พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำผิดฐานครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาตัดสินจำแนกบทบาทของผู้กระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นบุตรของ น. ได้ร่วมออกเงินให้ น.ไปหาซื้อไม้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ร่วมไปกับน. และช่วยขนไม้ของกลางบรรทุกรถ นั่งคุมไม้ของกลางมากับน.จนถูกจับกุม ถือได้ว่าจำเลยที่1ร่วมกับ น.มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นบุตรและหลานของน. น.ให้จำเลยที่ 1 ชวนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไปช่วยขนไม้ของกลางขึ้นรถ และจำเลยที่ 6 นั้น น.ขอร้องให้นำรถไปช่วยบรรทุกไม้ของกลางมาโดยน.ได้นั่งมาในรถด้วย จำเลยที่ 2ถึงที่ 6 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองไม้ของกลางแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ร่วมกับ น.ครอบครองไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ น.และจำเลยที่ 1 อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3853/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายความป่วย: ศาลมีอำนาจเลื่อนได้หากมีเหตุจำเป็นและมีหลักฐานสนับสนุน
ทนายโจทก์และทนายจำเลยต่างยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุป่วยเจ็บของทนายความมาแล้วฝ่ายละครั้ง และศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีทั้งสองนัด ครั้งที่สามทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีอ้างว่าป่วยเจ็บกะทันหันโดยมีใบรับรองแพทย์ที่ขอผัดส่งต่อศาลในอีก 3 วันต่อมาระบุว่า ในวันนัดดังกล่าวแล้วทนายโจทก์ป่วยเป็นโรคท้องร่วงอย่างแรง ทั้งทนายจำเลยก็มิได้คัดค้านว่า ทนายโจทก์มิได้ป่วยจริง เมื่อได้ความว่าทนายโจทก์ป่วยเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ซึ่งศาลชอบที่จะสั่งเลื่อนการนัดสืบพยานโจทก์ต่อไปได้เท่าที่จำเป็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3853/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายความป่วย: ศาลมีดุลยพินิจอนุญาตเลื่อนได้หากมีเหตุจำเป็นและมีหลักฐาน
ทนายโจทก์และทนายจำเลยต่างยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุป่วยเจ็บของทนายความมาแล้วฝ่ายละครั้ง และศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีทั้งสองนัด ครั้งที่สามทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีอ้างว่าป่วยเจ็บกะทันหันโดยมีใบรับรองแพทย์ที่ขอผัดส่งต่อศาลในอีก 3 วันต่อมาระบุว่า ในวันนัดดังกล่าวแล้วทนายโจทก์ป่วยเป็นโรคท้องร่วงอย่างแรง ทั้งทนายจำเลยก็มิได้คัดค้านว่า ทนายโจทก์มิได้ป่วยจริง เมื่อได้ความว่าทนายโจทก์ป่วยเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ซึ่งศาลชอบที่จะสั่งเลื่อนการนัดสืบพยานโจทก์ต่อไปได้เท่าที่จำเป็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ห้ามใช้ราคาบัญชีราคาตลาด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้า ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดัง ต่อไปนี้(1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ" ฉะนั้นเงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์จึงจะกำหนดตามบัญชีราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหาได้ไม่ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบให้เห็นโดยตรงว่าที่ดินของโจทก์มีราคาตามธรรมเนียม ที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนรายพิพาทใช้บังคับเท่าใด แต่โจทก์ก็นำสืบถึงราคาซื้อขายของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินของโจทก์ในเวลาก่อนและหลัง พ.ร.