คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุบลรัตน์ ลุยวิกกัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10787/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างละเว้นหน้าที่รายงานการขายรถยนต์ ทำให้เกิดการทุจริต และร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ดูแลการขายรถยนต์และรับเงินค่าขายรถยนต์จากลูกค้าของโจทก์ร่วม การที่จำเลยปกปิดข้อเท็จจริง ละเว้นไม่รายงานจำนวนรถยนต์ของโจทก์ร่วมที่ขายให้แก่ลูกค้าและไม่รายงานการนำรถยนต์ออกไปจากโกดังตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจนทำให้การกระทำความผิดสำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการ แม้ต่อมาภายหลังจะรายงานจำนวนรถยนต์ต่อโจทก์ร่วมตามความเป็นจริง ก็เป็นการรายงานหลังจากที่ตรวจพบถึงการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว ไม่อาจทำให้การกระทำของจำเลยกลับกลายไม่เป็นความผิด
ส. และจำเลยรับมอบเงินค่าขายรถยนต์ของโจทก์ร่วมจากลูกค้า เป็นเพียงการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วมและยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยร่วมกับพวกเอาเงินดังกล่าวของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) วรรคแรก มิใช่เป็นความผิดฐานยักยอก
แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจะแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงรายละเอียด มิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9043/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้สินเชื่อไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด อายุความ 10 ปี
ลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 เป็นสัญญาที่คู่ความแต่ละฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน ฝ่ายที่เป็นหนี้ค้างชำระมากกว่าจะต้องชำระหนี้ในส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลยภาคเมื่อตัดทอนบัญชี หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้แต่เพียงฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ สัญญาให้สินเชื่อที่จำเลยทำกับโจทก์มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้โดยให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อการหักทอนคิดจำนวนเงินที่จำเลยยังคงเป็นหนี้ค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น ไม่มีลักษณะของการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยหักกลบลบกันแต่อย่างใด สัญญาให้สินเชื่อจึงไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การเบิกถอนเงินจำเลยอาจกระทำได้หลายวิธีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา นอกจากใช้บัตรซิตี้การ์ดกับเลขรหัสประจำตัวเบิกถอนเงินจากพนักงานของโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์หรือจากเครื่องฝากและถอนเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) แล้ว จำเลยอาจใช้วิธีออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน หรือมีคำสั่งผ่านทางบริการซิตี้โฟนแบงก์กิ้งให้โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก หรือโดยวิธีการอื่นๆ ที่โจทก์ให้บริการ ทั้งนี้เงินที่จำเลยเบิกถอนไปไม่ว่าด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตามสัญญาข้อ 6 ระบุให้ถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้เบิกถอนเงินสดจึงเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่จำเลยในการเบิกถอนเงินวิธีหนึ่งในจำนวนหลายวิธีที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันไว้เท่านั้น จำเลยอาจเลือกใช้วิธีอื่นในการเบิกถอนเงินโดยไม่ใช้บัตรซิตี้การ์ดที่โจทก์ออกให้เลยก็ย่อมกระทำได้ เงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนไปแต่ละครั้ง จึงไม่มีลักษณะเป็นเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนไปก่อน แต่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ตามวงเงินสินเชื่อที่จำเลยได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์ แม้โจทก์เก็บค่าสมาชิกจากจำเลยเป็นรายปี ก็เป็นเพียงค่าตอบแทนอย่างหนึ่งที่โจทก์เรียกเก็บเท่านั้น กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปดังที่จำเลยฎีกา สิทธิเรียกร้องของโจทก์เช่นนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีอาวุธปืนเถื่อนในครอบครอง และการแก้ไขโทษจากศาลอุทธรณ์
ข้อหาพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 และ ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ปรับ 50 บาท จึงเป็นกรณีแก้ไขมาก แต่ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนเครื่องหมายทะเบียนถูกขูดลบไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ต้องฟังว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยกรณีผู้ขับขี่ทำละเมิด โดยผู้เอาประกันภัยยินยอม
เงื่อนไขข้อบังคับตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งกำหนดไว้สำหรับการคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่ว่า บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่านอกจากความรับผิดในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำละเมิดต่อผู้อื่นแล้ว จำเลยที่ 3 ยังยอมรับผิดในกรณีผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ทำละเมิด แต่ผู้อื่นเป็นผู้ทำละเมิดโดยผู้นั้นได้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้ โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172-3173/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - ประเด็นความรับผิดนายจ้าง/ตัวแทน - การแก้ไขคำพิพากษา
คดีในสำนวนที่สองศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 49,150 บาท ฎีกาของโจทก์ในสำนวนที่สองจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีในสำนวนแรกเมื่อวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียวแล้ว จึงทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สองที่ว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยมีส่วนประมาทหนึ่งในสามส่วน และจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทสองในสามส่วน ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกา เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคแรก โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ฟังว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในสำนวนที่สอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 โดยหาได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนกระทำการตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วยไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และนาง บ. เป็นตัวแทนในการนำรถไปประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะวินิจฉัยให้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ยังคงฎีกาเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในเนื้อหาดังเช่นที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2
