พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3095/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่อเนื่อง: บุกรุก-ฉุดคร่า-ข่มขืน ศาลพิจารณาเป็นกรรมเดียวหรือไม่
การบุกรุกเข้าไปในบ้านในเวลากลางคืนแล้วฉุดคร่าผู้เยาว์พาหนีไปเพื่อการอนาจารในลักษณะเป็นการพรากผู้เยาว์ด้วยนั้น มิใช่การกระทำ 3 กรรม เพราะการบุกรุกเข้าไปโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลคือการฉุดคร่าผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารได้กระทำขึ้นในคราวเดียวกัน พร้อมกัน จึงเป็นกรรมเดียวกัน ซึ่งเป็นความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365, 284 กรรมหนึ่ง และเป็นการพรากผู้เยาว์ตาม มาตรา 318 อีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3064/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาการแจ้งคำบังคับและการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่ล่าช้า
ในการขอให้พิจารณาใหม่นั้น เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดการอย่างใด ๆ ไว้เลย เพียงแต่มีคำสั่งให้ส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดา หากไม่พบหรือไม่มีผู้รับก็ให้ปิดคำบังคับได้ จึงเป็นเรื่องให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 หากมีการปิดคำบังคับก็จะมีผลใช้ได้ และถือว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับหลังจากเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้ว 15 วัน
เมื่อส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยใช้วิธีปิดคำบังคับในวันที่ 17 ธันวาคม 2524 จึงมีผลเท่ากับจำเลยได้ทราบคำบังคับในวันที่ 2 มกราคม 2525 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วันซึ่งครบกำหนดในวันที่ 16 มกราคม 2525 แต่จำเลยมายื่นในวันที่ 28 มกราคม 2525 จึงเป็นการยื่นเมื่อล่วงพ้นกำหนด 15 วันนับแต่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
เมื่อส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยใช้วิธีปิดคำบังคับในวันที่ 17 ธันวาคม 2524 จึงมีผลเท่ากับจำเลยได้ทราบคำบังคับในวันที่ 2 มกราคม 2525 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วันซึ่งครบกำหนดในวันที่ 16 มกราคม 2525 แต่จำเลยมายื่นในวันที่ 28 มกราคม 2525 จึงเป็นการยื่นเมื่อล่วงพ้นกำหนด 15 วันนับแต่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3064/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังการส่งคำบังคับโดยวิธีปิดคำบังคับ
ในการขอให้พิจารณาใหม่นั้น เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดการอย่างใดๆ ไว้เลย เพียงแต่มีคำสั่งให้ส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดา หากไม่พบหรือไม่มีผู้รับก็ให้ปิดคำบังคับได้จึงเป็นเรื่องให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 หากมีการปิดคำบังคับก็จะมีผลใช้ได้ และถือว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับหลังจากเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้ว 15 วัน
เมื่อส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยใช้วิธีปิดคำบังคับในวันที่ 17 ธันวาคม 2524 จึงมีผลเท่ากับจำเลยได้ทราบคำบังคับในวันที่ 2 มกราคม 2525 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วันซึ่งครบกำหนดในวันที่ 16 มกราคม 2525 แต่จำเลยมายื่นในวันที่ 28 มกราคม2525 จึงเป็นการยื่นเมื่อล่วงพ้นกำหนด 15 วันนับแต่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
