พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และไม่ได้ศึกษาต่อ
บุตรของผู้ตายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 50(3) มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบกำหนดตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน แต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หากขาดคุณสมบัติดังกล่าวแล้วแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้จะมิได้กำหนดให้ส่วนแบ่งของบุตรของผู้ตายเป็นอันยุติหรือเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในข้อ 50 วรรคสาม ซึ่งกำหนดให้ส่วนแบ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเป็นอันยุติก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นอันยุติไปโดยผลของข้อ 50(3) เมื่อส.บุตรของผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากจำเลย สิทธิเรียกร้องของ ส.จึงเป็นอันยุติ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ ส. และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวมิได้กำหนดให้สิทธิของ ส.โอนหรือตกทอดไปยังโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาและบุตรอีกผู้หนึ่งของผู้ตาย หรือมิได้กำหนดให้จำเลยต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของ ส. มาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนอันเป็นส่วนของ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การคำนวณค่าจ้าง และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในการฟ้องร้อง
ข้อที่จำเลยให้การว่าโจทก์ได้กระทำการอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงจงใจขัดคำสั่งหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของโจทก์ นั้น จำเลยมิได้แสดงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่า โจทก์ได้กระทำการอย่างไร หรือขัดคำสั่งหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในเรื่องใด เป็นคำให้การไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่มีประเด็นที่จำเลยนำสืบ ส่วนคำให้การเรื่องข่มขู่อาฆาตจะทำร้ายหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของโจทก์และข่มขู่จะทำความเสียหายแก่เครื่องจักรของจำเลย มีความหมายอยู่ในตัว โจทก์ย่อมเข้าใจ แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การว่า การข่มขู่กล่าวด้วยถ้อยคำอย่างไรก็เป็นรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้ คำให้การของจำเลยข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทสำหรับคำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่เคยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าข้อตกลง หากทำเกินข้อตกลง จำเลยก็ได้จ่ายค่าทำงานดังกล่าวไปแล้ว เป็นคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง จึงมีประเด็นข้อพิพาท แม้จำเลยจะมิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุแห่งการปฏิเสธอันทำให้ไม่มีสิทธิสืบหักล้าง แต่โจทก์ก็มีหน้าที่สืบให้สมฟ้อง จะอ้างว่าจำเลยยอมรับตามฟ้องโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานหาได้ไม่.
แม้สัญญาจ้างจะกำหนดให้โจทก์ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงก็ตามเป็นเพียงคู่สัญญาตกลงกำหนดจำนวนชั่วโมงในการทำงานสำหรับวันหนึ่ง ๆ ไว้เท่านั้นกำหนดเวลาดังกล่าวอาจเป็นกำหนดเวลาทำงานตามปกติของลูกจ้างทั้งหมดก็ได้หรืออาจรวมทั้งกำหนดเวลาที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างด้วยก็ได้ เมื่อสัญญาจ้างข้อหนึ่งกำหนดว่า เวลาทำงานที่เกินวันละ 8 ชั่วโมงให้ได้รับค่าล่วงเวลา เวลาที่เกินนี้จึงเป็นการทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติค่าล่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ไม่ต้องนำมารวมกับค่าจ้างพื้นฐาน เพื่อคำนวณเงินประเภทต่าง ๆ
โจทก์ข่มขู่จะก่อวินาศกรรมแก่เครื่องจักรกลของจำเลยนั้นไม่ปรากฏระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดเป็นความผิดหรือโทษไว้ คงมีเฉพาะกรณีที่โจทก์ข่มขู่จะทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ที่ระบุว่า 'ข่มขู่ลูกจ้างอื่น' ซึ่งกำหนดโทษลูกจ้างผู้กระทำผิดไว้หลายระดับ เช่น ตักเตือน ลดเงินเดือนพักงาน หรือไล่ออกจากงาน มิได้กำหนดโทษขั้นไล่ออกจากงานไว้สถานเดียว แสดงว่า แม้ลูกจ้างกระทำผิดดังกล่าวจำเลยก็มิได้ถือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงอย่างเดียวจึงได้กำหนดโทษไว้หลายระดับ ทั้งการที่โจทก์กล่าวคำข่มขู่ดังกล่าวก็เพียงเพื่อยับยั้งมิให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานที่อื่น หามีเจตนาที่จะกระทำการตามที่ข่มขู่ การกระทำของโจทก์ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกกล่าวล่วงหน้า.
