พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ สัญญาเป็นโมฆะ
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยส.กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลผูกพันจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับส.และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้นจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรค2(2)ไม่มีผลบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ หากผู้ลงนามไม่ใช่ผู้มีอำนาจตามข้อบังคับบริษัท
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย ส. กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันจำเลย การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส. และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้น จึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรค 2(2) ไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับขององค์การคลังสินค้า ต้องนับตามระยะเวลาทำงานจริง ไม่ใช่วิธีคำนวณบำเหน็จ
ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานพ.ศ.2528ข้อ9วรรค2ประกอบกับข้อ11ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น.ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลาดังนั้นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอกซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ14นั้นเป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้วโดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงานอนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง6เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น1ปีมาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ ต้องนับตามข้อบังคับขององค์กร โดยระยะเวลาทำงานไม่ครบ 5 ปี ไม่มีสิทธิรับ
ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงาน พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรค 2 ประกอบกับข้อ 11 ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์ และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น. ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลา ดังนั้น เกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอก ซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ 14 นั้น เป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้ว โดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงาน อนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง 6 เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น 1 ปี มาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้ จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยด้วยวาจาและการปฏิบัติที่ยืดหยุ่นของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดให้พนักงานซึ่งไม่มาทำงานหรือเจ็บป่วยไม่สามารถมาทำงานได้จะต้องยื่นใบลาต่อนายจ้าง แต่ในทางปฏิบัติกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเจ็บป่วยหรือไม่มาทำงาน โจทก์เพียงแต่ขอลาด้วยวาขาต่อหัวหน้างานและจัดหาคนมาทำงานแทนก็เป็นอันใช้ได้โดยไม่ต้องยื่นใบลาซึ่งโจทก์ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดมาโดยนายจ้างไม่เคยถือเป็นความผิด ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มา ทำงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันแต่ได้ลางานด้วยวิธีดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หากนายจ้างไม่เคร่งครัด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้พนักงานซึ่งไม่มาทำงานหรือเจ็บป่วยไม่สามารถมาทำงานได้ จะต้องยื่นใบลาก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กรณีโจทก์เจ็บป่วยหรือไม่มาทำงานโจทก์ก็เพียงแต่ขอลาด้วยวาจาต่อหัวหน้าและจัดหา คนมาทำงานแทนก็เป็นอันใช้ได้ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือ เคร่งครัดตามระเบียบข้อบังคับ การที่โจทก์ไม่มาทำงานเป็น เวลา 3 วันติดต่อกัน แต่ขอลาด้วยวาจาและจัดหาคนมาทำงานแทน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากทุจริต ประมาทเลินเล่อ และขาดความไว้วางใจ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า พยานโจทก์ไม่ยืนยันว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่า อ.เคยทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแต่กลับยืนยันว่าโจทก์ไม่ทราบคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้ จึงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนนั้นปัญหาว่าโจทก์ทราบข้อที่ อ. เคยทุจริตต่อหน้าที่มาก่อนจริงหรือไม่ ศาลควรรับฟังคำพยานผู้ใด ฝ่ายใด เป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นข้อเท็จจริงอุทธรณ์โจทก์ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงาน ภาค 2 มีว่า ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะกระทำการประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหาย และคณะกรรมการ ธนาคารเห็นว่าไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ ความตอนท้าย เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปประกอบการพิจารณาการกระทำผิดข้อที่เกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานโดยเฉพาะเท่านั้น เพราะไม่ใช่ ความผิดร้ายแรง สมควรต้องพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควร จะให้เงินทุนเลี้ยงชีพหรือไม่ ส่วนกระทำผิดทุจริตต่อ หน้าที่และการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการพิจารณาว่าจะจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพ หรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากทุจริต/ประมาทเลินเล่อ และสิทธิในเงินทุนเลี้ยงชีพ ความสำคัญของข้อเท็จจริงและการตีความระเบียบ
