คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำริ ศุภพิโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: การผ่อนผันสัญญาหลักไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากผู้ค้ำประกันรับรู้และยินยอม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการปฏิบัติตามสัญญาก่อสร้างอาคารไว้ต่อโจทก์ มีใจความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้ จำเลยที่ 1 ชำระก่อน จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่ โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญา ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ยอมให้โจทก์ผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ถือเป็น สาระสำคัญในการค้ำประกัน ขอแต่เพียงแจ้งการผ่อนผันให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น ต่อมาโจทก์ได้ขยายระยะเวลาก่อสร้างให้ จำเลยที่ 1ออกไป โดยได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว ดังนั้นเมื่อ จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญาให้แก่โจทก์ทันที โดยโจทก์ ไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - การผ่อนผันสัญญา - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน - การแจ้งการผ่อนผัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการปฏิบัติตามสัญญาก่อสร้างอาคารไว้ต่อโจทก์ มีใจความว่า ถ้าจำเลยที่1 ไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้ จำเลยที่ 1 ชำระก่อน จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่ โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญา ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ยอมให้โจทก์ผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ถือเป็น สาระสำคัญในการค้ำประกัน ขอแต่เพียงแจ้งการผ่อนผันให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น ต่อมาโจทก์ได้ขยายระยะเวลาก่อสร้างให้ จำเลยที่ 1ออกไป โดยได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว ดังนั้นเมื่อ จำเลยที่ 1ผิดสัญญาและไม่ยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญาให้แก่โจทก์ทันที โดยโจทก์ ไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์แยกฉบับ: จำเลยแต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของตน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทกจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คนละฉบับคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุนทรัพย์เดียวกันเมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ของแต่ละคน จำเลยแต่ละคนจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในฟ้องอุทธรณ์ของตนจะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้เสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ดังกล่าวเต็มจำนวนแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอีกนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์แยกฉบับ: จำเลยแต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของตน แม้ฟ้องร่วมกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คนละฉบับคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุนทรัพย์เดียวกัน เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ของแต่ละคน จำเลยแต่ละคนจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในฟ้องอุทธรณ์ของตน จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้เสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ดังกล่าวเต็มจำนวนแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอีกนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์แยกฉบับ: จำเลยแต่ละคนต้องรับผิดชอบค่าขึ้นศาลของตนเอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คนละฉบับคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุนทรัพย์เดียวกัน เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ของแต่ละคน จำเลยแต่ละคนจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในฟ้องอุทธรณ์ของตน จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้เสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ดังกล่าวเต็มจำนวนแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอีกนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร: เจตนาพิเศษไม่จำเป็น, เหตุผลสมควรปรานีได้
มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497เป็นบทบังคับให้ทหารกองเกินมาและให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามหมายเรียกของนายอำเภอจนเสร็จสิ้น กระบวนการในการตรวจเลือกนั้น กรณีจึงมีบทบัญญัติซึ่งเป็นข้อสันนิษฐาน ของกฎหมายให้ถือว่าผู้ที่มาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก อันรวมถึง การไม่เข้ารับการตรวจเลือกให้ครบตามกระบวนการในการตรวจเลือก เช่นไม่ยอมจับสลาก เป็นผู้หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือก ทำการตรวจเลือกด้วย ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้นั้นมีเจตนาหลีกเลี่ยงขัดขืน หรือมีเจตนาพิเศษเพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงถือไม่ได้ว่าเจตนาพิเศษเพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 27 ประกอบกับมาตรา 45
