พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากปกปิดประวัติอาญาในการสมัครงาน และสิทธิในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ธนาคารจำเลยกำหนดให้ผู้ยื่นใบสมัครเข้าทำงานแสดงรายการในใบสมัครว่าเคยต้องคดีใด ๆ มาก่อนหรือไม่ เพื่อจะได้คัดเลือกผู้ที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่มีประวัติด่างพร้อยมาก่อนให้เข้าทำงานกับจำเลย โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานกับจำเลยโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้จำเลยหลงเชื่อคุณสมบัติของโจทก์และยอมรับโจทก์เข้าทำงาน ซึ่งอาจทำให้กิจการของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยทราบความจริงในภายหลังย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ การเลิกจ้างเพราะเหตุนี้ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะโจทก์กระทำผิดในระหว่างที่เป็นลูกจ้างของจำเลย แต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงาน จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้งคือทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเวลา 23 วัน
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้งคือทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเวลา 23 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากปกปิดประวัติอาญาในใบสมัคร ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้ และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ธนาคารจำเลยกำหนดให้ผู้ยื่นใบสมัครเข้าทำงานแสดงรายการในใบสมัครว่าเคยต้องคดีใดๆมาก่อนหรือไม่เพื่อจะได้คัดเลือกผู้ที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่มีประวัติด่างพร้อยมาก่อนให้เข้าทำงานกับจำเลยโจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานกับจำเลยโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จทำให้จำเลยหลงเชื่อคุณสมบัติของโจทก์และยอมรับโจทก์เข้าทำงานซึ่งอาจทำให้กิจการของจำเลยได้รับความเสียหายเมื่อจำเลยทราบความจริงในภายหลังย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้การเลิกจ้างเพราะเหตุนี้ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะโจทก์กระทำผิดในระหว่างที่เป็นลูกจ้างของจำเลยแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานจึงมิใช่เป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า. จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้งคือทุกวันที่15และวันสิ้นเดือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่20กุมภาพันธ์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเวลา23วัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างแม้ขาดคุณสมบัติ - สิทธิรับค่าจ้างและสวัสดิการ - หนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีผลผูกพันเมื่อไม่มีมูลหนี้
จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2514 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับ มีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2520 โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่ 29 กันยายน 2520 จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2520 ช่วงเวลาก่อนวันที่ 29 กันยายน 2520 นั้น จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใด ซึ่งในเดือนกันยายน 2520 โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพ เงินค่ายังชีพ เงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่ การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใด จำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่ โจทก์จึงเรียกเงินต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา180 เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา180 เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินสวัสดิการลูกจ้างแม้ขาดคุณสมบัติ: สิทธิลูกจ้างยังคงมีตราบใดที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
จำเลยรับราชการเป็นทหารอากาศเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่12กรกฎาคม2514ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518ออกใช้บังคับมีผลให้จำเลยซึ่งรับราชการเป็นทหารอากาศขาดคุณสมบัติในการเป็นพนักงานของโจทก์แต่โจทก์คงให้ปฏิบัติงานอยู่กับโจทก์ตลอดมาจนถึงวันที่28กันยายน2520โจทก์จึงสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติงานในวันที่29กันยายน2520จำเลยก็ได้ยื่นใบลาออกต่อโจทก์และมีผลตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2520ช่วงเวลาก่อนวันที่29กันยายน2520นั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่โจทก์มิได้สั่งเลิกจ้างจำเลยแต่อย่างใดซึ่งในเดือนกันยายน2520โจทก์ก็จ่ายเงินเดือนประจำเดือนนั้นให้จำเลยด้วยถือได้ว่าเป็นการให้เงินเดือนตอบแทนการทำงานของจำเลยในฐานะที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์อยู่ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิได้เงินโบนัสเงินค่าครองชีพเงินค่ายังชีพเงินค่ารักษาพยาบาลเงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้าตามระเบียบและข้อบังคับของโจทก์ในฐานะที่เป็นค่าจ้างตอบแทนการที่จำเลยทำงานให้โจทก์ตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์อยู่การขาดคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518เป็นเพียงเหตุที่โจทก์จะเลิกจ้างจำเลยได้ถ้าโจทก์ยังไม่เลิกจ้างจำเลยอยู่ตราบใดจำเลยก็ยังเป็นพนักงานของโจทก์อยู่โจทก์จึงเรียกเงินต่างๆดังกล่าวข้างต้นคืนจากจำเลยไม่ได้. จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา180เท่านั้นเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดชำระเงินคืนให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และดอกเบี้ย กรณีลูกจ้างลากิจ/ลาป่วยเกินกำหนด
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด45วันต่อปีได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไปยอมให้เลิกจ้างได้ดังนี้แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีอีกก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้นส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าหากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง2ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้วโจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้างทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ลูกจ้างประจำรายวันทุกวันที่14และวันที่28ของเดือนเมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่19กันยายน2528การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่14ตุลาคม2528ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปการที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่19กันยายน2528โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่1ตุลาคม2528และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่13ตุลาคมรวม9วันเพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์เสาร์อาทิตย์รวม4วันและต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา13วัน. เงินบำเหน็จเงินประกันและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้างโจทก์จึงต้องทวงถามก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, การลากิจ/ลาป่วย, และการคำนวณวันเลิกจ้าง
