คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำริ ศุภพิโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษในการพรากเด็กไปขอทานถือเป็นความผิดฐานหากำไรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคท้าย
การที่จำเลยพรากเด็กไปเพื่อให้ขอทานเงินและเก็บหาทรัพย์สิน มาให้จำเลย เป็นการกระทำไปเพื่อหาประโยชน์ในทางทรัพย์สิน อันเป็นเจตนาพิเศษในการพรากเด็ก จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626-4629/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ถูกต้องตามกฎหมายและการเลื่อนคดีเมื่อจำเลยขาดทนาย
เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ที่บ้านจำเลยที่ 3 ขณะที่จำเลยทั้งสี่กำลังช่วยกันปลูกบ้านจำเลยที่ 3 อยู่ เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง เจ้าพนักงานศาลจึงได้ส่งโดยวิธีวางหมายต่อหน้าเจ้าพนักงานตำรวจ ณ ที่นั้น โดยจำเลยทั้งสี่มีบ้านอยู่ติดกัน แม้เป็นคนละแห่งกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ปรากฏในคำฟ้อง ก็เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือได้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีการวางหมายถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่มิได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และนัดสอบถามเรื่องทนายจำเลยขอถอนตน ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จโดยมิได้สอบถามจำเลยถึงการถอนตนของทนายความ จำเลยจึงยังไม่ได้หาทนายใหม่ เมื่อจำเลยไม่มีทนาย การขอเลื่อนคดีของจำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควร ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้สืบพยานโจทก์ใหม่โดยให้โอกาสจำเลยถามค้านพยานโจทก์ แล้วจึงสืบจำเลยทั้งสี่ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626-4629/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายและการเลื่อนคดีเพื่อหาทนายใหม่
เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ที่บ้านจำเลยที่ 3 ขณะที่จำเลยทั้งสี่กำลังช่วยกันปลูกบ้านจำเลยที่ 3 อยู่ เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง เจ้าพนักงานศาลจึงได้ส่งโดยวิธีวางหมายต่อหน้าเจ้าพนักงานตำรวจ ณ ที่นั้น โดยจำเลยทั้งสี่มีบ้านอยู่ติดกัน แม้เป็นคนละแห่งกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ปรากฏในคำฟ้อง ก็เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือได้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีการวางหมายถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่มิได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และนัดสอบถามเรื่องทนายจำเลยขอถอนตน ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จโดยมิได้สอบถามจำเลยถึงการถอนตนของทนายความ จำเลยจึงยังไม่ได้หาทนายใหม่ เมื่อจำเลยไม่มีทนาย การขอเลื่อนคดีของจำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควร ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลฎีกาย่อมให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้สืบพยานโจทก์ใหม่โดยให้โอกาสจำเลยถามค้านพยานโจทก์ แล้วจึงสืบจำเลยทั้งสี่ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีมรดก: สิทธิรอคอยจนคดีถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ขอแต่สั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์และจำเลยมิได้ขอให้ทุเลาการบังคับคดีนั้น แม้จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นอันมีผลให้คำสั่งที่ให้งดการบังคับคดีดังกล่าวสิ้นสุดลง แต่เมื่อโจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 (2) คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่โจทก์ก่อนพิพากษาตามมาตรา 254 (2) โดยการห้ามโอน ขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาทนั้นย่อมมีผลอยู่ต่อไป
การบังคับคดีนั้นเป็นอำนาจของคู่ความที่ชนะคดีจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์และโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเป็นจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ย่อมมีสิทธิรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไป ทั้งการที่โจทก์ขอให้ห้ามโอนขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาททั้งหมดก็เพราะโจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3 ส่วนทุกรายการจึงไม่เป็นการห้ามเกินความจำเป็น
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลสั่งจำหน่ายและแบ่งทรัพย์มรดกพิพาทซึ่งศาลได้มีคำสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย ดังกล่าวอันพออนุโลมได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น เมื่อไม่มีเหตุผลเพียงพอ ศาลย่อมสั่งยกคำร้องโดยไม่จำต้องไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีมรดก: ศาลยืนตามคำสั่งเดิม
การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ขอแต่สั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์และจำเลยมิได้ขอให้ทุเลาการบังคับคดีนั้น แม้จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นอันมีผลให้คำสั่งที่ให้งดการบังคับคดีดังกล่าวสิ้นสุดลง แต่เมื่อโจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260(2) คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่โจทก์ก่อนพิพากษาตามมาตรา 254(2) โดยการห้ามโอน ขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาทนั้นย่อมมีผลอยู่ต่อไป
