คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล สิทธิบำนาญถูกบังคับคดีได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ ไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงทบวงกรมใด รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เพียงกำกับโดยทั่วไปหามีอำนาจร่วมจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลโดยตรงไม่ แสดงอยู่ในตัวว่าเป็นการแยกกิจการการรถไฟฯ ออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก ทั้งการรถไฟฯยังจัดทำงบประมาณประจำปีของตนเอง ไม่รวมอยู่ในงบประมาณแผ่นดินอีกด้วยจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟฯ ซึ่งผู้ว่าการรถไฟฯ มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนเลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือนและรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟฯ ซึ่งมิใช่เงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)ไม่ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีต่อการรถไฟฯผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์600,000 บาท การที่ถูกอายัดยอดเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เพียงเดือนละ8,000 บาทเศษ จึงนับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากยังทำงานต่อเนื่องและได้รับค่าจ้าง
เมื่อคณะรัฐมนตรีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้แต่งตั้งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม มิได้ปลดโจทก์ออกจากงาน แต่เป็นการสั่งให้โจทก์พ้นตำแหน่งเดิมแล้วให้ไปทำงานตำแหน่งหน้าที่ใหม่ในฐานะเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การทำงานของโจทก์ต่อเนื่องกัน ไม่มีระยะเวลาอันเป็นช่องว่างที่แสดงว่าโจทก์ต้องออกจากงานไปชั่วคราวแล้วกลับแต่งตั้งเข้ามาใหม่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากการทำงานต่อเนื่องและได้รับค่าจ้างเดิม
เมื่อคณะรัฐมนตรีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้แต่งตั้งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม มิได้ ปลดโจทก์ออกจากงาน แต่เป็นการสั่งให้โจทก์พ้นตำแหน่งเดิมแล้วให้ไปทำงานตำแหน่งหน้าที่ใหม่ในฐานะเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การทำงานของโจทก์ต่อเนื่องกัน ไม่มีระยะเวลาอันเป็นช่องว่างที่แสดงว่าโจทก์ต้องออกจากงานไปชั่วคราวแล้วกลับแต่งตั้งเข้ามาใหม่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งไล่ออกลูกจ้าง: การปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งมอบอำนาจของผู้ว่าการรถไฟฯ
โจทก์เป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดซึ่งมีโทษถึงไล่ออกเมื่อมีการตั้งกรรมการสอบสวนกรณีที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าวและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นว่าโจทก์ทำความผิดจริงก็มีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้ตามที่ได้รับมอบอำนาจ โดยมิต้องนำเรื่องเสนอที่ประชุมผู้อำนวยการฝ่ายและหัวหน้าสำนักงานให้พิจารณาเสียก่อนไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบการและคำสั่งของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ระเบียบภายในของ รฟท. และสิทธิในการเบิกจ่ายเงินสืบสวนลับ
คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีมติเห็นชอบในการวางแผนงานและหลักเกณฑ์ใช้จ่ายเงินงบประมาณในการสืบสวนลับใหม่ ถือได้ว่าเป็นระเบียบที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้วางไว้ตั้งแต่มีมติดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ถือว่าเป็นระเบียบอีก และตามมตินี้มิใช่เป็นเรื่องคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยวางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานที่จะให้ผู้ว่าการรถไฟทำอันเกี่ยวกับนิติกรรมแต่เป็นระเบียบที่วางไว้เป็นการภายในให้โจทก์ในฐานะผู้บังคับการตำรวจรถไฟ จะต้องหารือกับผู้ว่าการรถไฟก่อนถ้าจะทำตามแผนสืบสวนของกองตำรวจรถไฟ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา25(4) แห่ง พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ที่จะต้องให้รัฐมนตรีประกาศข้อบังคับนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โจทก์ซึ่งเป็นผู้บังคับการตำรวจรถไฟได้ทราบระเบียบนี้แล้วก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบใหม่เมื่อโจทก์จ่ายเงินค่าสืบสวนลับไปโดยผิดหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบใหม่ ย่อมเป็นการนอกเหนือหน้าที่อันโจทก์จะพึงปฏิบัติโจทก์จึงไม่มีสิทธิเบิกจ่ายเงินค่าสืบสวนลับดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงานในการไปรษณีย์: พนักงานรถไฟที่รับส่งถุงไปรษณีย์ ไม่ถือเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการไปรษณีย์
จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟฯ ได้รับมอบหมายจากนายสถานีให้เป็นเสมียนเมล์มีหน้าที่รับส่งถุงไปรษณีย์และไปรษณีย์ภัณฑ์ให้แก่การไปรษณีย์ หามีผลให้จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการไปรษณีย์ไม่ เมื่อจำเลยกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยเปิดและทำให้เสียหายแก่จดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 163