แม้การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่คดีนี้ประเด็นในชั้นฎีกามีเพียงว่า นาย ว. ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มีส่วนประมาทด้วยหรือไม่เท่านั้น จึงไม่จำต้องรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่ากระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การ, อํานาจฟ้อง, การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา, และผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมศาล
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ มีผลเท่ากับเป็นคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ถือว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (3) จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ในเมื่อศาลพิพากษาแล้วได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 วรรคท้าย แต่การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวอาจมีผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต้องเป็นอันถูกยกไป จึงอยู่ในบังคับที่ผู้อุทธรณ์จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ปรากฏว่าในวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยังได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษามาพร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ในเวลาต่อมา อันมีผลทำให้จำเลยไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในการอุทธรณ์คำพิพากษา ซึ่งรวมถึงเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องนำมาวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 ประกอบมาตรา 229 การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่างหากจากอุทธรณ์คำพิพากษา โดยยอมชำระค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นอุทธรณ์ไม่อาจแปลว่าจำเลยประสงค์ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเฉพาะในการยื่นฟ้องอุทธรณ์คำพิพากษาอย่างเดียว อันจะมีผลให้จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์คำสั่ง
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขตามคำร้องของจำเลยข้อแรกที่ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใดๆ และไม่เคยกู้เงินและรับเงินใดๆ จากโจทก์ที่ฟ้องในคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่จำเลยจะทำคำให้การต่อสู้คดี จึงนับว่าไม่มีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไข ทั้งมิใช่การขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะขอแก้ไขภายหลังวันสืบพยานไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ได้
ส่วนข้อความที่จำเลยขอเพิ่มเติมต่อมาที่ว่าโจทก์จดทะเบียนใหม่โดยยังไม่มีประกาศลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา ทำให้กรรมการโจทก์ไม่มีอำนาจกระทำนิติกรรม มีผลให้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงสิ้นผลไป ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในส่วนนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้สืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้วโดยคู่ความต่างก็ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจนสิ้นกระแสความแล้ว และศาลชั้นต้นได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยอยู่ในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยก็ยกขึ้นอ้างเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไว้แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นยกคำร้องในส่วนนี้ จึงมิได้ทำให้จำเลยเสียหาย คดีย่อมไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและการพาอาวุธปืนในทางสาธารณะ
จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุสมควร แต่เมื่อไม่ได้อาวุธปืนที่จำเลยใช้กระทำความผิดมาเป็นของกลาง จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 วรรคสาม
จำเลยด่าว่าผู้เสียหายพร้อมกับขู่ว่าจะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเป็นการกระทำในคราวเดียวโดยมีเจตนาเพื่อดูหมิ่นและทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือตกใจ จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมโภคภัณฑ์: คลอโรฟอร์มผสมในของเหลวต้องขออนุญาตขนย้าย แม้ไม่บริสุทธิ์
ตาม พ.ร.ฎ.ควบคุมโภคภัณฑ์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 มาตรา 3 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2522) ข้อ 1 ระบุเพียงว่า ให้น้ำยาเคมี คลอโรฟอร์ม เป็นโภคภัณฑ์ที่ถูกควบคุม โดยมิได้ระบุว่าจะต้องเป็นน้ำยาเคมี คลอโรฟอร์มบริสุทธิ์แต่อย่างใด จำเลยขนย้ายของเหลวที่มีน้ำยาเคมี คลอโรฟอร์มผสมอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือคนต่างด้าวและการบุกรุกป่าสงวน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกจากความผิดฐานบุกรุกและช่วยเหลือคนต่างด้าว
การกระทำความผิดฐานให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นการจับกุม ซึ่งศาลจะมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคท้าย นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดามารดา สามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้กระทำเท่านั้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความตามบันทึกการจับกุมซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังครั้งที่ 1 ของพนักงานสอบสวนว่า ขณะจับกุมจำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากันกำลังร่วมกันแผ้วถางวัชพืชและไม้ขนาดเล็กในที่ดินเกิดเหตุโดยไม่มีเอกสารสิทธิ แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยทั้งสองของเจ้าพนักงานคุมประพฤติคงปรากฏว่าจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือคนต่างด้าวและการบุกรุกป่าสงวน การพิจารณาโทษและการแก้ไขโทษจำคุก
การกระทำความผิดฐานให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคท้าย นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา สามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้กระทำเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรานี้ได้
of 13