คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถของโจทก์ร่วมผู้เยาว์และการแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินคดีอาญา
ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ต้องกระทำโดยผู้แทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3, 5 และ 6การที่ผู้เสียหายซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยลงชื่อแต่งตั้งทนายความด้วยตนเองแต่ลำพังเพื่อให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณานั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้เแก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 56 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 6และ 15
เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ฎีกาขึ้นมา และคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมมีอายุเกินกว่า 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องสั่งให้แก้ไขในข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถของโจทก์ร่วมผู้เยาว์และการแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรมอาญา
ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ต้องกระทำโดยผู้แทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3,5 และ 6 การที่ผู้เสียหายซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยลงชื่อแต่งตั้งทนายความด้วยตนเองแต่ลำพังเพื่อให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณานั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 56 วรรคสี่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 และ 15 เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ฎีกาขึ้นมาและคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมมีอายุเกินกว่า 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้วจึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องสั่งให้แก้ไขในข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีอาญา และการรับรองใบมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ ศาลพิจารณาจากความเป็นจริงและหลักทั่วไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสองคือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสามมิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญาก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา & การตรวจสอบใบมอบอำนาจ: เงื่อนไข & ขอบเขต
ป.วิ.พ. มาตารา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสอง คือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสาม มิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่า ผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญา ก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์: สถานที่กระทำความผิดและภูมิลำเนาจำเลย
จำเลยจะเดินทางกลับประเทศไทย ผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลัง แล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: สถานที่เกิดเหตุเป็นที่ตั้ง
จำเลยจะเดินทางกลับประเทศไทย ผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลัง แล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: จำเลยยิงผู้ตายเพื่อป้องกันภัยจากการถูกทำร้ายจากทั้งผู้ตายและบิดา
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมและฆ่าเด็กชายป.โดยเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำคุก 2 ปีริบของกลางคำขอนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องคืนของกลางแก่เจ้าของ ดังนี้ ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ในส่วนที่เด็กชาย ป. ถูกฆ่า โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาเด็กชายป. เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในฐานะผู้เข้าจัดการแทนเด็กชายป. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)ต่อมาโจทก์ร่วมตายลง ว.พี่ชายเด็กชายป.ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ร่วมหามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา 29 ไม่เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทนเด็กชายป.ซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฆ่าเด็กชายป. โจทก์ร่วมมีอาวุธเหล็กแหลมเดินเข้าไปหาจำเลย จำเลยเดินถอยหลังเมื่อโจทก์ร่วมเข้าไปหาห่างประมาณ 5-6 เมตร จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้า1 นัด และยิงลงที่พื้นอีก 1 นัด เด็กชายป. ผู้ตายถือไม้ขนาดเท่าแขนวิ่งเข้าไปจะตีจำเลย เหตุเกิดในเวลากลางคืน ภยันตรายที่ละเมิดต่อกฎหมายใกล้จะเกิดกับจำเลยทั้งสองด้าน ในขณะนั้นจำเลยตัวคนเดียวในเวลาที่คับขันไม่อาจคาดหมายได้ว่าภยันตรายจะเกิดขึ้นกับตนนั้นมีมากน้อยเพียงใด จำเลยใช้อาวุธปืนที่อยู่ในมือยิงไปทางเด็กชาย ป. ซึ่งเป็นผู้ที่จะทำให้เกิดภยันตรายต่อจำเลยที่ใกล้ชิดที่สุดก่อนเพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีโอกาสเลือกที่จะป้องกันโดยวิธีอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของกรรมการ/ผู้ถือหุ้น เมื่อกรรมการกระทำผิดต่อบริษัท และการระงับสิทธิฟ้องเนื่องจากการถอนคำร้องทุกข์
ขณะที่ ป. ร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ยักยอกเงินของโจทก์ไปนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด มีป. ก. ส. และจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นกรรมการ โดยจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือ ป. คนใดคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน และประทับตราสำคัญของโจทก์ทำการแทนโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยักยอกเงินของโจทก์บรรดาผู้ถือหุ้นซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับโจทก์นั้นย่อมได้รับความเสียหายโดยนิตินัย ย่อมถือว่า ป. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้เสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1ที่ 2 ฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2),123ประกอบด้วยมาตรา 2(4) ต่อมา ป. ได้ถอนคำร้องทุกข์นั้นดังนั้นไม่ว่า ป. จะดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้น สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องก็ย่อมระงับไปตามมาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาของมารดาจำเลยและจำเลยผู้มีภาวะวิกลจริต การพิจารณาโทษที่เหมาะสม และการรอการลงโทษ
ผู้ร้องแม้จะเป็นมารดาจำเลยและจำเลยจะเป็นผู้วิกลจริตไม่สามารถต่อสู้คดีจริงหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดี และมิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) หรือ (2)จึงไม่อาจยื่นฎีกาเข้ามาในคดีได้ ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 วรรคแรก แต่คดีที่คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้นหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจลงโทษให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ จำเลยกระทำผิดขณะมีอายุ 18 ปีเศษไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ทั้งผู้เสียหายแถลงไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลย สมควรรอการลงโทษจำคุกหรือให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนสมาคม: ต้องเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนที่จดทะเบียนแล้ว
การเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการสมาคมต้องแจ้งแก่นายทะเบียนเพื่อจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้เปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1284 แม้โจทก์ที่ 2 ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมของโจทก์ที่ 1 แต่ก็ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ที่ 2 เป็นนายกสมาคมของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของโจทก์ที่ 1 และแม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะสมาชิกสมาคมโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดที่กระทำต่อสมาคมโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีในความผิด ดังกล่าวในนามของตนเอง
of 11