พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง คดีไม่มีมูลแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้อง
การที่จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมคือมารดาโจทก์เพราะการอ้างเอกสารดังกล่าวอาจมีผลให้มารดาโจทก์แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่มารดาโจทก์ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์มิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5, 6
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องแล้ว และป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องแล้ว และป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2564 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายที่แท้จริง vs. ผู้จัดการมรดก กรณีใช้เอกสารปลอม
บุคคลซึ่งจะมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล ต้องเป็นพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 และผู้เสียหายหมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ตามมาตรา 2 (4)
จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ จ. เพราะการที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวอาจมีผลทำให้ จ. แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทน จ. ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 อีกด้วย ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่า คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นสัญญาปลอมดังข้อต่อสู้ของ จ. โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาคดีนี้เพราะเหตุจากการที่จำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าว และแม้คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และ ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่าคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ จ. เพราะการที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวอาจมีผลทำให้ จ. แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทน จ. ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 อีกด้วย ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่า คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นสัญญาปลอมดังข้อต่อสู้ของ จ. โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาคดีนี้เพราะเหตุจากการที่จำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าว และแม้คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และ ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่าคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128-7131/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจจัดการแทน
แม้ศาลล้มละลายกลางจะพิพากษาให้บริษัท อ. ล้มละลายแล้วก็ตาม แต่บริษัท อ. ก็สามารถเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นคดีอาญาในฐานความผิดยักยอก รับของโจร และความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 โดยขอให้ลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายมาด้วย จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อีกทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 ก็มิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือล้มละลายด้วย กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ. โจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่สำนวนเอง คดีอยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง แล้วให้ศาลชั้นต้นยกคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 4 ทั้งสี่สำนวนขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสิ้นผลไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่สำนวนเอง คดีอยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง แล้วให้ศาลชั้นต้นยกคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 4 ทั้งสี่สำนวนขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสิ้นผลไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายและการยอมความที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ทำให้คดีอาญาฉ้อโกงและหลอกลวงผู้อื่นระงับ
ตามหลักฐานบันทึกการรับเงินที่จำเลยได้ชดใช้ให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่ปรากฏว่าในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มีการลงชื่อโดยภริยาของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แม้จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 จึงไม่มีอำนาจยอมความแทนผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (5) บันทึกดังกล่าวไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ระงับไป คงมีผลเพียงให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปเฉพาะแต่ความผิดข้อหาฉ้อโกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่แล้วก็ไม่ทำให้ความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ระงับตามไปด้วยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มีฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้สืบสันดานผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องแทนหากผู้เสียหายไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตาย
ว. บิดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายตามมาตรา 5 (2) โจทก์ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานจึงไม่มีอำนาจจัดการแทน ว. ฟ้องจำเลยได้ เมื่อ ว. เพียงแต่ร้องทุกข์โดยยังไม่ได้ฟ้องคดี ย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29 ที่โจทก์จะดำเนินคดีต่าง ว. ผู้ตายต่อไปได้ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาด้วยวาจาต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน การพิสูจน์ตัวบุคคลในคดีซ้ำซ้อนต้องมีการสืบพยาน
