พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4217/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 19 ปี
โจทก์ร่วมอายุ 10 ปีเศษ ถูกจำเลยล่วงละเมิดทางเพศ มิได้ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีเป็นบิดาต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดาโจทก์ร่วมหย่าขาดกับมารดาโดยให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า บิดาโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมโดยบิดาโจทก์ร่วมขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตนั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ว่าจะยกฟ้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์หรือฎีกา และจำเลยเพิ่งฎีกาขึ้นมา และคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป การจะสั่งให้แก้ไขอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมให้ถูกต้องเสียก่อนในกรณีนี้จึงไม่จำเป็นเพราะไม่เกิดประโยชน์อย่างใด
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ซึ่งเป็นบิดา แต่ไม่รับคำร้องอีกฉบับของโจทก์ร่วมโดย พ. ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา ทั้งโจทก์ร่วมโดย พ. ยังเคยขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีส่วนแพ่งด้วย ต้องถือว่า พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม ได้ให้ความยินยอมตามคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ฉบับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องแล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์ร่วมแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 2 ฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ซึ่งเป็นบิดา แต่ไม่รับคำร้องอีกฉบับของโจทก์ร่วมโดย พ. ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา ทั้งโจทก์ร่วมโดย พ. ยังเคยขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีส่วนแพ่งด้วย ต้องถือว่า พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วม ได้ให้ความยินยอมตามคำร้องของโจทก์ร่วมโดย ส. ฉบับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำร้องแล้ว จึงไม่ต้องมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์ร่วมแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง คดีไม่มีมูลแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้อง
การที่จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมคือมารดาโจทก์เพราะการอ้างเอกสารดังกล่าวอาจมีผลให้มารดาโจทก์แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่มารดาโจทก์ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์มิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5, 6
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องแล้ว และป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องแล้ว และป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์และเห็นว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2564 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายที่แท้จริง vs. ผู้จัดการมรดก กรณีใช้เอกสารปลอม
บุคคลซึ่งจะมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล ต้องเป็นพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 และผู้เสียหายหมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ตามมาตรา 2 (4)
จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ จ. เพราะการที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวอาจมีผลทำให้ จ. แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทน จ. ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 อีกด้วย ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่า คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นสัญญาปลอมดังข้อต่อสู้ของ จ. โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาคดีนี้เพราะเหตุจากการที่จำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าว และแม้คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และ ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่าคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ จ. เพราะการที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวอาจมีผลทำให้ จ. แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทน จ. ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 อีกด้วย ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่า คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นสัญญาปลอมดังข้อต่อสู้ของ จ. โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาคดีนี้เพราะเหตุจากการที่จำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าว และแม้คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และ ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่าคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของทายาทผู้จัดการศพ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 พิจารณาจากสิทธิทางแพ่ง
การพิจารณาว่าผู้ใดจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่งไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่า ผู้เสียหายในทางอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) เช่น เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้มีอำนาจจัดการแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) มาบังคับใช้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากผู้ร้อง โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า ผู้ตายมีภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรส ไม่มีบุตรด้วยกัน และบิดา มารดาผู้ตายได้ถึงแก่ความตายแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) และ 1633 และเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งได้ ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 มีอำนาจร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การมอบอำนาจฟ้องคดีอาญาต้องเป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบ หากไม่ประทับตราถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ความผิดอาญาซึ่งกระทำต่อนิติบุคคล ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลมีอำนาจเป็นโจทก์หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 สำหรับโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 51 บัญญัติให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้ ประกอบกับข้อบังคับของโจทก์ระบุให้คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์มีอำนาจหน้าที่ให้ฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์... ดังนี้ คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์จึงเป็นผู้แทนโจทก์ที่มีอำนาจฟ้องคดีด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีก็ได้ การกระทำในนามของโจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ซึ่งระบุว่าการลงลายมือชื่อแทนสหกรณ์ตามความในวรรคแรกต้องประทับตราของสหกรณ์ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ คงมีแต่คณะกรรมการดำเนินการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ลงลายมือชื่อโดยมิได้มีการประทับตราของโจทก์กำกับไว้เช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการดำเนินการได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนสหกรณ์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ช. ฟ้องคดีนี้ได้โดยชอบ ช. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยของผู้เสียหายหรือญาติผู้เสียหายที่ไม่ใช่ทายาท
