พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการขาดความเสียหายของโจทก์
โจทก์ที่ 1 ส่งมอบเครื่องกลึงโลหะและอุปกรณ์การกลึงเรียวให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1 ได้รับมอบตลอดจนอนุมัติให้จ่ายเงินค่าเครื่องกลึงโลหะและอุปกรณ์การกลึงเรียวให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาและเครื่องกลึงโลหะกับอุปกรณ์การกลึงเรียวมิได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 1เท่านั้น ย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงาน การตรวจค้น การหน่วงเหนี่ยวกักขัง และการแจ้งความเท็จ
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดทางอาญา, อำนาจฟ้อง, การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ, การตรวจค้น, เหตุสมควร
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการฉ้อโกง: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง มิใช่ผู้เสียผลประโยชน์ทางอ้อม
การที่จำเลยนำเช็คที่บริษัท ล. สั่งจ่ายให้โจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมสลักหลังให้จำเลยแล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารตามเช็คเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลย แม้จะเป็นการหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำต่อธนาคารและเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อโจทก์ร่วม หากโจทก์ร่วมจะได้รับความเสียหายเพราะเสียสิทธิที่จะได้รับเงินตามเช็คไป ก็เป็นความเสียหายที่โจทก์ร่วมได้รับในความผิดฐานปลอมเอกสาร หาใช่ความเสียหายจากการหลอกลวงของจำเลยไม่ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงและไม่มีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 12 ที่โจทก์ฎีกาว่าไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้จำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ต่างประเทศ: การโฆษณาครั้งแรกในประเทศภาคีอนุสัญญาเบอร์นไม่เพียงพอต่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ ต้องมีการจำหน่ายสำเนา
ปรากฏตามเอกสารที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาทำขึ้นพร้อมคำแปลและอ้างเป็นพยานว่า พ. รองประธานกรรมการอาวุโสของโจทก์ยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ยืนยันว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท ด. ที่ปรึกษาสมาคมลงชื่อรับรองลายมือชื่อของพ.ว่าเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจให้มาลงนามของโจทก์ร.โนตารีปับลิกมลรัฐนิวยอร์ก รับรองว่า พ.และด. ทำการปฏิญาณต่อหน้าตนน. เสมียนเคาน์ตี้และจ่าศาลของศาลซูพรีมคอร์ต แห่งมลรัฐนิวยอร์กประจำเคาน์ตี้ออฟนิวยอร์กรับรองว่าร.เป็นโนตารีปับลิกประจำมลรัฐนิวยอร์กและเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ย.กงศุล ใหญ่ ไทย ณ มลรัฐนิวยอร์กรับรองลายมือชื่อของน. ดังนี้ จะเห็นได้ว่าเอกสารดังกล่าวมีการรับรองกันมาตามลำดับเนื้อความแห่งเอกสารนั้นย่อมมีอยู่จริง จึงนำมาฟังประกอบคำเบิกความของ ล. กรรมการบริษัท ซ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ว่า ภาพยนตร์พิพาทเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งบริษัท ซ. ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้นำภาพยนตร์ของโจทก์มาทำวีดีโอเทปซ้ำเพื่อออกจำหน่ายแก่สมาชิกในประเทศไทยติดต่อกันมาได้ 3 ปีแล้ว โจทก์มอบอำนาจให้บริษัทซ. ปกป้องลิขสิทธิ์และฟ้องร้องตามหนังสือมอบอำนาจ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้สร้างภาพยนตร์พิพาทขึ้นเอง ภาพยนตร์พิพาทจึงเป็นงานสร้างสรรค์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ของโจทก์ได้ ขณะเกิดเหตุประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 โดยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวฉบับที่ทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1908และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคล เพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1914 แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ก็มิได้มีบทบัญญัติกีดกันงานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศที่มิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาเบอร์น เพื่อไม่ให้ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้โดยที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการให้ความคุ้มครองแก่งานดังกล่าวไว้ในมาตรา 