พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าและการฟ้องขับไล่: การโอนสิทธิการเช่าพื้นที่และผลกระทบต่อสัญญาเช่าเดิม
แม้แผงค้าพิพาทมีการก่อสร้างที่ผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กฎกระทรวงฉบับที่ 50 (พ.ศ.2540) และกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยสำนักงานเขตจตุจักรแจ้งการรถไฟแห่งประเทศไทยกับโจทก์ให้ระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตและห้ามใช้อาคารแล้ว ต่อมาสำนักงานเขตจตุจักรมีคำสั่งให้รื้อถอนแผงค้าพิพาท แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 (1) เพื่อดำเนินการมีคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน ผู้ดำเนินการ ลูกจ้าง หรือบริวารของบุคคลดังกล่าว ระงับการกระทำในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งตามมาตรา 52 ของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กรณีมิใช่เป็นเรื่องแผงค้าพิพาทมีการก่อสร้างต่อเติมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 (1) ซึ่งเป็นโมฆะเกิดจากกฎหมาย (ภาวะวิสัย) และมิใช่โมฆะที่เกิดจากการแสดงเจตนา (อัตวิสัย) อันจะเป็นเหตุให้สัญญาเช่าระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยกับโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคาร จ. เพื่อดำเนินการจัดหาประโยชน์ตามสัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ให้เช่า กับบริษัท บ. และเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2558 การรถไฟแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวโอนสิทธิการเช่าที่มีกับการรถไฟแห่งประเทศไทยให้แก่โจทก์ ซึ่งสิทธิการเช่าดังกล่าวอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ จึงเป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 เมื่อบริษัทดังกล่าวโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ โดยได้รับความยินยอมจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นการโอนสิทธิในการจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินซึ่งให้เช่า สัญญาเช่าพื้นที่ด้านหน้าอาคาร จ. ระหว่างบริษัท บ. กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจึงไม่ระงับไปเพราะเหตุดังกล่าว และโจทก์ผู้รับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ดังกล่าวจากบริษัท บ. ผู้โอน ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่านั้นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคาร จ. ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์ย่อมอาศัยสิทธิการเช่าพื้นที่ที่รับโอนมาจากบริษัท บ. เป็นฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากแผงค้าพิพาทและชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15991/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน หากฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องวันกระทำผิดและวันปิดประกาศคำสั่ง ฟ้องอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 47 ทวิ กำหนดให้มีการปิดประกาศคำสั่งที่ให้ระงับการก่อสร้างและที่ให้รื้อถอนไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ดังนั้น วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาที่ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด มิฉะนั้นก็จะมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงบ่งบอกวันกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าปิดประกาศแจ้งคำสั่งดังกล่าวเมื่อใด ดังนั้น จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ, ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน, และการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสิบดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และรุกล้ำที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาท การที่จำเลยทั้งสิบว่าจ้างผู้ออกแบบอาคารพิพาทและใช้วิศวกรควบคุมการก่อสร้างคนเดียวกัน ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทในคราวเดียวกัน และดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทพร้อมกัน จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบเป็นตัวการร่วมกันดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและรุกล้ำที่สาธารณะ
เมื่อจำเลยทั้งสิบทราบคำสั่งของเทศบาลตำบลแก่งคอยที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ จำเลยทั้งสิบไม่ปฏิบัติตาม ยังคงดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไป จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และร่วมกันดำเนินการก่อสร้างในระหว่างที่ยังไม่ได้แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่
ขณะจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ การก่อสร้างอาคารพิพาทเริ่มไปได้ประมาณ 3 เดือน ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเพียงก่อสร้างฐานราก แต่จำเลยทั้งสิบดำเนินการต่อไปอีกเป็นเวลานานปีเศษ ทั้งในระหว่างนั้นจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งแจ้งเตือนให้ระงับการก่อสร้างด้วยเหตุเดียวกันอีกหลายครั้ง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงถึงการปฏิเสธไม่ยอมรับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามกฎหมาย ประกอบกับการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยทั้งสิบมีผลทำให้การใช้ประโยชน์สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สะดวกและขัดข้อง จึงไม่มีเหตุที่จะลดโทษจำเลยทั้งสิบให้เบาลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสิบออกจากที่สาธารณะที่รุกล้ำ ไม่ได้มีคำขอให้เว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตร เมื่อที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะตามฟ้องมีความกว้าง 1.50 เมตร ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันเว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตรตลอดแนว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสิบได้ความว่า ในการดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท มีการร่นระยะด้านหน้าอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกผิดแผกไปจากแผนผังบริเวณ และได้ความว่า ความยาวของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกไม่เท่ากัน ข้อเท็จจริงไม่ได้ความชัดว่าด้านหลังอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกแต่ละด้านรุกล้ำที่สาธารณะมากน้อยเท่าใด ประกอบกับการออกจากที่สาธารณประโยชน์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนจะต้องปฏิบัติด้วยการรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่รุกร้ำ เมื่อยังไม่ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับแนวเขตของอาคารพิพาทส่วนที่ต้องรื้อถอน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ด้านหลังอาคารพิพาท .60 เมตร จึงไม่อาจปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ชอบที่โจทก์จะไปว่ากล่าวดำเนินคดีต่างหาก
เมื่อจำเลยทั้งสิบทราบคำสั่งของเทศบาลตำบลแก่งคอยที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ จำเลยทั้งสิบไม่ปฏิบัติตาม ยังคงดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไป จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และร่วมกันดำเนินการก่อสร้างในระหว่างที่ยังไม่ได้แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่
ขณะจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ การก่อสร้างอาคารพิพาทเริ่มไปได้ประมาณ 3 เดือน ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเพียงก่อสร้างฐานราก แต่จำเลยทั้งสิบดำเนินการต่อไปอีกเป็นเวลานานปีเศษ ทั้งในระหว่างนั้นจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งแจ้งเตือนให้ระงับการก่อสร้างด้วยเหตุเดียวกันอีกหลายครั้ง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงถึงการปฏิเสธไม่ยอมรับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามกฎหมาย ประกอบกับการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยทั้งสิบมีผลทำให้การใช้ประโยชน์สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สะดวกและขัดข้อง จึงไม่มีเหตุที่จะลดโทษจำเลยทั้งสิบให้เบาลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสิบออกจากที่สาธารณะที่รุกล้ำ ไม่ได้มีคำขอให้เว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตร เมื่อที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะตามฟ้องมีความกว้าง 1.50 เมตร ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันเว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตรตลอดแนว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสิบได้ความว่า ในการดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท มีการร่นระยะด้านหน้าอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกผิดแผกไปจากแผนผังบริเวณ และได้ความว่า ความยาวของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกไม่เท่ากัน ข้อเท็จจริงไม่ได้ความชัดว่าด้านหลังอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกแต่ละด้านรุกล้ำที่สาธารณะมากน้อยเท่าใด ประกอบกับการออกจากที่สาธารณประโยชน์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนจะต้องปฏิบัติด้วยการรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่รุกร้ำ เมื่อยังไม่ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับแนวเขตของอาคารพิพาทส่วนที่ต้องรื้อถอน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ด้านหลังอาคารพิพาท .60 เมตร จึงไม่อาจปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ชอบที่โจทก์จะไปว่ากล่าวดำเนินคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10100/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งระงับ/แก้ไขก่อนรื้อถอน การออกคำสั่งล่าช้า/ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ไม่อาจออกหมายจับกักขังได้
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นพบว่ามีการก่อสร้างอาคารผิดจากแบบแปลน ผู้ร้องชอบที่จะออกคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 (1) และ 41 แต่ผู้ร้องกลับปล่อยให้มีการก่อสร้างไปจนกระทั่งเห็นว่าเป็นกรณีไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้จึงมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 จากนั้นจึงมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างในภายหลัง การออกคำสั่งของผู้ร้องจึงไม่เหมาะควรแก่ระยะเวลา และไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย กรณีจึงยังไม่มีเหตุอันควรที่จะออกหมายจับผู้คัดค้านผู้ก่อสร้างอาคารมากักขังไว้ตามมาตรา 43 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาคาร: เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจออกคำสั่งกับผู้ไม่ใช่เจ้าของ/ผู้ครอบครองอาคาร แม้มีการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารตึกชั้นเดียวและคำสั่งห้ามจำเลยหรือบุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคาร เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคแรก และคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า บริษัท สหถกลก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ก่อสร้างอาคารมูลกรณี และเป็นเจ้าของอาคารดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ (จำเลย) ซึ่งมิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารมูลกรณีให้ระงับการก่อสร้างอาคารตามมาตรา 40 (1) (แบบ ค.3) ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารตาม มาตรา 40 (2) (แบบ ค.4) ฉะนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้ดำเนินการออกคำสั่งกับเจ้าของอาคารมูลกรณีให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ซึ่งมีผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติตาม ตามมาตรา 52 วรรคห้า จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารนั้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมผูกพันให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ต้องปฏิบัติความคำวินิจฉัย การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไปร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย ต่อพนักงานสอบสวน และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก่อนที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมอาคาร: ความผิดฐานดัดแปลงอาคารต้องเป็นไปตามเงื่อนไขรื้อถอน ไม่ใช่โทษทางอาญาโดยตรง
กรณีที่จะมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 67 กำหนดโทษไว้นั้น จะต้องเป็นกรณีฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) และคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารตามมาตรา 40 (2) ส่วนกรณีตามมาตรา 40 (3) นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิจารณาเพื่อที่จะมีคำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 ต่อไปภายหลังจากที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) ไปแล้ว พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ไม่ได้บัญญัติไว้ในที่ใดว่า หากฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานตามมาตรา 41 ที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องแล้วจะต้องได้รับโทษทางอาญา คงบัญญัติเป็นเงื่อนไขไว้ในมาตรา 42 ว่าถ้าเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 41 ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้น ซึ่งหากเจ้าของอาคารฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารนี้โดยมิได้รื้อถอนภายในกำหนดก็จะมีโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 66 ทวิ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 40 (3) จึงไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับเป็นการลงโทษโดยมิชอบ กรณีจึงต้องยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องเสีย ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8847/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง และการพิจารณาคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ ส. ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคาร จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ มิใช่คำสั่งของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร, การปรับบทกฎหมาย และการกำหนดโทษปรับรายวัน
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดกฎหมาย, ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน, และอายุความความผิดฐานก่อสร้างผิดแบบ
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาต แต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีกและจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตาม ป.อ.มาปรับใช้ตามนัยแห่ง ป.อ.มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาทจำเลยอุทธณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาทย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 212
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาต แต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีกและจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตาม ป.อ.มาปรับใช้ตามนัยแห่ง ป.อ.มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาทจำเลยอุทธณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาทย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคารและการกำหนดโทษปรับรายวันภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร รวมถึงประเด็นอายุความ
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212