ตามสัญญาจ้างซึ่งกำหนดเงินเดือนพื้นฐานเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า 'เดือน' ไว้ว่า ให้หมายถึงระยะเวลาซึ่งเริ่มต้นในวันแรกของเดือนใด ๆ ในปฏิทินและสิ้นสุดในวันสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ ตามปฏิทินดังนั้น เงินเดือนพื้นฐานซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นรายเดือนเต็มจำนวนให้แก่โจทก์นั้นโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างของจำเลยเต็มเดือน กรณีที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยไม่เต็มเดือน เงินเดือนพื้นฐานย่อมลดลงตามส่วน แม้โจทก์จะทำงาน 14 วัน หยุด 14 วันและในเดือนที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโจทก์ทำงานครบ 14 วันแล้วก็ตาม โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างพื้นฐานเต็มเดือน เพราะสัญญาจ้างมิได้กำหนดให้สิทธิแก่โจทก์เช่นนั้น
แม้สัญญาจ้างจะกำหนดให้โจทก์ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงก็ตามเป็นเพียงคู่สัญญาตกลงกำหนดจำนวนชั่วโมงในการทำงานสำหรับวันหนึ่ง ๆ ไว้เท่านั้นกำหนดเวลาดังกล่าวอาจเป็นกำหนดเวลาทำงานตามปกติของลูกจ้างทั้งหมดก็ได้หรืออาจรวมทั้งกำหนดเวลาที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างด้วยก็ได้ เมื่อสัญญาจ้างข้อหนึ่งกำหนดว่า เวลาทำงานที่เกินวันละ 8 ชั่วโมงให้ได้รับค่าล่วงเวลา เวลาที่เกินนี้จึงเป็นการทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติค่าล่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ไม่ต้องนำมารวมกับค่าจ้างพื้นฐาน เพื่อคำนวณเงินประเภทต่าง ๆ
โจทก์ข่มขู่จะก่อวินาศกรรมแก่เครื่องจักรกลของจำเลยนั้นไม่ปรากฏระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดเป็นความผิดหรือโทษไว้ คงมีเฉพาะกรณีที่โจทก์ข่มขู่จะทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ที่ระบุว่า 'ข่มขู่ลูกจ้างอื่น' ซึ่งกำหนดโทษลูกจ้างผู้กระทำผิดไว้หลายระดับ เช่น ตักเตือน ลดเงินเดือนพักงาน หรือไล่ออกจากงาน มิได้กำหนดโทษขั้นไล่ออกจากงานไว้สถานเดียว แสดงว่า แม้ลูกจ้างกระทำผิดดังกล่าวจำเลยก็มิได้ถือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงอย่างเดียวจึงได้กำหนดโทษไว้หลายระดับ ทั้งการที่โจทก์กล่าวคำข่มขู่ดังกล่าวก็เพียงเพื่อยับยั้งมิให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานที่อื่น หามีเจตนาที่จะกระทำการตามที่ข่มขู่ การกระทำของโจทก์ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกกล่าวล่วงหน้า.