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด 45 วันต่อปี ได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไป ยอมให้เลิกจ้างได้ ดังนี้ แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปี อีก ก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้น ส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่า หากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง 2 ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้ จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน 45 วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้าง ทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ลูกจ้างประจำรายวัน ทุกวันที่ 14 และวันที่ 28 ของเดือน เมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่ 19กันยายน 2528 การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่ 14 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่ 19 กันยายน 2528 โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม รวม 9 วัน เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ เสาร์อาทิตย์รวม 4 วัน และต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา 13 วัน
เงินบำเหน็จ เงินประกัน และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง โจทก์จึงต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ ลูกจ้างประจำรายวัน ทุกวันที่ 14 และวันที่ 28 ของเดือน เมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่ 19กันยายน 2528 การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่ 14 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป การที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่ 19 กันยายน 2528 โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม รวม 9 วัน เพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ เสาร์อาทิตย์รวม 4 วัน และต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา 13 วัน
เงินบำเหน็จ เงินประกัน และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง โจทก์จึงต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์เกินกำหนด & เลิกจ้างมีเหตุผล: ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง ไม่รับอุทธรณ์ & ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเกินกำหนดสิบห้าวันโดยมิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบแม้ศาลแรงงานกลางจะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาก็หาทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบแล้วนั้นกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบไม่ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย บทบัญญัติเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา49แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522และบทบัญญัติในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583เรื่องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นกฎหมายทั้งสามฉบับนี้มีวัตถุประสงค์และมีที่ใช้ต่างกันจะเทียบเคียงแปลปรับเข้าด้วยกันมิได้การที่จะวินิจฉัยว่าการใดจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามบทบัญญัติมาตรา49แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522หรือมิใช่นั้นจะต้องพิเคราะห์ว่ามีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญนายจ้างเชื่อว่าลูกจ้างมีส่วนพัวพันกับการพยายามฆ่าย. ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้างทำให้นายจ้างไม่ไว้วางใจลูกจ้างจึงสั่งเลิกจ้างไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากสาเหตุเพียงพอ แม้ลูกจ้างมิได้กระทำผิด
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น จักต้องพิเคราะห์ว่ามีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญ บางกรณีแม้ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดแต่นายจ้างขาดทุน นายจ้างก็อาจเลิกจ้างผู้นั้นเสียได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มีการลอบฆ่า ย.ผู้จัดการบริษัทจำเลย แต่ไม่มีพยานหลักฐานแสดงแจ้งชัดว่าโจทก์เป็นผู้กระทำความผิด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเชื่อว่ามีส่วนพัวพันกับการพยายามฆ่า ย.จึงไม่ไว้วางใจโจทก์ เป็นการเลิกจ้างโดยมีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงเงินสะสม: เงินสะสมกับค่าเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อไม่เกี่ยวข้องกัน จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วง
เงินสะสมที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยกับค่าเสียหายของจำเลยอันเนื่องจากการที่โจทก์ปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งมิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครองอยู่โดยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้น จำเลยหามีสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เมื่อหักกลบลบหนี้ไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และการสิ้นสุดสิทธิเมื่อขาดคุณสมบัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ50วรรคแรก(3)ที่ให้บุตรของลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายมีสิทธิรับเงินทดแทนจากนายจ้างนั้นบุตรนั้นต้องมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเว้นแต่ถ้าอายุครบสิบแปดปีแล้วแต่ยังศึกษาอยู่ก็ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เมื่อบุตรของลูกจ้างผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดให้สิทธิเรียกร้องส่วนของบุตรลูกจ้างที่จะได้เงินทดแทนนั้นโอนหรือตกทอดไปยังทายาทอื่นของลูกจ้างทั้งมิได้กำหนดให้นายจ้างต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของบุตรของลูกจ้างนั้นมาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่ทายาทอื่นของลูกจ้างได้.