คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาหลังเจ้าของสิทธิเสียชีวิต: ผู้รับมรดกไม่มีอำนาจฟ้องแทน หากการกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนได้รับมรดก
จำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดินในขณะที่มารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดนั้นยังมีชีวิตอยู่มารดาโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินตามโฉนดนั้นเพิ่งทราบการกระทำของจำเลยหลังจากที่มารดาโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ในคดีเจ้าพนักงานยักยอกเงินภาษี เทศบาลมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แม้ผู้เสียหายโดยตรงคือผู้ชำระภาษี
เทศบาลประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือน. จำเลยรับเงินภาษีโรงเรือนมาแล้วไม่ลงบัญชี. กลับยักยอกเอาไปเสียเช่นนี้. เทศบาลย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้.
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมือง. จำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน. ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี. กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสีย.ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมาย. เมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลย. จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ในคดีเบียดบังเงินภาษีของเทศบาล: เจ้าพนักงานรับเงินภาษีมีความผิดต่อหน้าที่
เทศบาลประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือนจำเลยรับเงินภาษีโรงเรือนมาแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเสียเช่นนี้เทศบาลย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมืองจำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสียดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายเมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลยจำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินภาษีโรงเรือน เทศบาลมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แม้ผู้เสียหายโดยตรงคือนายภาษี
เทศบาลประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือน จำเลยรับเงินภาษีโรงเรือนมาแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเสีย เช่นนี้ เทศบาลย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมือง จำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสีย ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมาย เมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจร้องทุกข์: หลักเกณฑ์การมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจ
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่อง ให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า(กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์เจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์โดยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่าให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจในการร้องทุกข์อาญา: หลักเกณฑ์และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจที่ใช้ได้
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่องให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5 มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า (กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร เป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่า ไม่ใช่คำร้องทุกข์ โดยตนเองตามป.วิ.อ. มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่า ให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล: ผู้จัดการ/ผู้แทนเท่านั้นที่ฟ้องได้ ห้ามมอบอำนาจต่อ
บุคคลที่จะฟ้องความแทนนิติบุคคลผู้เสียหายได้ คือผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นๆ
ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจผู้แทนของนิติบุคคลมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนฟ้องความในคดีอาญาได้และจะนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 มาอนุโลมใช้ไม่ได้
สมุห์บัญชีเทศบาลไม่มีอำนาจรับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรีให้ฟ้องคดีอาญาที่กระทำต่อเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแทนนิติบุคคล: ผู้จัดการ/ผู้แทนเท่านั้นที่ฟ้องได้, มอบอำนาจให้ผู้อื่นมิได้
บุคคลที่จะฟ้องความแทนนิติบุคคลผู้เสียหายได้ คือผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้น ๆ
ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจผู้แทนของนิติบุคคลมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนฟ้องความในคดีอาญาได้ และจะนำเอา ป.วิ.แพ่งมาตรา 60 มาอนุโลมใช้ไม่ได้
สมุห์บัญชีเทศบาลไม่มีอำนาจรับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรี ให้ฟ้องคดีอาญาที่กระทำต่อเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา: การร้องทุกข์โดยผู้เสียหายและผู้ปกครอง
ในคดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กนั้น เมื่อเด็กผู้เสียหายพร้อมด้วยบิดาเลี้ยงซึ่งเป็นผู้ปกครองในขณะนั้น ได้มาร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานในฐานะผู้เสียหาย และเจ้าพนักงานได้สอบสวนถ้อยคำไว้ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานไม่ลงลายมือชื่อในคำให้การ ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย
การที่พยานไม่ยอมลงลายมือชื่อในคำให้การ ไม่เป็นความผิดเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
พระราชบัญญัติลักษณะพยาน มาตรา 51 ได้ถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 11 แล้ว
of 4