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษด้วยเพราะคดีต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกาก็ยังคงมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษ จำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ที่มีเหตุสมควรที่ทำให้จำเลยเข้าใจว่า จำเลยและบรรดา ผู้รับการตรวจเลือกอื่นที่ไม่ได้ให้เงินแก่คณะกรรมการตรวจเลือก จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการตรวจเลือก จำเลยกับผู้รับการตรวจเลือก ส่วนใหญ่จึงพร้อมใจไม่ยอมจับสลาก แต่ขอให้เลื่อนการจับสลาก ออกไปก่อนเพื่อให้มีการคัดเลือกผู้ที่จะต้องเข้าจับสลากเสียให้ถูกต้อง เป็นธรรมถือได้ว่ามีเหตุอันควรปรานีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 สมควรรอการลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร: เจตนาพิเศษไม่จำเป็น, เหตุผลสมควรปรานีได้
มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาเป็นบทบังคับให้ทหารกองเกินมาและให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามหมายเรียกของนายอำเภอจนเสร็จสิ้น กระบวนการในการตรวจเลือกนั้น กรณีจึงมีบทบัญญัติซึ่งเป็นข้อสันนิษฐาน ของกฎหมายให้ถือว่าผู้ที่มาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก อันรวมถึง การไม่เข้ารับการตรวจเลือกให้ครบตามกระบวนการในการตรวจเลือกเช่นไม่ยอมจับสลาก เป็นผู้หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือก ทำการตรวจเลือกด้วย ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้นั้นมีเจตนาหลีกเลี่ยงขัดขืน หรือมีเจตนาพิเศษเพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงถือไม่ได้ว่าเจตนาพิเศษเพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารเป็นองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 27 ประกอบกับมาตรา 45
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษด้วยเพราะคดีต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกาก็ยังคงมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษ จำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ที่มีเหตุสมควรที่ทำให้จำเลยเข้าใจว่า จำเลยและบรรดา ผู้รับการตรวจเลือกอื่นที่ไม่ได้ให้เงินแก่คณะกรรมการตรวจเลือก จะไม่ได้รับความเป็นธรรมในการตรวจเลือก จำเลยกับผู้รับการตรวจเลือก ส่วนใหญ่จึงพร้อมใจไม่ยอมจับสลาก แต่ขอให้เลื่อนการจับสลาก ออกไปก่อนเพื่อให้มีการคัดเลือกผู้ที่จะต้องเข้าจับสลากเสียให้ถูกต้อง เป็นธรรมถือได้ว่ามีเหตุอันควรปรานีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 สมควรรอการลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และแก้ไขโทษเพียงเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 1 ปี จำเลยที่ 3 จำคุก 6 เดือนและจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดฐานฉ้อโกงด้วยรวม 38 กระทง จำคุกกระทงละ 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดฐานนี้ รวม 34 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน ส่วนความผิดที่เหลือ 4 กระทงวินิจฉัยว่าเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานปลอมและใช้ เอกสารปลอมที่ศาลชั้นต้นลงโทษไปแล้ว เช่นนี้ เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานปลอมและใช้ เอกสารปลอมและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในความผิดฐานนี้ มีกำหนด 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 สำหรับความผิด ฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียง 4 กระทง ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนความผิดที่เหลือ 34 กระทง ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืนและลงโทษจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 ว.พ.พ. กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนหรือแก้ไขเล็กน้อยในความผิดเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 1 ปี จำเลยที่ 3จำคุก 6 เดือนและจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดฐานฉ้อโกงด้วยรวม 38 กระทง จำคุกกระทงละ 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดฐานนี้ รวม 34 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน ส่วนความผิดที่เหลือ 4 กระทงวินิจฉัยว่าเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานปลอมและใช้ เอกสารปลอมที่ศาลชั้นต้นลงโทษไปแล้ว เช่นนี้ เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานปลอมและใช้ เอกสารปลอมและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในความผิดฐานนี้ มีกำหนด 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 สำหรับความผิด ฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียง 4 กระทง ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนความผิดที่เหลือ 34 กระทง ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืนและ ลงโทษจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษในการพรากเด็กไปขอทานถือเป็นความผิดฐานหากำไรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคท้าย
การที่จำเลยพรากเด็กไปเพื่อให้ขอทานเงินและเก็บหาทรัพย์สิน มาให้จำเลย เป็นการกระทำไปเพื่อหาประโยชน์ในทางทรัพย์สิน อันเป็นเจตนาพิเศษในการพรากเด็ก จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317วรรคท้าย
of 104