การบังคับคดีนั้นเป็นอำนาจของคู่ความที่ชนะคดีจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์และโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเป็นจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ย่อมมีสิทธิรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไป ทั้งการที่โจทก์ขอให้ห้ามโอนขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาททั้งหมดก็เพราะโจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3ส่วนทุกรายการจึงไม่เป็นการห้ามเกินความจำเป็น
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลสั่งจำหน่ายและแบ่งทรัพย์มรดกพิพาทซึ่งศาลได้มีคำสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย ดังกล่าวอันพออนุโลมได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น เมื่อไม่มีเหตุผลเพียงพอ ศาลย่อมสั่งยกคำร้องโดยไม่จำต้องไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการคุ้มครองชั่วคราวหลังศาลพิพากษาคดีมรดก การยึดทรัพย์เพื่อรอการบังคับคดีไม่เกินความจำเป็น
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ แต่สั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำสั่งที่ให้งดการบังคับคดีย่อมสิ้นสุดลง แต่โจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันตามป.วิ.พ. มาตรา 260(2) แล้ว คำสั่ง ศาลชั้นต้น ที่ให้ความคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามมาตรา 254(2) ย่อมมีผลอยู่ต่อไป การบังคับคดีเป็นอำนาจของคู่ความที่ชนะคดีจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์ และการที่โจทก์ขอให้ห้ามโอนขายยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาททั้งหมดก็เพราะโจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3 ส่วนทุกรายการ จึงไม่เป็นการห้ามเกินความจำเป็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากสินค้าและการปฏิเสธความรับผิดชอบจากเหตุเพลิงไหม้ โดยพิจารณาว่าไม่ใช่ผู้รับฝากตามกฎหมาย
จำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 770เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตาม ป.พ.พ. มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ จำเลยจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน3 วัน จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวันเพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้า และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุกวันนั้น โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝาก ไม่ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความสะเพร่า ของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่นจำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้า เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิงมาช่วย แต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าได้โดยลำพังจะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา659 วรรคสอง แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเก็บสินค้าของท่าเรือ: การพิจารณาความเป็นนายคลังสินค้าและขอบเขตความรับผิดตามกฎหมาย
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ
จำเลยจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน 3 วัน จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวัน เพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้าและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุกวันนั้น โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีค่าบำเหน็จ
ไม่ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความสะเพร่าของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่น จำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิงมาช่วยแต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากสินค้าและการใช้ความระมัดระวังของผู้รับฝาก: การพิจารณาว่าจำเลยเป็นนายคลังสินค้าหรือไม่ และการปฏิบัติตามมาตรฐานความระมัดระวัง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ
จำเลยจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน 3 วัน จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวัน เพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้าและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุกวันนั้น โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีค่าบำเหน็จ
ไม่ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความสะเพร่าของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่น จำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิงมาช่วยแต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำผิดฐานครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาตัดสินจำแนกบทบาทของผู้กระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นบุตรของ น. ได้ร่วมออกเงินให้ น.ไปหาซื้อไม้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ร่วมไปกับน. และช่วยขนไม้ของกลางบรรทุกรถ นั่งคุมไม้ของกลางมากับน.จนถูกจับกุม ถือได้ว่าจำเลยที่1ร่วมกับ น.มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นบุตรและหลานของน. น.ให้จำเลยที่ 1 ชวนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไปช่วยขนไม้ของกลางขึ้นรถ และจำเลยที่ 6 นั้น น.ขอร้องให้นำรถไปช่วยบรรทุกไม้ของกลางมาโดยน.ได้นั่งมาในรถด้วย จำเลยที่ 2ถึงที่ 6 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองไม้ของกลางแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ร่วมกับ น.ครอบครองไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ น.และจำเลยที่ 1 อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 เท่านั้น.
of 104