ผู้ร้องในฐานะพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นทั้งสองครั้งเพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลย มิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 หรือยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ทั้งเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นก็มิใช่มรดกของผู้ตาย กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 หรือมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุผู้ตายได้รับอันตรายแก่ชีวิตอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 หรือผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11732/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์, ผู้แทนผู้เสียหาย, การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการพิจารณาคดีของศาลในคดีอาญาว่ามีการกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องเป็นไปตามคำบรรยายฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด บทกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และบทกฎหมายที่โจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งตามมาตรา 348 บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จึงไม่อาจฎีกาว่าทรัพย์ที่สูญเสียไปจากการกระทำความผิดเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน จึงไม่เป็นความผิดอันยอมความ เพื่อให้ผิดแผกไปจากฟ้องได้ โจทก์ร่วมเป็นเพียงกรรมการตรวจรับงานจ้างของเทศบาลนครลำปางผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งมิใช่ผู้แทนของนิติบุคคลผู้เสียหายที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนผู้เสียหายที่ 1 การที่นายกเทศมนตรีนครลำปางผู้แทนนิติบุคคลผู้เสียหายที่ 1 ไม่แจ้งความร้องทุกข์เพราะมีส่วนร่วมกระทำผิดกับจำเลยทั้งสองนั้น มิใช่เหตุที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อยกเว้นบทบัญญัติในเรื่องผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้หากการไม่ร้องทุกข์ของนายกเทศมนตรีนครลำปางก่อให้เกิดความเสียหาย หรือผู้แทนนิติบุคคลผู้เสียหายที่ 1 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอย่างใด ก็ชอบที่จะดำเนินคดีจากการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนนิติบุคคลเป็นอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อนายกเทศมนตรีนครลำปางผู้แทนผู้เสียหายที่ 1 มิได้ร้องทุกข์ดังนี้ ก็ต้องถือว่าไม่มีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายและต้องห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22714/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีข่มขืนใจ: การแจ้งความร้องทุกข์ของผู้ปกครองที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น โดยมีอาวุธ ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ความผิดดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 321 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งในความดูแลของ ค. บิดาผู้เสียหาย หรือผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ อันจะทำให้ ค. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 การที่ ค. ไปแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ชอบ ถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120, 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8537/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของโจทก์ผู้จัดการแทนผู้เสียหาย และผลของการตายของโจทก์ระหว่างการพิจารณาคดี
นาย ก. สามีชอบด้วยกฎหมายของนาง ล. ผู้ตาย เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาง ล. ถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 291 นาง ล. จึงเป็นผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตาย และโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้จัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลงระหว่างการพิจารณาสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ถึงแก่ความตายย่อมไม่เสื่อมเสียไปเพราะความตายของโจทก์ และถือว่าโจทก์ฟ้องนั้นเป็นกระทำการแทนรัฐด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้สืบไว้แล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงชอบแล้ว
โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: การเข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องมีอำนาจตามกฎหมาย และบาดเจ็บสาหัสต้องพิสูจน์ความเชื่อมโยงกับการกระทำของจำเลย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297 โดยคำฟ้องของโจทก์ซึ่งโจทก์ร่วมทั้งสองขอถือเอาเป็นคำฟ้องด้วยบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยใช้มือจับแขนของผู้เสียหาย แล้วเหวี่ยงอย่างแรงจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายล้มลงก้นกระแทกพื้นรับอันตรายสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ซึ่งตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณสะโพกขวาช้ำและอักเสบอย่างรุนแรง ใช้เวลารักษา 6 ถึง 8 สัปดาห์ ไม่ได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้แม้โจทก์ร่วมทั้งสองจะยื่นคำร้องอ้างว่า การทำร้ายของจำเลยทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะบริเวณท้ายทอยต้องเข้ารักษาพยาบาลผ่าตัดเอาก้อนเลือดที่บริเวณท้ายทอยออก และรักษาตัวจนถึงแก่ความตาย โดยโจทก์ไม่คัดค้านการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม แต่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุนานเกือบ 9 เดือน และบาดแผลที่เป็นสาเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายมิใช่บาดแผลที่ผู้เสียหายถูกจำเลยทำร้ายตามฟ้อง ทั้งโจทก์มิได้ยืนยันแน่นอนว่าบาดแผลที่ทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายเกิดจากการกระทำของจำเลย ดังนี้ โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นผู้บุพการีของผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายโดยเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง