คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำริ ศุภพิโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การอธิบายความหมายถ้อยคำไม่ถือเป็นยืนยันข้อเท็จจริง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องที่ไม่เป็นเท็จและการไม่มีเจตนาหมิ่นประมาท ไม่ถือเป็นความผิดฟ้องเท็จหรือหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยแล้วแสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศคือ "ถ้อยคำพูด" ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้นเมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเบิกความเท็จไม่ชอบ เหตุคำฟ้องไม่ระบุรายละเอียดข้อกล่าวหาและข้อความเท็จในคดีก่อน
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานเบิกความเท็จ ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แม้ระบุเลขคดีและชื่อคู่ความของคดีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ แต่ไม่ได้ระบุว่าคดีดังกล่าวมีข้อกล่าวหากันอย่างไร และข้อความที่อ้างว่าเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร อันเป็นเหตุให้โจทก์ถูกศาลลงโทษ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 158(5).(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในชั้นสอบสวนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา หากมีพยานหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ความผิดได้
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่มาปฏิเสธชั้นศาลและอ้างว่าชั้นสอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจนำเอากระดาษซึ่งพิมพ์ข้อความอยู่แล้วมาให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีประจักษ์พยาน 7 ปากเบิกความยืนยันเป็นที่สอดคล้องต้องกันว่าสามารถจดจำหน้าจำเลยได้อย่างแม่นยำแน่นอนโดยไม่มีทางผิดพลาดเป็นอย่างอื่นไปได้ และมีพยานแวดล้อมกรณีประกอบแน่นหนามั่นคงถึงแม้ว่าจำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน ศาลก็ย่อมรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวลงโทษจำเลยได้แล้ว เช่นนี้ คำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา คดีไม่มีเหตุจะลดโทษให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนมีผลต่อการลดโทษหรือไม่ หากมีพยานหลักฐานอื่นเพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องอาศัยคำรับสารภาพ
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่มาปฏิเสธชั้นศาลและอ้างว่าชั้นสอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจนำเอากระดาษซึ่งพิมพ์ข้อความอยู่แล้วมาให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีประจักษ์พยาน 7 ปากเบิกความยืนยันเป็นที่สอดคล้องต้องกันว่าสามารถจดจำหน้าจำเลยได้อย่างแม่นยำแน่นอนโดยไม่มีทางผิดพลาดเป็นอย่างอื่นได้ และมีพยานแวดล้อมกรณีประกอบแน่นหนามั่นคง ถึงแม้ว่าจำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนศาลก็ย่อมรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวลงโทษจำเลยได้แล้ว เช่นคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา คดีไม่มีเหตุจะลดโทษให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง และการลงโทษฐานทำร้ายร่างกายเมื่อพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ดังนั้น ข้อหาฐานพยายามฆ่าผู้อื่นจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ซึ่งโจทก์หาได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ จึงลงโทษจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวมิได้ ด้วยมิใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันตามสัญญาประกันภัย กรณีศาลไม่อาจส่งหมายนัดได้เนื่องจากที่อยู่ไม่ถูกต้อง
ผู้ประกันระบุที่อยู่ตามคำร้องขอปล่อยชั่วคราวและคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกันคนละแห่งกัน และผู้ประกันมิได้แจ้งเหตุผลหรือแถลงให้ได้ความชัดว่าที่อยู่ที่แท้จริงอยู่แห่งใด เมื่อไม่อาจติดต่อผู้ประกันโดยวิธีส่งหมายนัดและปิดหมายได้ จนต้องมีการปิดประกาศวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ที่หน้าศาลถือได้ว่าผู้ประกันทราบนัดโดยชอบแล้ว ผู้ประกันไม่นำตัวผู้ถูกกล่าวหามาส่งศาลตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกัน.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดใช้เช็ค: เริ่มนับเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่แค่วันที่เช็คถึงกำหนด
โจทก์เพียงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า บัญชีของจำเลยมีเงินพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ โดยโจทก์มิได้ยื่นเช็คพิพาทต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินยังถือไม่ได้ว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทในวันนั้น ความผิดของจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเป็นความผิดในวันที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินภายหลังและธนาคารแจ้งการปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คต่อโจทก์ ซึ่งนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 3 เดือน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดใช้เช็ค: เริ่มนับเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่แค่วันที่เช็คถึงกำหนด
โจทก์เพียงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า บัญชีของจำเลยมีเงินพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ โดยโจทก์มิได้ยื่นเช็คพิพาทต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน ยังถือไม่ได้ว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทในวันนั้นความผิดของจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเป็นความผิดในวันที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินภายหลังและธนาคารแจ้งการปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คต่อโจทก์ ซึ่งนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 3 เดือน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดเช็ค: เริ่มนับเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่แค่วันที่เช็คถึงกำหนด
โจทก์เพียงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า บัญชีของจำเลยมีเงินพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ โดยโจทก์มิได้ยื่นเช็คพิพาทต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินยังถือไม่ได้ว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทในวันนั้น ความผิดของจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเป็นความผิดในวันที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินภายหลังและธนาคารแจ้งการปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คต่อโจทก์ ซึ่งนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 3 เดือน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
of 104