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 ซึ่งเป็นภายหลังจากวันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องมาให้ครบถ้วน ว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ครอบครองนั้น เป็นไปตามคำนิยามในกฎกระทรวงด้วย เนื่องจากกำลังแรงม้าและขนาดความยาวของแผ่นบังคับโซ่เป็นข้อสำคัญที่จะบ่งชี้ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องมือที่มีต้นกำลังตั้งแต่หนึ่งแรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวตั้งแต่สิบสองนิ้ว ตามลักษณะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวคำฟ้องโจทก์จึงไม่มีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)