คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 138

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาเดิมที่มิได้วินิจฉัยถึงการเลิกสัญญาต่อการฟ้องบังคับรื้อถอน
ในคดีก่อน ศาลเพียงแต่ตรวจดูคำฟ้องแล้ววินิจฉัยในทำนองว่าเมื่อตามคำฟ้องมีความหมายเท่ากับโจทก์กล่าวไว้เองว่า โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาต่อกันแล้ว ถ้าเป็นความจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างก็ไม่มีสัญญาอะไรที่โจทก์จะนำมาฟ้องขอให้ศาลสั่งเป็นโมฆะได้อีก ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนเสาออกไปจากที่ของโจทก์นั้นตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนและจำเลยขัดขืน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ อันจะเป็นเหตุให้ศาลบังคับจำเลยได้ แล้วพิพากษายกฟ้องคำพิพากษา ดังนี้ ไม่อาจถือได้ว่าศาลได้ฟังว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเลิกกันแล้ว ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยรื้อถอนเสา แล้วมาฟ้องเป็นคดีใหม่ ขอให้บังคับให้จำเลยรื้อถอนเสาออกจากที่ของโจทก์ โดยอาศัยผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อน ดังนี้ หาบังคับได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ และการรับฟังรายงานผล
คู่ความตกลงท้ากันให้ส่งเอกสารไปยังกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ เพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อ โดยมิได้ระบุตัวผู้เชี่ยวชาญไว้ ศาลย่อมส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ คนใดคนหนึ่งตรวจพิสูจน์ก็ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 เมื่อผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเป็นหนังสือ และไม่มีความจำเป็น ศาลก็ไม่ต้องเรียกมาให้เบิกความรับรองหรืออธิบายด้วยวาจาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสินบริคณห์ที่ภริยาทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ย่อมเป็นโมฆียะ แต่ยังไม่บอกล้างถือว่ามีผลใช้บังคับ
ภริยานำเอาที่นาสินบริคณห์ไปให้จำเลยเช่า โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นสามีสัญญาเช่านั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
แม้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้บอกล้าง สัญญาเช่านั้นก็คงยังสมบูรณ์ การที่จำเลยเข้าทำนาโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมไม่เป็นละเมิด โจทก์จะฟ้องขับไล่หาว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหาได้ไม่
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยพฤตินัยได้หรือไม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสินบริคณห์โมฆียะแต่ยังไม่บอกล้าง โจทก์ฟ้องขับไล่ไม่ได้
ภริยานำเอาที่นาสินบริคณห์ไปให้จำเลยเช่าโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นสามีสัญญาเช่านั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
แม้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้บอกล้าง สัญญาเช่านั้นก็คงยังสมบูรณ์ การที่จำเลยเข้าทำนาโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมไม่เป็นละเมิด โจทก์จะฟ้องขับไล่หาว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายหาได้ไม่
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยพฤตินัยได้หรือไม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายโมฆะและการโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่ได้รับความคุ้มครอง
สามีมิได้รู้เห็นและให้ความยินยอมภริยาทำนิติกรรมซื้อขายสินบริคณห์เมื่อได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว. นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138.
บุคคลที่รับโอนทรัพย์สินมาโดยไม่สุจริตจากผู้โอนที่ได้ทรัพย์สินมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ. เมื่อนิติกรรมนั้นถูกบอกล้าง บุคคลที่รับโอนนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายโมฆะเมื่อสามีมิได้ยินยอมและได้บอกล้างแล้ว ผู้รับโอนย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
สามีมิได้รู้เห็นและให้ความยินยอมภริยาทำนิติกรรมซื้อขายสินบริคณห์เมื่อได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้วนิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
บุคคลที่รับโอนทรัพย์สินมาโดยไม่สุจริตจากผู้โอนที่ได้ทรัพย์สินมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะเมื่อนิติกรรมนั้นถูกบอกล้าง บุคคลที่รับโอนนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่สามีมิได้ยินยอม และผลกระทบต่อผู้รับโอนที่รู้ถึงข้อบกพร่อง
สามีมิได้รู้เห็นและให้ความยินยอมภริยาทำนิติกรรมซื้อขายสินบริคณห์ เมื่อได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
บุคคลที่รับโอนทรัพย์สินมาโดยไม่สุจริตจากผู้โอนที่ได้ทรัพย์สินมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ เมื่อนิติกรรมนั้นถูกบอกล้าง บุคคลที่รับโอนนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย ์ มาตรา 1329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: อำนาจร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: ผู้ไม่รู้เห็นการก่อหนี้มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตน
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินของภริยาโดยไม่ผูกพันสินบริคณห์ และสิทธิยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อชำระหนี้
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงินจึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.
of 14