คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน การถอนฟ้องเพื่อส่งคืนคดี และการรับฟังพยานผู้ต้องหา
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหม อยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการ กรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14 (2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน: การถอนฟ้องเพื่อส่งดำเนินคดีต่อโดยอัยการพลเรือน และการรับฟังพยานผู้มีส่วนร่วม
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหมอยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบกกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการ กรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจทก์และมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไป มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้น และแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่ พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้นหากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผลเชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน, ถอนฟ้องเพื่อส่งดำเนินคดีต่อ, การรับฟังพยานผู้ต้องหาร่วม
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหม อยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการกรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการกรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167-1168/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การพิสูจน์ความประมาทของผู้ตายทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีสองสำนวนซึ่งรวมพิจารณาเข้าด้วยกัน สำนวนแรกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นรับไว้โดยมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยสำนวนที่สองศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องซึ่งตรงกันข้ามกับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
บิดาเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนบุตรซึ่งถึงแก่ความตายว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท ทำให้บุตรโจทก์และบุคคลอื่นถึงแก่ความตายเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เหตุเกิดรถชนกันเพราะผู้ตายซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีส่วนกระทำการโดยประมาทผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้บุพการีย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา5 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167-1168/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การกระทำโดยประมาทของทั้งสองฝ่าย ทำให้ผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
คดีสองสำนวนซึ่งรวมพิจารณาเข้าด้วยกัน สำนวนแรกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นรับไว้โดยมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยสำนวนที่สองศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องซึ่งตรงกันข้ามกับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
บิดาเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนบุตรซึ่งถึงแก่ความตายว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท ทำให้บุตรโจทก์และบุคคลอื่นถึงแก่ความตายเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เหตุเกิดรถชนกันเพราะผู้ตายซึ่งเป็นบุตรโจทก์มีส่วนกระทำการโดยประมาทผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้บุพการีย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา5 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่รถบรรทุกที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
เจ้าของรถยนต์คันที่ผู้ตายขับขี่และเกิดเหตุชนกับรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งซึ่งขับด้วยความประมาทไม่ใช่ผู้เสียหาย หรือผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กาย ตาม ป.อ. มาตรา 291,390 และความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 จึงไม่อาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้ แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมยกปัญหาดังกล่าวไปวินิจฉัยได้ จำเลยขับรถยนต์บรรทุกออกจากไหล่ถนนและเลี้ยวขวาทันทีโดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดู รถที่แล่นมาในช่องทางเดินรถว่ามีรถแล่นมาหรือไม่เป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งขับรถมาในช่องทางดังกล่าว หยุดรถไม่ทันและหักหลบไม่พ้น จึงพุ่งชนท้ายรถจำเลยทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และว.จ.กับอ. ซึ่งนั่งมาในรถที่ผู้ตายขับได้รับอันตรายแก่กายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291,300 ลงโทษบทหนักตามมาตรา 291.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เสียหายที่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง และความประมาทเลินเล่อในการขับรถ
เจ้าของรถยนต์คันที่ผู้ตายขับขี่และเกิดเหตุชนกับรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งซึ่งขับด้วยความประมาทไม่ใช่ผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายแก่กายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 และความผิดตาม พระราชบัญญัติ จราจร พ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 จึงไม่อาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้ แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมยกปัญหาดังกล่าวไปวินิจฉัยได้.
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกออกจากไหล่ถนนและเลี้ยวขวาทันทีโดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังดูรถที่แล่นมาในช่องทางเดินรถว่ามีรถแล่นมาหรือไม่ เป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งขับรถมาในช่องทางดังกล่าว หยุดรถไม่ทันและหักหลบไม่พ้น จึงพุ่งชนท้ายรถจำเลยทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และ ว.จ.กับอ. ซึ่งนั่งมาในรถที่ผู้ตายขับได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 ลงโทษบทหนักตามมาตรา291.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค – การรับแลกเช็คไม่เกินวัตถุประสงค์ – ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงรับจำนำ การที่โจทก์รับแลกเช็คพิพาทไว้นั้นเป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านเงินทุนอันเป็นกิจการที่ผู้ซึ่งประกอบการค้าหรือธุรกิจอย่างอื่นอาจกระทำได้เป็นปกติไม่ถึงกับเป็นการนอกวัตถุประสงค์ เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งมีลายมือชื่อจำเลยลงไว้ในฐานะผู้สั่งจ่ายและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การที่เช็คพิพาทมีตราของบริษัทจำกัดประทับอยู่ด้วยนั้นไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท จำเลยก็ย่อมมีความรับผิดในทางอาญาเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีใช้เอกสารปลอมและแจ้งความเท็จ ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง
จำเลยกับ ด. ได้ร่วมกันนำพินัยกรรมซึ่งมีข้อความว่า ต. เจ้ามรดกยกที่ดินมีโฉนดให้แก่ ด. ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินเชื่อและได้แก้ทะเบียนที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลย แต่ในขณะนั้น ร. ซึ่งอ้างว่าเป็นบุตรของ ต. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่และต่อมาก่อนตาย ร. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวที่อ้างว่าจะได้รับมรดกให้แก่โจทก์ ดังนี้แม้จะฟังว่า ร. เป็นบุตรของ ต. เจ้ามรดก และพินัยกรรมนั้นปลอมแต่ขณะเกิดเหตุการกระทำผิด ร. ยังมีชีวิตอยู่ ร. จึงเป็นผู้เสียหายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 4, 5 และ 6 ไม่ได้ให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมฟ้องคดีแทน ร. ผู้เสียหายได้ดังนั้นเมื่อ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319-2320/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์และการตั้งผู้แทนเฉพาะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนาย ว. นาง ส. ซึ่งอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ว. ไม่ได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ว. จึงมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ และไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ผู้เยาว์
การร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 จะมีได้เฉพาะในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ฯลฯ หรือผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุใดเหตุหนึ่งรวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกับผู้เยาว์ เมื่อโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและสามารถจะทำการตามหน้าที่ได้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 6 ที่จะให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้
of 11