เมื่อส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยใช้วิธีปิดคำบังคับในวันที่ 17 ธันวาคม 2524 จึงมีผลเท่ากับจำเลยได้ทราบคำบังคับในวันที่ 2 มกราคม 2525 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วันซึ่งครบกำหนดในวันที่ 16 มกราคม 2525 แต่จำเลยมายื่นในวันที่ 28 มกราคม2525 จึงเป็นการยื่นเมื่อล่วงพ้นกำหนด 15 วันนับแต่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธจนเป็นอันตรายสาหัส ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม ไม่รับฟังเหตุบันดาลโทสะและข้อต่อสู้เรื่องการชุลมุน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
เหตุเกิดขึ้นเพราะฝ่ายโจทก์ร่วมกับจำเลยทะเลาะวิวาทด่าว่าแล้วท้าทายกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมการที่จำเลยทำร้ายโจทก์ร่วม จึงไม่ใช่ลักษณะที่ทำไปเพราะบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
โจทก์ร่วมถูกฟันด้วยมีด มีบาดแผลฉีกขาด ขอบเรียบที่ต้นแขนปลายแขน ส่วนบนและบริเวณข้อมือขวารวม 3 แห่งขนาดบาดแผลยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกผ่านชั้นกล้ามเนื้อแขนและตัดผ่านประสาทที่ไปเลี้ยงแขนต้องรักษาตัว 2 เดือนเศษจึงหายเป็นปกติแต่ทำงานหนักไม่ได้ ลักษณะบาดเจ็บของโจทก์ร่วมดังกล่าวถึงอันตรายสาหัสต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 (8) แล้ว
โจทก์ร่วมวิ่งตามนาง พ. ไปเห็นจำเลยตบหน้านาง พ. แล้วเงื้อมีดดาบจะฟัน โจทก์ร่วมจึงผลักนาง พ. ให้พ้นทางไป ขณะนั้นเองจำเลยก็ฟันถูกโจทก์ร่วมถึง 3 ครั้งลักษณะการทำร้ายของจำเลยดังกล่าวมิใช่เนื่องในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299
เหตุเกิดขึ้นเพราะฝ่ายโจทก์ร่วมกับจำเลยทะเลาะวิวาทด่าว่าแล้วท้าทายกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมการที่จำเลยทำร้ายโจทก์ร่วม จึงไม่ใช่ลักษณะที่ทำไปเพราะบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
โจทก์ร่วมถูกฟันด้วยมีด มีบาดแผลฉีกขาด ขอบเรียบที่ต้นแขนปลายแขน ส่วนบนและบริเวณข้อมือขวารวม 3 แห่งขนาดบาดแผลยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกผ่านชั้นกล้ามเนื้อแขนและตัดผ่านประสาทที่ไปเลี้ยงแขนต้องรักษาตัว 2 เดือนเศษจึงหายเป็นปกติแต่ทำงานหนักไม่ได้ ลักษณะบาดเจ็บของโจทก์ร่วมดังกล่าวถึงอันตรายสาหัสต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 (8) แล้ว
โจทก์ร่วมวิ่งตามนาง พ. ไปเห็นจำเลยตบหน้านาง พ. แล้วเงื้อมีดดาบจะฟัน โจทก์ร่วมจึงผลักนาง พ. ให้พ้นทางไป ขณะนั้นเองจำเลยก็ฟันถูกโจทก์ร่วมถึง 3 ครั้งลักษณะการทำร้ายของจำเลยดังกล่าวมิใช่เนื่องในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธอันตราย ศาลยืนตามข้อวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เรื่องบาดแผลสาหัสและเหตุบันดาลโทสะ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
เหตุเกิดขึ้นเพราะฝ่ายโจทก์ร่วมกับจำเลยทะเลาะวิวาทด่าว่าแล้วท้าทายกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมการที่จำเลยทำร้ายโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ลักษณะที่ทำไปเพราะบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
โจทก์ร่วมถูกฟันด้วยมีด มีบาดแผลฉีกขาด ขอบเรียบที่ต้นแขน ปลายแขน ส่วนบนและบริเวณข้อมือขวารวม 3 แห่งขนาดบาดแผลยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกผ่านชั้นกล้ามเนื้อแขนและตัดผ่านประสาทที่ไปเลี้ยงแขนต้องรักษาตัว 2 เดือนเศษ จึงหายเป็นปกติแต่ทำงานหนักไม่ได้ ลักษณะบาดเจ็บของโจทก์ร่วมดังกล่าวถึงอันตรายสาหัสต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) แล้ว
โจทก์ร่วมวิ่งตามนาง พ.ไปเห็นจำเลยตบหน้านางพ. แล้วเงื้อมีดดาบจะฟัน โจทก์ร่วมจึงผลักนาง พ. ให้พ้นทางไป ขณะนั้นเองจำเลยก็ฟันถูกโจทก์ร่วมถึง 3 ครั้งลักษณะการทำร้ายของจำเลยดังกล่าวมิใช่เนื่องในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299
เหตุเกิดขึ้นเพราะฝ่ายโจทก์ร่วมกับจำเลยทะเลาะวิวาทด่าว่าแล้วท้าทายกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมการที่จำเลยทำร้ายโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ลักษณะที่ทำไปเพราะบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
โจทก์ร่วมถูกฟันด้วยมีด มีบาดแผลฉีกขาด ขอบเรียบที่ต้นแขน ปลายแขน ส่วนบนและบริเวณข้อมือขวารวม 3 แห่งขนาดบาดแผลยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกผ่านชั้นกล้ามเนื้อแขนและตัดผ่านประสาทที่ไปเลี้ยงแขนต้องรักษาตัว 2 เดือนเศษ จึงหายเป็นปกติแต่ทำงานหนักไม่ได้ ลักษณะบาดเจ็บของโจทก์ร่วมดังกล่าวถึงอันตรายสาหัสต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) แล้ว
โจทก์ร่วมวิ่งตามนาง พ.ไปเห็นจำเลยตบหน้านางพ. แล้วเงื้อมีดดาบจะฟัน โจทก์ร่วมจึงผลักนาง พ. ให้พ้นทางไป ขณะนั้นเองจำเลยก็ฟันถูกโจทก์ร่วมถึง 3 ครั้งลักษณะการทำร้ายของจำเลยดังกล่าวมิใช่เนื่องในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลบังคับใช้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และการต่อสัญญาโดยปริยาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทลงวันเดียวกัน 4 ฉบับมีกำหนด 10 ปี สามฉบับแรกมีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ 3 ปี ฉบับสุดท้ายมีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับเพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 เมื่อสัญญาเช่าฉบับแรกสิ้นกำหนดแล้ว การที่จำเลยยังอยู่ในตึกพิพาทและโจทก์ไม่ทักท้วงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตามมาตรา 570 เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าเป็นอันระงับตามมาตรา 566 จำเลยต้องออกจากตึกพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน สิทธิการเช่าสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด การไม่ทักท้วงถือเป็นการทำสัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทลงวันเดียวกัน 4 ฉบับมีกำหนด 10 ปี สามฉบับแรกมีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ 3ปี ฉบับสุดท้ายมีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับเพียง 3ปีตามสัญญาเช่าฉบับแรกเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 เมื่อสัญญาเช่าฉบับแรกสิ้นกำหนดแล้ว การที่จำเลยยังอยู่ในตึกพิพาทและโจทก์ไม่ทักท้วงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตามมาตรา 570 เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าเป็นอันระงับตามมาตรา 566 จำเลยต้องออกจากตึกพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา: อำนาจศาลและขั้นตอนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า 'ศาล' ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่มีบิดามารดาให้ความยินยอม: อำนาจศาลและประมวลกฎหมายแพ่ง
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า "ศาล" ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่ง เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/21 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: ศาลจำกัดระยะเวลาค่าใช้ทรัพย์เพื่อป้องกันการชดใช้เกินอายุการใช้งาน
เมื่อผิดสัญญาเช่าซื้อ การกำหนดค่าใช้ทรัพย์รายเดือนจนกว่าจะส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อ หรือชำระราคาโดยมิได้จำกัดระยะเวลาไว้ อาจทำให้ผู้เช่าซื้อได้รับค่าใช้ทรัพย์เกินกว่าอายุการใช้และค่าของทรัพย์ที่เช่าซื้อได้ จึงต้องกำหนดระยะเวลาไว้ไม่ให้เกินกว่าอายุการใช้และค่าของทรัพย์นั้น