การฟ้องด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงครบถ้วนพอที่ศาลจะพิจารณาลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ประกอบด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาสถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 19 เมื่อโจทก์ฟ้องด้วยวาจาโดยมีข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลจะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายกาวโทลูอินอันเป็นสารระเหย 2 กระป๋องให้แก่สายลับผู้มีอายุ 15 ปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยมิได้ระบุว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่า ผู้ซื้อเป็นผู้ติดสารระเหยอันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกาป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ จึงขาดองค์ประกอบแห่งความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
แม้ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้จะระบุว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษจำเลยคดีนี้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้นและศาลดังกล่าวได้พิพากษาลงโทษและรอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏแต่ตามบันทึกคำรับสารภาพของจำเลย จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพตลอดข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็มิได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำขอในส่วนนี้
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายกาวโทลูอินอันเป็นสารระเหย 2 กระป๋องให้แก่สายลับผู้มีอายุ 15 ปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยมิได้ระบุว่าจำเลยรู้หรือควรรู้ว่า ผู้ซื้อเป็นผู้ติดสารระเหยอันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกาป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ จึงขาดองค์ประกอบแห่งความผิดตามบทมาตราดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
แม้ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้จะระบุว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ขอให้บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษจำเลยคดีนี้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้นและศาลดังกล่าวได้พิพากษาลงโทษและรอการลงโทษจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปีนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏแต่ตามบันทึกคำรับสารภาพของจำเลย จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพตลอดข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้องและโจทก์ก็มิได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1167/2538 ของศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทกองทัพ: การระบุเจาะจงและการตีความหมายของข้อความ
ประเทศไทยมีกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศจำเลยให้สัมภาษณ์และลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับกองทัพโดยมิได้ระบุเจาะจงว่าเป็น กองทัพใด ข้อความที่เกี่ยวกับอาวุธปืนใหญ่ก็มีไว้ใช้ในกองทัพใดก็ได้ส่วนการซื้อเครื่องบิน รถถังและอาวุธต่าง ๆก็ไม่ได้หมายความถึงกองทัพบกโดยเฉพาะ และที่ว่าซื้อมาแล้วก็มากองที่สระบุรี ก็มีความหมายว่า ของที่กองทัพซื้อมาถูกทอดทิ้งไว้ที่จังหวัดสระบุรี ถึงแม้ในจังหวัดสระบุรีจะมีหน่วยงานกองทัพบกเท่านั้น ก็จะตีความหมายเลยไปถึงว่าเป็นกองทัพบกไม่ได้ ดังนั้น จะถือว่าจำเลยใส่ความหมิ่นประมาทกองทัพบกโดยเฉพาะหาได้ไม่ กองทัพบกจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: การพิจารณาความเสียหายและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมแถลงรับว่าเคยถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในมูลคดีเกี่ยวกับคดีนี้ว่าทำร้ายร่างกายจำเลยทั้งสองคดีนี้และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษโจทก์ร่วม คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คดีนี้วินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ดังนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมรับว่าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันกับจำเลยในคดีนี้เมื่อยังไม่ได้ความว่าโจทก์ร่วมวิวาททำร้ายร่างกายกับจำเลย ประกอบกับคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่สมควรด่วนวินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นนี้ เสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ต้องมีผู้เสียหายโดยตรง และการบุกรุกอสังหาริมทรัพย์
แม้ปูนซีเมนต์ที่จำเลยทำให้เสียหายจะอยู่ในบริเวณโรงเรียนซึ่ง อยู่ในความครอบครองดูแลของ ส. ครูใหญ่ แต่ปูนซีเมนต์ดังกล่าวเป็นของ ล. ซึ่งรับเหมาก่อสร้างให้โรงเรียน และมีคนงานของ ล. พักอาศัยอยู่ในบริเวณโรงเรียนด้วย แสดงว่า ล. มอบปูนซีเมนต์ดังกล่าวให้อยู่ในความครอบครองดูแลของคนงานของตน ส. จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน การสอบสวนไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยเดินเข้าไปในบริเวณโรงเรียนในเวลากลางคืนจนไปถึงอาคาร 2 ซึ่งไม่ใช่ทางผ่านและฉีกถุงปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้หน้าอาคาร 2 แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ ส. ครูใหญ่ของโรงเรียนดังกล่าวโดยปกติสุขจำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน การสอบสวนไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยเดินเข้าไปในบริเวณโรงเรียนในเวลากลางคืนจนไปถึงอาคาร 2 ซึ่งไม่ใช่ทางผ่านและฉีกถุงปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้หน้าอาคาร 2 แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ ส. ครูใหญ่ของโรงเรียนดังกล่าวโดยปกติสุขจำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก