พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มอากรศุลกากร: การเรียกเก็บเงินเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี และการไม่อุทธรณ์ดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้าแก่จำเลย ให้จำเลยนำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด 30 วันตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 112 ทวิ มิฉะนั้นจะถูกเรียกเงินอีกร้อยละ 20 ของค่าอากรที่ต้องชำระหรือชำระเพิ่มเติมมาตรา 112 ตรี จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว ไม่นำเงินค่าภาษีมาชำระภายในกำหนด กรมศุลกากรมีคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 3/2525 ข้อ 1.5 มีใจความว่า ถ้าผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินภาษีอากรมาชำระเกินกำหนด 3เดือน ขึ้นไปนับแต่วันที่ครบกำหนด 30 วัน จากวันที่ได้รับแจ้งให้เรียกเงินเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ ทุกรายคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรดังกล่าว อธิบดีกรมศุลกากรก็ต้องเป็นผู้ออกคำสั่งนั้นทั้งตามมาตรา 112 ตรี ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าให้อธิบดีกรมศุลกากร หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ต้องทำเป็นหนังสือเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากผู้นำของเข้าโดยตรงทุกรายดังนั้น การส่งแบบแจ้งการประเมินดังกล่าว ฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ทั้งไม่ปรากฏว่า การใช้ดุลพินิจของพนักงานประเมินที่กระทำในฐานะผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นการไม่ชอบ และทางฝ่ายจำเลยก็มิได้มีพฤติการณ์อย่างใดที่สมควรจะให้งดเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเรียกเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรที่ต้องนำมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละ 20
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม รวมกับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ถึงแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ตรีบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่ต้องชำระและมาตรา 112 จัตวา บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่มเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสีย และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มจนถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระทั้งสิ้น 290,961 บาท 53 สตางค์คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จดังนี้ถือได้ว่าโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม รวมกับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ถึงแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ตรีบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่ต้องชำระและมาตรา 112 จัตวา บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่มเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 ของอากรที่ต้องเสีย และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มจนถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระทั้งสิ้น 290,961 บาท 53 สตางค์คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จดังนี้ถือได้ว่าโจทก์มิได้ขอให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีอากรที่ต้องเสียเพิ่มนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3339/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาจะซื้อขายผ่านตัวแทนไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้มีสัญญาซื้อขายเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลัง
การตั้งตัวแทนให้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้มีการวางมัดจำกันไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด แม้ต่อมาจะได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสืออีกก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3339/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาจะซื้อขายโดยผ่านตัวแทน และผลของการโอนขายให้ตัวการตามสัญญา
การตั้งตัวแทนให้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้มีการวางมัดจำกันไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด แม้ต่อมาจะได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสืออีกก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดฐานใช้เอกสารปลอม - การใช้เอกสารปลอมหลายฉบับโดยเจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว
จำเลยนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมและสำเนาภาพถ่ายเอกสารใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ปลอมไปใช้และแสดงต่อเจ้าพนักงานในเวลาเดียวกัน โดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะได้ใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวจากการใช้เอกสารปลอมหลายฉบับเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงาน
จำเลยนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมและสำเนาภาพถ่ายเอกสารใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ปลอม ไปใช้และแสดงต่อเจ้าพนักงานในเวลาเดียวกัน โดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้อง เพื่อจำเลยจะได้ใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย และการพิจารณาเหตุผลที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจผิดพลาดในการอนุญาต/ไม่อนุญาตเลื่อนคดี
วันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุพยานไม่มาศาล พร้อมกับแถลงว่าในนัดหน้าจะสืบพยานเท่าที่มาให้เสร็จในนัดเดียว ไม่ติดใจสืบพยานที่ไม่มาและจะไม่ขอเลื่อนคดีอีก ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีไป ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไม่มาศาล แต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุทนายจำเลยป่วยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง โดยไม่ได้อ้างว่าพยานจำเลยป่วย โจทก์คัดค้านเพียงว่าในนัดที่แล้วจำเลยแถลงว่าไม่ติดใจสืบพยานหากไม่มีพยานมาศาล ไม่ได้คัดค้านโดยตรงว่าทนายจำเลยไม่ป่วย หรือคำร้องของทนายจำเลยไม่เป็นความจริงจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริง นับได้ว่ากรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: ศาลต้องพิจารณาจากเหตุผลที่จำเลยขอเลื่อนจริง และโจทก์ไม่ได้โต้แย้ง
วันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุพยานไม่มาศาล พร้อมกับแถลงว่าในนัดหน้าจะสืบพยานเท่าที่มาให้เสร็จในนัดเดียว ไม่ติดใจสืบพยานที่ไม่มาและจะไม่ขอเลื่อนคดีอีก ศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีไป ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไม่มาศาล แต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุทนายจำเลยป่วยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง โดยไม่ได้อ้างว่าพยานจำเลยป่วย โจทก์คัดค้านเพียงว่าในนัดที่แล้วจำเลยแถลงว่าไม่ติดใจสืบพยานหากไม่มีพยานมาศาล ไม่ได้คัดค้านโดยตรงว่าทนายจำเลยไม่ป่วย หรือคำร้องของทนายจำเลยไม่เป็นความจริงจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริง นับได้ว่ากรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของอิหม่าม-บิหลั่น และความผิดฐานหมิ่นประมาทจากการใส่ความต่อหน้าสาธารณชน
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานก่อความวุ่นวายในการกระทำพิธีกรรมตามศาสนาหรือไม่นั้น การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นอิหม่ามและบิหลั่นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองดำรงตำแหน่งดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่งถึงขณะเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 ประกาศทางเครื่องขยายเสียงต่อหน้าสัปปุรุษทั้งหลายในมัสยิดโดยใส่ความโจทก์ว่าเป็นอิหม่ามและบิหลั่นเถื่อนได้หลอกลวงสัปปุรุษมานานแล้ว เป็นการทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ทั้งมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตาม ป.อ. มาตรา 329 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม มาตรา328.
จำเลยที่ 2 ประกาศทางเครื่องขยายเสียงต่อหน้าสัปปุรุษทั้งหลายในมัสยิดโดยใส่ความโจทก์ว่าเป็นอิหม่ามและบิหลั่นเถื่อนได้หลอกลวงสัปปุรุษมานานแล้ว เป็นการทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ทั้งมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตาม ป.อ. มาตรา 329 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม มาตรา328.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของอิหม่าม-บิหลั่น และความผิดฐานหมิ่นประมาทจากการกล่าวหาเท็จต่อหน้าสาธารณชน
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานก่อความวุ่นวายในการกระทำพิธี กรรมตามศาสนาหรือไม่นั้น การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นอิหม่าม และบิหลั่นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองดำรง ตำแหน่งดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่งถึงขณะเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 2 ประกาศทางเครื่องขยายเสียงต่อหน้าสัปบรุษ ทั้งหลายในมัสยิดโดยใส่ความโจทก์ว่าเป็นอิหม่าม และบิหลั่นเถื่อน ได้หลอกลวงสัปบรุษ มานานแล้ว เป็นการทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ทั้งมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามป.อ. มาตรา 329 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม มาตรา 328.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3065/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน: การพิพากษาคดีชิงทรัพย์ที่ขัดแย้งกัน และผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือคำเบิกความ
ผู้เสียหายถูกคนร้ายชิงทรัพย์ ผู้เสียหายเบิกความในคดีนี้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ตีศีรษะและใช้มีดจี้ปลดทรัพย์ของผู้เสียหาย ระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ส. กล่าวหาว่าเป็นคนร้ายชิงทรัพย์ผู้เสียหายในวันเวลาเดียวกันกับคดีนี้ ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้อง ส. เป็นจำเลยในข้อหาเดียวกันกับคดีนี้ ส. ให้การรับสารภาพ ผู้เสียหายเบิกความในคดีดังกล่าวว่า ส. เป็นคนร้ายกระทำการเช่นเดียวกับที่เบิกความว่าจำเลยคดีนี้กระทำในขณะเดียวกัน เมื่อศาลคดีดังกล่าวฟังว่า ส. เป็นคนร้ายและพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดแล้ว ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยเป็นคนร้ายคดีนี้จึงฟังไม่ได้.