คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 335 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานข่มขืนฯ มาตรา 336 ทวิ เป็นบทเพิ่มโทษ ไม่ใช่ความผิดต่างหาก
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ทวิ เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335, 335 ทวิ หรือมาตรา 336 ต้องรับโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากจากบทมาตราดังกล่าวไม่ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา335 (3) (8) วรรคสาม, 336 ทวิ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 336 ทวิ ซึ่งเป็นบทหนัก และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามมาจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา335 (3) (8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิ, 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ในศาลเจ้า: เงินบริจาคไม่ใช่ทรัพย์ทางศาสนา ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 340 ทวิ
เงินในตู้บริจาคของศาลเจ้าและเงินของผู้ดูแลศาลเจ้า แม้จะเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้า ก็มิใช่วัตถุในทางศาสนา การที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้กระทำต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก และไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสองได้ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 340 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลลงโทษฐานลักทรัพย์ได้แม้ฟ้องปล้นทรัพย์ หากข้อเท็จจริงพิจารณาได้ความว่าเป็นการลักทรัพย์
ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นความผิดที่รวมการกระทำผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วนในตัว ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์แต่เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ศาลก็ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์รวมความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลลงโทษฐานลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นความผิดที่รวมการกระทำผิดฐานลักทรัพย์อยู่ด้วนในตัวดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์แต่เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ศาลก็ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์พระพุทธรูป และการเพิ่มโทษจากคดีก่อนหน้าที่มีการล้างมลทิน
พระพุทธรูปที่จำเลยลักไปหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว ตั้งไว้ที่มุมโต๊ะบูชาในห้องของหอสวดมนต์ ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยจะลักพระพุทธรูปนี้ในวัดก็ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ผงดินของขลังจากพระพุทธรูป: ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ม.335(1)(7) ไม่ใช่ความผิดตาม ม.335ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักเอาผงดินของขลังซึ่งเป็นวัตถุในทางศาสนาที่ทำให้พระพุทธรูปมีความขลังและทรงคุณค่าในความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอัดบรรจุอยู่ในพระพุทธรูป 'พระครูเหล็ก' จำนวนหนัก 4.50 กรัม ประมาณราคาไม่ได้ของวัดแจ้งสว่างไปดังนี้ เป็นฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าผงดินของขลังและพระพุทธรูป 'พระครูเหล็ก' เป็นของวัดแจ้งสว่างฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ผงดินของขลังที่บรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปได้มาจากแหล่งสำคัญในทางพุทธศาสนาที่ประชาชนเคารพนับถือ โดยสภาพเป็นผงดินธรรมดา การนำมาบรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพุทธรูปยิ่งขึ้นนั้นไม่ใช่วัตถุทางศาสนาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน และคำว่า 'ส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 มาตรา 3 นั้นหมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างพระพุทธรูป เช่น พระเศียร พระหัตถ์ พระกร และพระบาท ฯลฯ ซึ่งถ้าหากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกตัดหรือถูกทำลายย่อมทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ผงดินของขลังที่บรรจุอยู่ในฐานองค์พระพุทธรูป แม้จะถูกนำออกไปก็หาทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ไปไม่ รูปลักษณะของพระพุทธรูปยังคงอยู่ในสภาพเดิม ผงดินของขลังจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูปการที่จำเลยลักเอาผงดินของขลังไปจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 มาตรา 3 ตามที่จำเลยที่ 6 แต่ผู้เดียวได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7) ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ด้วยก็ตาม โดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี จึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ผงดินของขลังในพระพุทธรูป: ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ม.335 (1)(7) ไม่ใช่ความผิดตาม ม.335 ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักเอาผงดินของขลังซึ่งเป็นวัตถุในทางศาสนาที่ทำให้พระพุทธรูปมีความขลัง และทรงคุณค่าในความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอัดบรรจุอยู่ในพระพุทธรูป "พระครูเหล็ก" จำนวนหนัก 4.50 กรัม ประมาณราคาไม่ได้ของวัดแจ้งสว่างไป ดังนี้ เป็นฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าผงดินของขลังและพระพุทธรูป "พระครูเหล็ก" เป็นของวัดแจ้งสว่าง ฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ผงดินของขลังที่บรรจุในฐาน 4 องค์ พระพุทธรูปได้มาจากแหล่งสำคัญในทางพุทธศาสตราที่ประชาชนเคารพนับถือ โดยสภาพเป็นผงดินธรรมดา การนำมาบรรจุในฐานองค์พระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพุทธรูปยิ่งขึ้นนั้น ไม่ใช่วัตถุทางศาสนาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน และคำว่า "ส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512 มาตรา 3 นั้น หมายถึงส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างพระพุทธรูป เช่น พระเศียร พระหัตถ์ พระกร และพระบาท ฯลฯ ซึ่งถ้าหากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกตัดหรือถูกทำลายย่อมทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ ผงดินของขลังที่บรรจุอยู่ในฐานองค์พระพุทธรูป แม้จะถูกนำออกไปก็หาทำให้พระพุทธรูปขาดความสมบูรณ์ไปไม่ รูปลักษณะของพระพุทธรูปยังคงอยู่ในสภาพเดิม ผงดินของขลังจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธรูป การที่จำเลยลักเอาผงดินของขลังไปจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2512 มาตรา 3 ตามที่จำเลยที่ 6 แต่ผู้เดียวได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1)(7) ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ด้วยก็ตาม โดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี จึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจรเป็นยักยอก เนื่องจากผู้ดูแลรักษาคือเจ้าอาวาส และการกระทำเข้าข่ายยักยอกทรัพย์
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจร เป็นยักยอกทรัพย์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ดูแลศาสนสมบัติของวัด
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โบราณวัตถุ: การพิสูจน์ความเป็นสมบัติสาธารณะหรือของชาติเป็นสาระสำคัญ
การขุดพบพระพุทธรูปและสิงห์สัมฤทธิ์ แล้วนำมาสักการะบูชาไว้ในห้องที่บ้านของตน โดยมิได้แจ้งหรือนำส่งมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เมื่อเพื่อนบ้านทราบก็มากราบไหว้สักการะบูชา อยู่ได้ประมาณ 3 วันก็ถูกลักไป นั้น ยังไม่พอฟังว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนหรือเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิที่แก้ไขแล้ว
of 2