4 ว่า"งานอันมีลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1)... ในกรณีที่ได้โฆษณาแล้ว การโฆษณาต้องกระทำเป็นครั้งแรกในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา..." ด้วยเหตุนี้งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศนอกภาคีอนุสัญญาเบอร์น อย่างเช่นงานของประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ หากได้กระทำการโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเบอร์น เมื่อปรากฏว่าประเทศแคนาดาเป็นประเทศภาคีประเทศหนึ่งในอนุสัญญาดังกล่าว งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงอาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ก็ต่อเมื่อได้มีการโฆษณางานนั้นตามความหมายของเงื่อนไขการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ฉะนั้น การทำให้ปรากฏซึ่งภาพยนตร์โดยการนำออกฉายเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดาแม้จะถือเป็นการโฆษณา แต่ก็มิใช่การโฆษณางานในความหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯและมาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว หากแต่เป็นเพียงการโฆษณาในความหมายของคำว่า "โฆษณา" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ซึ่งใช้เฉพาะในกรณีที่ต้องการทราบความหมายของการนำออกโฆษณาอันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวประการหนึ่งของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวและในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการโฆษณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันเท่านั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเพียงว่า โจทก์นำภาพยนตร์พิพาททั้งสองเรื่องไปฉายโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดาเท่านั้น หาได้ปรากฏว่าโจทก์ได้นำก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอันเป็นสำเนาจำลองออกจำหน่ายโดยให้ก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์นั้นมีปรากฏต่อสาธารณชนเป็นจำนวนมากพอสมควรแต่อย่างใดไม่ งานภาพยนตร์ของโจทก์จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คประกันการซื้อขายลดเช็ค: เมื่อหนี้เดิมระงับ หนี้ตามเช็คก็ระงับตามไปด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยออกเช็คตามฟ้องให้แก่บริษัท ป. เพื่อเป็นประกันหนี้การขายลดเช็คของ ส. ผู้ที่จำเลยนำมาติดต่อกับบริษัท ป. แต่เมื่อหนี้ตามเช็คของ ส. ได้มีการชำระหมดสิ้นไปแล้ว หนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ตัวแทนเรียกเก็บเงิน, ผู้เสียหายคือตัวการ
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ เป็นเช็คขีดคร่อมออกให้แก่ผู้ถือ โจทก์ได้ฝากให้เพื่อนของโจทก์นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเพราะโจทก์ไม่มีบัญชีเงินฝากในธนาคาร ซึ่งมีความหมายว่าเมื่อเพื่อนของโจทก์เรียกเก็บเงินได้ต้องนำเงินมามอบให้โจทก์ หากเรียกเก็บเงินไม่ได้เพื่อนของโจทก์จะคืนเช็คให้โจทก์ จึงต้องถือว่าเพื่อนของโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ ดังนั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงยังเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ตัวแทนเรียกเก็บเงิน - ผู้เสียหายคือตัวการ
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ เป็นเช็คขีดคร่อมออกให้แก่ผู้ถือ โจทก์ได้ฝากให้เพื่อนของโจทก์นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเพราะโจทก์ไม่มีบัญชีเงินฝากในธนาคารซึ่งมีความหมายว่าเมื่อเพื่อนของโจทก์เรียกเก็บเงินได้ต้องนำเงินมามอบให้โจทก์ หากเรียกเก็บเงินไม่ได้เพื่อของโจทก์จะคืนเช็คให้โจทก์ จึงต้องถือว่าเพื่อนของโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ ดังนั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ซึ่งตัวการจึงยังเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาเฉพาะตัว ไม่ตกทอด แม้เป็นผู้รับมรดกที่ดินที่ได้รับความเสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ในขณะที่มารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดนั้นยังมีชีวิตอยู่มารดาโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินตามโฉนดนั้นเพิ่งทราบการกระทำของจำเลยหลังจากที่มารดาโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137