ฎ. ดังกล่าวบังคับใช้ศาลย่อมใช้ดุลพินิจ กำหนดราคาซื้อขายที่ดินของโจทก์ในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. ใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ76 บัญญัติว่า 'เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ฯลฯ' ฉะนั้น เงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์จึงจะกำหนดตามบัญชีราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหาได้ไม่ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบให้เห็นโดยตรงว่าที่ดินของโจทก์มีราคาตามธรรมเนียมที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนรายพิพาทใช้บังคับเท่าใด แต่โจทก์ก็นำสืบถึงราคาซื้อขายของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินของโจทก์ในเวลาก่อนและหลังพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวบังคับใช้ ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดราคาซื้อขายที่ดินของโจทก์ในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค - การระงับการจ่ายเช็ค - ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค - พยานยืนยันความสามารถชำระหนี้
จำเลยเช่าซื้อรถแทรกเตอร์จากโจทก์ร่วม โดยชำระค่าเช่าซื้อส่วนหนึ่งในวันทำสัญญา และออกเช็คล่วงหน้าเพื่อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างจำนวน 2 ฉบับตั้งแต่จำเลยรับรถแทรกเตอร์ไปจากโจทก์ร่วม รถเสียไม่สามารถใช้ทำงานได้ตลอดมาจำเลยได้ขอคืนรถแก่โจทก์ร่วมและขอรับเช็คทั้งสองฉบับที่สั่งจ่ายมอบให้โจทก์ร่วมคืนโจทก์ร่วมก็ไม่ยอมคืนให้ พฤติการณ์เช่นนี้มีเหตุสมควรที่จำเลยจะมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คได้ การที่จำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาทุจริต ทั้งจำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารในวงเงิน 100,000บาท แม้ในวันสั่งจ่ายเช็ค จำเลยจะเป็นหนี้ธนาคารเกินกว่าวงเงินดังกล่าว แต่ผู้จัดการธนาคารตามเช็คยืนยันว่า ถ้าจำเลยร้องขอมาล่วงหน้าธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้ แสดงว่าจำเลยมีเงินพอจ่ายตามเช็คทั้งสองฉบับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค - รถเสีย - สิทธิระงับการจ่ายเช็ค - เงินพอจ่าย - ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยเช่าซื้อรถแทรกเตอร์จากโจทก์ร่วม โดยชำระค่าเช่าซื้อส่วนหนึ่งในวันทำสัญญา และออกเช็คล่วงหน้าเพื่อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างจำนวน 2 ฉบับ ตั้งแต่จำเลยรับรถแทรกเตอร์ไปจากโจทก์ร่วม รถเสียไม่สามารถใช้ทำงานได้ตลอดมาจำเลยได้ขอคืนรถแก่โจทก์ร่วมและขอรับเช็คทั้งสองฉบับที่สั่งจ่ายมอบให้โจทก์ร่วมคืนโจทก์ร่วมก็ไม่ยอมคืนให้ พฤติการณ์เช่นนี้มีเหตุสมควรที่จำเลยจะมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คได้ การที่จำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คดังกล่าวจึงไม่มีเจตนาทุจริต ทั้งจำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารในวงเงิน 100,000 บาท แม้ในวันสั่งจ่ายเช็ค จำเลยจะเป็นหนี้ธนาคารเกินกว่าวงเงินดังกล่าว แต่ผู้จัดการธนาคารตามเช็คยืนยันว่า ถ้าจำเลยร้องขอมาล่วงหน้าธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้ แสดงว่าจำเลยมีเงินพอจ่ายตามเช็คทั้งสองฉบับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์: การกระทำเข้าข่ายลักทรัพย์โดยฉกฉวย แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องอำนาจการสอบสวนของพนักงาน
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์: อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม แม้ได้รับอนุมัติภายหลังการสอบสวน ก็ยังชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานคร ร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานคร ร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบฉันทะขอเลื่อนคดี: ต้องทำตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. และการแถลงขอเลื่อนคดีด้วยวาจาต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความ
การมอบฉันทะและการขอเลื่อนคดี ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ คำขอเลื่อนคดีด้วยวาจานั้น ตัวความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเอง มิฉะนั้นจะต้องทำคำขอเลื่อนคดีเป็นลายลักษณ์อักษรและมอบฉันทะให้บุคคลใด บุคคลหนึ่งนำมายื่นต่อศาล ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ไม่มีอำนาจแถลงด้วยวาจาขอเลื่อนคดี.