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามคำเบิกความของพยานทุกปากไม่มีผู้ใดยืนยันว่าโจทก์ทราบมาก่อนว่า อ. เคยทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน พยานโจทก์ทุกปากยืนยันว่าโจทก์ไม่ทราบ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้จึงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนนั้น ปัญหาว่าโจทก์ทราบข้อที่ อ. เคยทุจริตต่อหน้ามาก่อนจริงหรือไม่ ศาลควรรับฟังคำพยานผู้ใด ฝ่ายใด เป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานฯ ระบุว่าพนักงานที่ออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพเว้นแต่ "ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือ เพราะกระทำการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหายและคณะกรรมการธนาคารเห็นว่า ไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้" นั้น เห็นได้ว่า กรณีการทุจริตให้หน้าที่หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดชั้นร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณา ส่วนการเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานมิใช่ความผิดขั้นร้ายแรงจึงต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรให้เงินทุนเลี้ยงชีพแก่พนักงานผู้นั้นหรือไม่
ระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานฯ ระบุว่าพนักงานที่ออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพเว้นแต่ "ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือ เพราะกระทำการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานเป็นเหตุให้ธนาคารต้องเสียหายและคณะกรรมการธนาคารเห็นว่า ไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้" นั้น เห็นได้ว่า กรณีการทุจริตให้หน้าที่หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นความผิดชั้นร้ายแรงไม่จำต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณา ส่วนการเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานมิใช่ความผิดขั้นร้ายแรงจึงต้องให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรให้เงินทุนเลี้ยงชีพแก่พนักงานผู้นั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงคดีเลือกตั้ง และความชัดเจนของฟ้อง กรณีไม่ยื่นรายการค่าใช้จ่าย
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ใช่โทษอาญามิอาจนำมาเป็นหลักพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงหรือไม่ที่จำเลยอ้างว่ามีผลเสมอโทษประหารชีวิตนั้นการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเพียงการเพิกถอนสิทธิในทางแพ่งเพิ่มเติมจากโทษในทางอาญาจะนำมาเปรียบเทียบกับโทษทางอาญามิได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าทางจังหวัดได้ประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่22เมษายน2522แต่จำเลยไม่ยื่นรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ถูกต้องตามความเป็นจริงต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในวันที่22กรกฎาคม2522เวลากลางวันอันเป็นวันครบกำหนดสามเดือนดังนี้ฟ้องของโจทก์มีข้อความชัดเจนพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจในข้อหาได้ดีว่าจำเลยไม่ยื่นรายการค่าใช้จ่ายในระหว่างตั้งแต่วันที่22เมษายน2522เวลากลางวันจนถึงวันที่22กรกฎาคม2522เวลากลางวันนั่นเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานชั่วคราวเพื่อรอสอบสวนทางวินัย ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง แม้ผู้ถูกสั่งพักงานจะใกล้เกษียณอายุ
สิ่งของในโรงงานของจำเลยขาดบัญชีและไม่ถูกต้องจำเลยจึงมีคำสั่งตั่งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนและพิจารณาเมื่อขณะออกคำสั่งจำเลยยังไม่ทราบชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่จำต้องระบุไว้ในคำสั่งนั้น. การสอบสวนของคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งปรากฏว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งของที่ขาดบัญชีโดยเป็นประธานกรรมการตรวจรับสิงของบางส่วนแต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นและโจทก์มีอายุใกล้กำหนดจะออกจากงานฐานเกษียณอายุดังนี้จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้เพราะข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในกรณีเช่นนี้เป็นการสั่งให้ออกไว้ชั่วคราวโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งตามผลการสอบสวนพิจารณาจึงหาทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยระงับสิ้นไปทันทีไม่แม้เมื่อสอบสวนเสร็จและโจทก์เกษียณอายุไปแล้วแต่หากการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากงานฐานเกษียณอายุได้มิใช่เป็นการพ้นวิสัยที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งทั้งมิใช่ให้โจทก์ทำงานต่อไปหลังจากที่ขาดคุณสมบัติแล้วจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเช่นนี้ไม่เป็นการเลิกจ้าง.