คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 138

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ สัญญาเป็นโมฆียะ หากบอกล้างภายใน 1 ปี
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาด สัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉลสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137,138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาดสัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉล สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137, 138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ แม้ได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรม สิทธิติดตามทรัพย์สินตามกฎหมาย
ส.ภริยาโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่ ก. กับพวก ไปโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม โจทก์ฟ้อง ส. และ ก.กับพวก เป็นคดีแรก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเสีย ปรากฏว่า ก.กับพวกขายที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่าง ส.กับ ก.และพวก เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย และเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย ระหว่าง ก. กับพวก กับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ศาลฎีกาพิพากษายืน ขณะที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้ทำลายนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองเสีย ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง ส.กับพวก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ ในคดีแรกนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว เมื่อในที่สุดศาลพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคแรก การที่ ก. กับพวก โอนขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก็ดีหรือจำเลยที่ 1 ขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ดีเป็นอันใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เพราะการขายต่อ ๆ มา จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะโอนขายได้ เข้าหลักที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีอำนาจดีกว่าผู้โอน เพราะนิติกรรมอันเดิมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกเสียแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ได้ กรณีเช่นนี้ จะนำมาตรา 1299 และ 1300 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ส่วนมาตรา 1329 นั้น ต้องได้ความว่า ได้ทรัพย์สินมาในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกล้างโมฆียะกรรม ถ้าได้มาภายหลังบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากกรรมสิทธิ์เดิมถูกเพิกถอนด้วยเหตุฉ้อฉล ผู้รับโอนไม่มีสิทธิอ้างซื้อโดยสุจริต
ม. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินที่พิพาทได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลว่า จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลโอนเอาที่ดินโฉนดที่พิพาทไป ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ม. ได้ถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลจริง พิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท คดีถึงที่สุด ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้แก้ชื่อในโฉนดที่พิพาทให้เป็นของ ม.ตามเดิม จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่ ม. ถึงแก่กรรม ดังนี้ โดยผลของคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าได้มีการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ซึ่งตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จึงเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาทเลย ที่พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. อยู่ตามเดิม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และจะยกเอาเหตุทีได้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต มายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทจาก ม. เจ้าของที่พิพาทเดิมหาได้ไม่
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิ ในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินจากการบอกล้างโมฆียะกรรม และอำนาจฟ้องของทายาท
ม. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินที่พิพาทได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลว่า จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลโอนเอาที่ดินโฉนดที่พิพาทไป ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ม. ได้ถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลจริง พิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1ออกจากโฉนดที่พิพาท คดีถึงที่สุด ระหว่างที่จำเลยที่1 ยังไม่ได้แก้ชื่อในโฉนดที่พิพาทให้เป็นของ ม. ตามเดิมจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่ ม. ถึงแก่กรรม ดังนี้ โดยผลคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าได้มีการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ซึ่งตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จึงเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาทเลย ที่พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. อยู่ตามเดิม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และจะยกเอาเหตุที่ได้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต มายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทจาก ม. เจ้าของที่พิพาทเดิมหาได้ไม่
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของเจ้าของสินส่วนแบ่ง
การที่ บ.ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรียนราษฎร์ของ บ.ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นการประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาทจาก น.เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ.แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วน บ.จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียนตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินส่วนที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห็นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ.มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ.ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 แต่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ.ภริยาโจทก์กับจำเลย จำเลยทราบดีว่า บ.เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องของ บ.ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้าง เพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมื่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนของตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก่กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมขายฝากสินบริคณห์: สิทธิบอกล้างของคู่สมรส แม้ยินยอมโดยปริยาย และความรับผิดของจำเลยที่รู้ถึงความสามารถบกพร่อง
