คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกทรัพย์ของพนักงาน – อำนาจฟ้อง – ความผิดส่วนตัว vs. ความผิดที่อัยการฟ้องเองได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอกทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314, 319 (1) (3), 63 โดยบรรยายฟ้องวา จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพัสดุประจำแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานช่างปรับซ่อมเครื่องยนต์และอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากนายช่างโทกำกับแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นพนักงานพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุต่าง ๆรวมทั้งหม้อน้ำรถยนต์ 3 ใบ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อจำเลยเอาหม้อน้ำรถยนต์ไปขายแล้วยักยอกเงินนั้นเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (1) อันเป็นความผิดส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยที่ 2 อัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ความผิดยักยอกทรัพย์โดยพนักงาน-ลูกจ้าง และการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอกทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314,319(1)(3),63 โดยบรรยายฟ้องว่า "จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพัสดุประจำแขวงการทางจังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานช่างปรับซ่อมเครื่องยนต์และอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากนายช่างโทกำกับแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นพนักงานพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุต่างๆรวมทั้งหม้อน้ำรถยนต์ 2 ใบ ฯลฯ" ดังนี้ เมื่อจำเลยเอาหม้อน้ำรถยนต์ไปขายแล้วยักยอกเงินนั้นเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319(1) อันเป็นความผิดส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยที่ 2 อัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องคดีอาญาแทนกันได้ ผู้เสียหายมอบอำนาจได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
ผู้เสียหายไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ย่อมมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแทนได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2503) (ดูเทียบกับฎีกาที่ 755/2502 ซึ่งวินิจฉัยว่า การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้)
้เมื่อผู้เสียหายมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแล้ว ผู้ที่รับมอบอำนาจก็ย่อมลงชื่อในฟ้องแทนโจทก์ได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 158 ข้อ (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจร้องทุกข์: หลักเกณฑ์การมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจ
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่อง ให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า(กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์เจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์โดยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่าให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจในการร้องทุกข์อาญา: หลักเกณฑ์และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจที่ใช้ได้
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่องให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5 มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า (กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร เป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่า ไม่ใช่คำร้องทุกข์ โดยตนเองตามป.วิ.อ. มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่า ให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมผู้เยาว์: ความสามารถในการฟ้อง, การแก้ไขฟ้อง, และข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง
ในคดีอาญาผู้เยาว์ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยลำพัง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแล้ว ต่อมาคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ฎีกาศาลอุทธรณ์ฎีกาจะยกฟ้องหรือไม่รับวินิจฉัยฟ้องของผู้เยาว์เสียทีเดียวยังไม่ได้ ต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อน แต่อย่างไรก็ดีหากศาลอุทธรณ์ฎีกาเห็นว่าแม้จะได้ให้แก้ไขเรื่องความสามารถให้สมบูรณ์แล้วก็ดี แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏแล้วนั้นไม่อาจมีทางที่ศาลจะแก้ไขให้เป็นไปตามอุทธรณ์ฎีกาของผู้เยาว์ได้แล้วศาลอุทธรณ์ฎีกาจะพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ฎีกาของผู้เยาว์เสียเลยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมของผู้เยาว์ในคดีอาญา และการแก้ไขฟ้องให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ในคดีอาญาผู้เยาว์ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยลำพัง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแล้ว ต่อมาคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ ฎีกา ๆ จะยกฟ้องหรือมไม่รับวินิจฉัยฟ้องของผู้เยาว์เสียทีเดียวยังไม่ได้ ต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อน แต่อย่างไรก็ดีหากศาลอุทธรณ์ ฎีกา เห็นว่าจะได้ให้แก้ไขเรื่องความสามารถให้สมบูรณ์แล้วก็ดี แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฎแล้วนั้นไม่อาจมีทางที่ศาลจะแก้ไขให้เป็นไปตามอุทธรณ์ฎีกาของผู้เยาว์ได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ฎีกาจะพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ฎีกาของผู้เยาว์เสียเลยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมของผู้เยาว์ และขอบเขตการแก้ไขฟ้องในคดีอาญา
ในคดีอาญาผู้เยาว์ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยลำพัง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแล้ว ต่อมาคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ฎีกาศาลอุทธรณ์ฎีกาจะยกฟ้องหรือไม่รับวินิจฉัยฟ้องของผู้เยาว์เสียทีเดียวยังไม่ได้ ต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อน แต่อย่างไรก็ดีหากศาลอุทธรณ์ฎีกาเห็นว่าแม้จะได้ให้แก้ไขเรื่องความสามารถให้สมบูรณ์แล้วก็ดี แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏแล้วนั้นไม่อาจมีทางที่ศาลจะแก้ไขให้เป็นไปตามอุทธรณ์ฎีกาของผู้เยาว์ได้แล้วศาลอุทธรณ์ฎีกาจะพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ฎีกาของผู้เยาว์เสียเลยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา: การร้องทุกข์โดยผู้เสียหายและผู้ปกครอง
ในคดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กนั้น เมื่อเด็กผู้เสียหายพร้อมด้วยบิดาเลี้ยงซึ่งเป็นผู้ปกครองในขณะนั้น ได้มาร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานในฐานะผู้เสียหาย และเจ้าพนักงานได้สอบสวนถ้อยคำไว้ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา: การร้องทุกข์โดยเด็กผู้เสียหายและผู้ปกครอง
ในคดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กนั้น เมื่อเด็กผู้เสียหายพร้อมด้วยบิดาเลี้ยงซึ่งเป็นผู้ปกครองในขณะนั้น ได้มาร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานในฐานนะผู้เสียหาย และเจ้าพนักงานได้สอบสวนถ้อยคำไว้ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน
of 11