คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319-2320/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์และการตั้งผู้แทนเฉพาะคดี กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมยังมีอำนาจหน้าที่
โจทก์เป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของนาย ว. นาง ส. ซึ่งอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ว. ไม่ได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ว. จึงมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ และไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ผู้เยาว์
การร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 6 จะมีได้เฉพาะในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ฯลฯ หรือผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุใดเหตุหนึ่งรวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกับผู้เยาว์ เมื่อโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและสามารถจะทำการตามหน้าที่ได้กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 6 ที่จะให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้จัดการมรดก: สิทธิฟ้องไม่ตกทอดแม้เป็นผู้รับมรดก
จำเลยกระทำความผิดต่อ ช. เจ้ามรดกในขณะที่ ช.ยังมีชีวิตอยู่ ช.จึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อ ช.ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมของ ช.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทน ช.เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 4, 5 และ 6 ไม่ได้ให้อำนาจโจทก์ไว้ ทั้งสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ตกทอดมายังโจทก์ แม้จะพิจารณาได้ความตามฟ้องว่าทรัพย์มรดกของ ช. ตกได้แก่โจทก์ก็ตาม แต่ทรัพย์มรดกนั้นก็เพิ่งตกมาเป็นของโจทก์ภายหลังวันที่จำเลยกระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่มีการชำระเงินกันเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงหากความผิดเกิดขึ้นก่อนมรณะ
จำเลยกระทำความผิดต่อ ช.เจ้ามรดกในขณะที่ช.ยังมีชีวิตอยู่ ช.จึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อช.ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมของช.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนช. เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 4,5 และ 6 ไม่ได้ให้อำนาจโจทก์ไว้ ทั้งสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ตกทอดมายังโจทก์ แม้จะพิจารณาได้ความตามฟ้องว่าทรัพย์มรดกของ ช.ตกได้แก่โจทก์ก็ตามแต่ทรัพย์มรดกนั้นก็เพิ่งตกมาเป็นของโจทก์ภายหลังวันที่จำเลยกระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการลงโทษที่เหมาะสม: กรณีผู้เสียหายอื่นที่ไม่ใช่โจทก์
บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ ว. ผู้ตาย เป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถจักรยานยนต์ซึ่ง ว. ขับขี่ และมี ป. นั่งซ้อนท้ายเป็นเหตุให้ ว. ถึงแก่ความตาย และ ป.บาดเจ็บสาหัส ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้รวมกับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดอย่างเดียวกัน แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้อุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว แต่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก จึงไม่มีอำนาจฟ้องก็จะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 แล้วปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 291 ซึ่งเป็นบทหนักไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้จัดการแทน ผู้เสียหายในความผิดที่จำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ป. ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 291 บทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้แทนโดยชอบธรรมผู้เสียหาย vs. ผู้จัดการแทนผู้บาดเจ็บสาหัส
บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ ว. ผู้ตาย เป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนรถจักรยานยนต์ซึ่ง ว. ขับขี่ และมี ป. นั่งซ้อนท้ายเป็นเหตุให้ ว. ถึงแก่ความตาย และ ป.บาดเจ็บสาหัส ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้รวมกับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดอย่างเดียวกัน แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้อุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว แต่โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก จึงไม่มีอำนาจฟ้องก็จะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390 แล้วปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 291ซึ่งเป็นบทหนักไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้จัดการแทนผู้เสียหายในความผิดที่จำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ป. ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 291 บทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์ในคดีอาญา: การเข้าร่วมเป็นโจทก์ต้องกระทำโดยผู้แทนตามกฎหมาย
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยบิดาให้ความยินยอมนั้นมิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย เพราะในคดีอาญานั้นผู้เยาว์จะเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3,5 และ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของอำนาจฟ้องเด็กผู้เสียหายในคดีอาญา: การมีส่วนร่วมของเด็กต้องเป็นไปตามกฎหมาย
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโดยบิดาให้ความยินยอมนั้นมิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่า ด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย เพราะในคดีอาญานั้นผู้เยาว์จะเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3, 5 และ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทน นิติบุคคล หากไม่ได้มอบอำนาจชัดเจน
หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทน นิติบุคคลนั้นซึ่งเป็นผู้เสียหาย
คำร้องทุกข์ที่ไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าร้องทุกข์แทนนิติบุคคลหรือได้รับมอบอำนาจมาให้ร้องทุกข์แทน ต้องถือว่าร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว
ใบมอบอำนาจซึ่งมีข้อความชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ดำเนินการแทน เฉพาะการฟ้องร้องคดีต่อศาลย่อมไม่รวมถึงการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาหลังเจ้าของสิทธิเสียชีวิต: ผู้รับมรดกไม่มีอำนาจฟ้องแทน หากการกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนได้รับมรดก
จำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดินในขณะที่มารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดนั้นยังมีชีวิตอยู่มารดาโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินตามโฉนดนั้นเพิ่งทราบการกระทำของจำเลยหลังจากที่มารดาโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ สั่งจำคุกเพื่อระงับภัยคุกคามความมั่นคง: การใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครอง
ถ้อยคำในมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่ว่า'.....ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฯลฯ' นั้น ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุกก็ทำได้ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรฯ
เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งว่า การกระทำของผู้ร้องที่ร่วมกันมียาปลอมไว้ขายและปลอมยาของผู้อื่น เป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรให้จำคุกผู้ร้องไว้นั้นผู้ร้องจะเถียงว่าการกระทำของผู้ร้องไม่ถึงกับเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หาได้ไม่ เพราะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีสั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย และไม่มีบทกฎหมายใดให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีในกรณีเช่นนี้ได้ เว้นแต่มตินั้นเป็นการกระทำนอกเหนือความในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
มาตรา 17 บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้น ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฉะนั้นที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17จึงไม่ขัดต่อ มาตรา 5 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร อีกทั้งการวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวก็หาขัดต่อมาตรา 20 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแต่อย่างใดไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ในธรรมนูญนี้ไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีนี้ได้ จึงจะต้องวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
of 11