ตามสัญญาจ้างซึ่งกำหนดเงินเดือนพื้นฐานเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า 'เดือน' ไว้ว่า ให้หมายถึงระยะเวลาซึ่งเริ่มต้นในวันแรกของเดือนใด ๆ ในปฏิทินและสิ้นสุดในวันสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ ตามปฏิทินดังนั้น เงินเดือนพื้นฐานซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นรายเดือนเต็มจำนวนให้แก่โจทก์นั้นโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างของจำเลยเต็มเดือน กรณีที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยไม่เต็มเดือน เงินเดือนพื้นฐานย่อมลดลงตามส่วน แม้โจทก์จะทำงาน 14 วัน หยุด 14 วันและในเดือนที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโจทก์ทำงานครบ 14 วันแล้วก็ตาม โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างพื้นฐานเต็มเดือน เพราะสัญญาจ้างมิได้กำหนดให้สิทธิแก่โจทก์เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานประกอบการรับฟังความผิดอาญา แม้ประจักษ์พยานเบิกความไม่สอดคล้องกับคำให้การเดิม
กรณีที่โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาสืบหรือประจักษ์พยานไม่ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายโดยเบิกความขัดกับคำให้การชั้นสอบสวนโดยปราศจากเหตุผลหากโจทก์มีพยานหลักฐานอื่นก็อาจใช้ประกอบกันเพื่อรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานป่วย: การเลิกจ้างเป็นธรรมเมื่อไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และการมอบอำนาจเลิกจ้างชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ป่วยเป็นโรคเบาหวานจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่พนักงานขับรถตามตำแหน่งได้ จำเลยไม่อาจคาดหมายได้ว่าโจทก์จะมีโอกาสหายจากโรคดังกล่าวหรือไม่ และไม่สามารถหางานอื่นที่เหมาะสมให้ได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การที่ผู้อำนวยการของจำเลยออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้จัดการเขตการเดินรถมีอำนาจดำเนินการในเขตการเดินรถที่รับผิดชอบ รวมทั้งมีอำนาจอนุมัติลาออก เลิกจ้าง ให้ออก ไล่ออกพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการแบ่งงานในหน้าที่ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการของจำเลย เป็นคำสั่งในทางบริหารงาน มิใช่เป็นการมอบอำนาจโดยเฉพาะ และมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำนิติกรรมอันหนึ่งอันใดอันพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร คำสั่งดังกล่าวซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้จัดการเขตการเดินรถจึงมีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้
การที่ผู้อำนวยการของจำเลยออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้จัดการเขตการเดินรถมีอำนาจดำเนินการในเขตการเดินรถที่รับผิดชอบ รวมทั้งมีอำนาจอนุมัติลาออก เลิกจ้าง ให้ออก ไล่ออกพนักงานหรือลูกจ้างในสังกัดได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการแบ่งงานในหน้าที่ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการของจำเลย เป็นคำสั่งในทางบริหารงาน มิใช่เป็นการมอบอำนาจโดยเฉพาะ และมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำนิติกรรมอันหนึ่งอันใดอันพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร คำสั่งดังกล่าวซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์จึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้จัดการเขตการเดินรถจึงมีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประจำ vs. ลูกจ้างชั่วคราว: วัตถุประสงค์การจ้างสำคัญกว่าจำนวนวันทำงาน
ข้อแตกต่างระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้างชั่วคราวอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการจ้าง ไม่ใช่อยู่ที่จำนวนวันทำงานหรือค่าจ้างในแต่ละเดือน ถ้านายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างไว้เป็นประจำก็ถือว่าเป็นลูกจ้างประจำ แต่ถ้าตกลงจ้างไว้เพียงเพื่อให้ทำงานซึ่งมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นงานจรหรือเป็นงานตามฤดูกาลก็ถือว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราว เมื่อจำเลยจ้างโจทก์นั้นจำเลยมิได้แสดงความประสงค์ว่าจะจ้างประจำหรือจ้างชั่วคราว และมิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ แต่ลักษณะงานของจำเลยเป็นงานซึ่งมีอยู่โดยสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำเสร็จครั้งหนึ่งแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นกันไปโดยไม่มีงานให้ทำอีก ต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานไปตามปกติจนกว่าจะมีการเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ข้อตกลงที่ให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์วันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการ โดยจ่ายค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงานนั้น เป็นข้อตกลงกำหนดจำนวนวันทำงานและค่าจ้างกันเท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นลูกจ้างชั่วคราวของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ประพฤติชั่วร้ายแรง: การพกพาอาวุธปืนและประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิต
ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานได้หากลูกจ้างประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง การที่ลูกจ้างพกพาอาวุธปืนและนำไปจ่อหน้าอกเด็กชาย ต. ในขณะที่ลูกจ้างมึนเมาสุรา กระสุนปืนลั่นโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กชาย ต.ถึงแก่ความตาย ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้ และลูกจ้างยังถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ อีกกระทงหนึ่งซึ่งศาลได้พิพากษาจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้อีกเช่นเดียวกันกรณีดังกล่าวถือได้ว่าลูกจ้างได้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุที่นายจ้างจะไล่ออกจากงานได้ตามระเบียบดังกล่าวแล้ว การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม และนายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711-1715/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำผิดวินัยต้องตักเตือนก่อนเลิกจ้าง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่เข้าไปนั่งคุยและนอนคุยในห้องปรับอากาศเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 7.5 ที่ว่าต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน ไม่เอาเวลาของการทำงานไปคุยทำให้เสียหายแก่นายจ้างและข้อ 7.6 ที่จะต้องไม่หยอกล้อเล่นกันในเวลาทำงาน และไม่หลับนอนในระหว่างการทำงาน แต่ตามข้อบังคับหรือระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนดว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จึงจะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) ส่วนจะเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบ ฯ ข้ออื่นหรือไม่ คำสั่งเลิกจ้างหาได้ระบุความผิดดังกล่าวไว้ไม่ จึงไม่มีประเด็นสำหรับความผิดนั้นและไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยในข้อบังคับบริษัทต่างชาติ: ศาลวินิจฉัยตามคำแปลภาษาไทยที่ยื่นต่อศาล
การที่ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ได้รวมไว้แล้วซึ่งค่าชดเชยเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนดนั้นต้องถือว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวไม่มีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วย เอกสารภาษาต่างประเทศเมื่อจำเลยทำคำแปลเป็นภาษาไทยมาแล้วถือว่าถูกต้องตามเอกสารนั้นจำเลยจะโต้แย้งภายหลังว่าคำแปลไม่ถูกต้องหาได้ไม่ ป.พ.พ.มาตรา14จะใช้บังคับในกรณีมีเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งทำขึ้นเป็นสองภาษาแต่ข้อบังคับการทำงานของจำเลยทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษส่วนภาคภาษาไทยเป็นคำแปลเท่านั้นศาลจึงย่อมวินิจฉัยตามภาษาไทยที่แปลมานั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขาดงานซ้ำหลังได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร สิทธิในการได้รับค่าชดเชย
เอกสารมีข้อความว่า '......เรียนนายบุญมีเนื่องด้วยท่านได้ประพฤติผิดระเบียบของห้างดังนี้......16 ขาดงานบ่อยไม่ตั้งใจทำงาน......ถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบของห้าง ฯ จึงขอแจ้งให้ท่านทราบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพื่อท่านจะได้แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไป โดยการลงโทษดังนี้เตือนด้วยวาจา......' ท้ายเอกสารนี้โจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบต่อท้ายลายมือชื่อผู้ตักเตือนไว้ เอกสารดังกล่าวมีข้อความที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความผิดที่กระทำ และให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไป จึงมีลักษณะเป็นการตักเตือนโจทก์ในความผิดนั้นแล้ว หาใช่เป็นเพียงบันทึกการเตือนด้วยวาจาไม่ เมื่อโจทก์ขาดงานเป็นการละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีก จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จำนองแทนกัน การคืนเงินที่เสียไป และลาภมิควรได้
คดีเดิมศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าโจทก์ไม่มีอำนาจชำระหนี้จำนองเป็นหน้าที่ของจำเลยจะนำเงินไปชำระแก่ผู้รับจำนองคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความการที่โจทก์ชำระหนี้จำนองโดยตนมิได้เป็นหนี้และมิได้มีเจตนากระทำแทนจำเลยจึงไม่ทำให้โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้รับจำนองแต่ทำให้ที่พิพาทของจำเลยปลอดจากภาระจำนองเป็นประโยชน์แก่จำเลยไม่ต้องชำระหนี้จำนองอีกกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยได้ที่พิพาทโดยปลอดภาระจำนองโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ได้เสียไปในการไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้พร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม.