คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำริ ศุภพิโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนทางธุรกิจและการรับผิดในหนี้จากการสั่งซื้อสินค้า แม้มีการเช่าดำเนินงาน
ชื่อโอเชี่ยนวิวเป็นชื่อในทางการค้าของบริษัทจำเลย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โรงแรมโอเชี่ยนวิว จำเลยให้ผู้อื่นเช่าโรงแรมโอเชี่ยนวิว และบังคับให้ผู้เช่าใช้ชื่อเดิม จนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวเป็นกิจการของจำเลย ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่บริษัทจำเลยแสดงออกแก่โจทก์และบุคคลทั่วไปว่าการดำเนินกิจการโรงแรมเป็นกิจการของบริษัทจำเลยเอง จึงเป็นการเชิดผู้เช่าเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ดังนั้น เมื่อผู้เช่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และไม่ชำระราคาบริษัทจำเลยจะยกเหตุแห่งการเช่าระหว่างกันเองมาเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตหาได้ไม่ หนังสือขอผัดผ่อนการชำระหนี้มีข้อความยอมรับว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ซึ่งมีหนี้จำนวนเดียวเท่านั้น ลงชื่อโดยผู้แทนโรงแรมโอเชี่ยนวิว ซึ่งดำเนินกิจการโดยผู้เช่าโรงแรมที่บริษัทจำเลยเชิดขึ้นเป็นตัวแทน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 จำเลยจึงต้องผูกพันตามหนังสือดังกล่าวต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาโดยชอบและผลของการผูกพันตามหนี้จากการเชิดผู้เช่าเป็นตัวแทน
ชื่อโอเชี่ยนวิวเป็นชื่อในทางการค้าของบริษัทจำเลย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โรงแรมโอเชี่ยนวิว จำเลยให้ผู้อื่นเช่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวและบังคับให้ผู้เช่าใช้ชื่อเดิม จนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวเป็นกิจการของจำเลย ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่บริษัทจำเลยแสดงออกแก่โจทก์และบุคคลทั่วไปว่าการดำเนินกิจการโรงแรมเป็นกิจการของบริษัทจำเลยเอง จึงเป็นการเชิดผู้เช่าเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ดังนั้น เมื่อผู้เช่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และไม่ชำระราคาบริษัทจำเลยจะยกเหตุแห่งการเช่าระหว่างกันเองมาเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตหาได้ไม่
หนังสือขอผัดผ่อนการชำระหนี้มีข้อความยอมรับว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ซึ่งมีหนี้จำนวนเดียวเท่านั้น ลงชื่อโดยผู้แทนโรงแรมโอเชี่ยนวิว ซึ่งดำเนินกิจการโดยผู้เช่าโรงแรมที่บริษัทจำเลยเชิดขึ้นเป็นตัวแทน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 จำเลยจึงต้องผูกพันตามหนังสือดังกล่าวต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนทางพฤติการณ์ และหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ไม่มีสัญญาตั้งตัวแทน
ชื่อโอเชี่ยนวิวเป็นชื่อในทางการค้าของบริษัทจำเลย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โรงแรมโอเชี่ยนวิว จำเลยให้ผู้อื่นเช่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวและบังคับให้ผู้เช่าใช้ชื่อเดิม จนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวเป็นกิจการของจำเลย ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่บริษัทจำเลยแสดงออกแก่โจทก์และบุคคลทั่วไปว่าการดำเนินกิจการโรงแรมเป็นกิจการของบริษัทจำเลยเอง จึงเป็นการเชิดผู้เช่าเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ดังนั้น เมื่อผู้เช่าโรงแรมโอเชี่ยนวิวสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และไม่ชำระราคาบริษัทจำเลยจะยกเหตุแห่งการเช่าระหว่างกันเองมาเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตหาได้ไม่
หนังสือขอผัดผ่อนการชำระหนี้มีข้อความยอมรับว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ซึ่งมีหนี้จำนวนเดียวเท่านั้น ลงชื่อโดยผู้แทนโรงแรมโอเชี่ยนวิว ซึ่งดำเนินกิจการโดยผู้เช่าโรงแรมที่บริษัทจำเลยเชิดขึ้นเป็นตัวแทน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 จำเลยจึงต้องผูกพันตามหนังสือดังกล่าวต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้กระทำผิดเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ต้องมีกฎหมายกำหนดโทษโดยชัดเจน
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้ พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 7 วรรคสุดท้ายมีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7(4) นั้น ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น มิได้ให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด จึงจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 72 ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ เมื่อมีผู้กระทำผิดการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล จึงขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดนั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษการกระทำผิดเลือกตั้งสุขาภิบาลต้องมีกฎหมายกำหนดโทษโดยเฉพาะ การนำบทบัญญัติกฎหมายอื่นมาใช้โดยอนุโลมไม่ได้
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้ พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 7 วรรคสุดท้ายมีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา 7(4)นั้น ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นมิได้ให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด จึงจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 72ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ เมื่อมีผู้กระทำผิดการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล จึงขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดนั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน - การรับอาวัล - ดอกเบี้ย - สิทธิผู้ทรง - ความรับผิดของผู้รับอาวัล
ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมิได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ เมื่อถึงกำหนดชำระผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเอาดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดชำระจากบรรดาผู้สลักหลังผู้ออกตั๋วและบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นผู้ทรงก็ย่อมมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้ในอัตราเพียงร้อยละห้าต่อปีจากผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งต้องร่วมกันรับผิดกับบุคคลดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน อัตราตามกฎหมายเมื่อไม่ระบุ
ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมิได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ เมื่อถึงกำหนดชำระผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเอาดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละห้าต่อปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดชำระจากบรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่ายและบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ผู้ทรงก็ย่อมมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้ในอัตราเพียงร้อยละห้าต่อปีจากผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งต้องร่วมกันรับผิดกับบุคคลดังกล่าว.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน: การถอนฟ้องเพื่อส่งดำเนินคดีต่อโดยอัยการพลเรือน และการรับฟังพยานผู้มีส่วนร่วม
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหมอยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบกกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการ กรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจทก์และมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไป มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้น และแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่ พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้นหากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผลเชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน, ถอนฟ้องเพื่อส่งดำเนินคดีต่อ, การรับฟังพยานผู้ต้องหาร่วม
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหม อยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการกรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการกรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน การถอนฟ้องเพื่อส่งคืนคดี และการรับฟังพยานผู้ต้องหา
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหม อยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการ กรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14 (2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้
of 104