การที่ บ. ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปขายฝากไว้กับจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ เบื้องต้นต้องถือว่านิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆียะ การดำเนินกิจการโรงเรือนราษฎร์ของ บ. ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการเป็นกาประกอบการค้าแสวงหากำไร การซื้อที่พิพาาทจาก น. เจ้าของเดิมก็ลงชื่อ บ. แต่ผู้เดียวโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม เมื่อซื้อมาแล้วยังได้ใช้ประโยชน์ปลูกสร้างขยายอาคารโรงเรียนลงในที่พิพาทบางส่วนบ. จำต้องหาเงินทุนมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน หนี้จำนองราย อ. บ.ก็เอาที่พิพาทไปจำนองไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในกิจการของโรงเรียน ตามพฤติการณ์จึงแสดงว่ามูลเหตุที่ บ.ต้องไปทำนิติกรรมขายฝากไว้กับจำเลย นอกจากเพื่อให้ได้เงินมาไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเป็นสำคัญแล้ว ยังประสงค์ได้เงินที่เหลือมาสมทบใช้จ่ายในกิจการโรงเรียนด้วย แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้อนุญาตให้ บ.ไปทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทโดยตรง กรณีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย เพราะโจทก์ได้รู้เห้นและมิได้ทักท้วงการทำนิติกรรมจำนองที่พิพาทของ บ. มาก่อน อย่างไรก็ตาม นิติกรรมขายฝากที่พิพาทคงมีผลผูกพันเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของ บ. ซึ่งมีอยู่เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น ในส่วนอีกกึ่งหนึ่งของโจทก์หาจำต้องผูกพันด้วยไม่ นิติกรรมขายฝากที่พิพาทสำหรับสินบริคณห์ส่วนของโจทก์คงตกเป็นโมฆียะเช่นเดิม ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ในอันที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมหรือให้สัตยาบันตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 และ 139 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ขณะทำนิติกรรมขายฝากที่พิพาทระหว่าง บ. ภริยาโจทก์กับจำเลยจำเลยทราบดีว่า บ. เป็นหญิงมีสามี ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้เตือนให้จำเลยทราบถึงความสามารถบกพร่องชอง บ. ก่อนแล้ว จำเลยยังเสี่ยงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาขายฝากให้โดยขอยอมรับผิดต่อความเสียหายเอง ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ทราบถึงนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในระหว่างอายุสัญญาขายฝากหรือไม่ ไม่ใช่เหตุตัดรอนสิทธิของโจทก์ที่จะบอกล้างเพราะสิทธิบอกล้างจะสิ้นไปก็แต่ โดยโจทก์เพิกเฉยไม่บอกล้างเสียภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรืออีกนัยหนึ่งนับแต่วันทราบเรื่องการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143 การบอกล้างของโจทก์ยังไม่เกินกำหนดหนึ่งปี โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ฉะนั้นนิติกรรมขายฝากที่พิพาทเฉพาะสินบริคณห์ส่วนของโจทก์เมิ่อบอกล้างแล้วย่อมตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลบังคับนับแต่วันบอกล้างเป็นต้นไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์จากนิติกรรมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์นั้นไม่ได้ จะต้องคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไม่ เพราะโจทก์มีความชอบธรรมที่จะปกป้องหรือขอคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินส่วนตนในทางศาลได้อยู่ ส่วนเงินราคาที่ดินอันจะพึงชดใช้แก้กันเป็นจำนวนเท่าใดนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง จึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสำคัญผิดในฐานะทางกฎหมายของคู่กรณี ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำไว้กับโจทก์ จำเลยต่อสู้มีประเด็นเพียงว่า เหตุที่จำเลยทั้งสามยอมตกลงทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์ไว้นั้น เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลงสำคัญผิดในคุณสมบัติของโจทก์โดยจำเลยเข้าใจว่าโจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกและโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในกองมรดกนี้ด้วย เมื่อจำเลยทราบความจริง ว่าโจทก์ไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกจำเลยจึงได้บอกล้างหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ต่อโจทก์ หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์นำมาฟ้องจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ดังนี้ ถึงแม้จะเป็นความจริงตามที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเพียงความสำคัญผิดถึงฐานะทางกฎหมายของโจทก์ หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล ซึ่งตามปกติย่อมนับว่าเป็นสารสำคัญที่ทำให้สัญญาประนีประนอมในเรื่องทรัพย์มรดกเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120,138 ไม่ รูปคดีจึงไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสำคัญผิดในฐานะทางกฎหมายไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำไว้กับโจทก์ จำเลยต่อสู้มีประเด็นเพียงว่าเหตุที่จำเลยทั้งสามยอมตกลงทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์ไว้นั้น เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลงสำคัญผิดในคุณสมบัติของโจทก์ โดยจำเลยเข้าใจว่าโจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกและโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในกองมรดกนี้ด้วย เมื่อจำเลยทราบความจริงว่าโจทก์ไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกจำเลยจึงได้บอกล้างหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ต่อโจทก์หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์นำมาฟ้องจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ดังนี้ ถึงแม้จะเป็นความจริงตามที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเพียงความสำคัญผิดถึงฐานะทางกฎหมายของโจทก์ หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล ซึ่งตามปกติย่อมนับว่าเป็นสารสำคัญที่ทำให้สัญญาประนีประนอมในเรื่องทรัพย์มรดกเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120, 138 ไม่ รูปคดีจึงไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการบอกเลิกสัญญาต่อการฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเดิม ศาลไม่ถือว่าสัญญาสิ้นสุดและไม่อาจบังคับให้รื้อถอนได้
ในคดีก่อน ศาลเพียงแต่ตรวจดูคำฟ้องแล้ววินิจฉัยในทำนองว่าเมื่อตามคำฟ้องมีความหมายเท่ากับโจทก์กล่าวไว้เองว่า โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาต่อกันแล้ว ถ้าเป็นความจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างก็ไม่มีสัญญาอะไรที่โจทก์จะนำมาฟ้องขอให้ศาลสั่งเป็นโมฆะได้อีกส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนเสาออกไปจากที่ของโจทก์นั้น ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนและจำเลยขัดขืน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ อันจะเป็นเหตุให้ศาลบังคับจำเลยได้ แล้วพิพากษายกฟ้องคำพิพากษา ดังนี้ ไม่อาจถือได้ว่าศาลได้ฟังว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเลิกกันแล้ว ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยรื้อถอนเสา แล้วมาฟ้องเป็นคดีใหม่ ขอให้บังคับให้จำเลยรื้อถอนเสาออกจากที่ของโจทก์ โดยอาศัยผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อน ดังนี้ หาบังคับได้ไม่
of 14