พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ การนำสืบหลักฐานนอกฟ้อง และการแก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์
รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อผู้รับเงินมีแต่ใบสำคัญจ่ายแต่มิได้มีพยานหลักฐานนำสืบว่าได้จ่ายเงินไปจริงแม้เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็จะรับฟังว่าเป็นความจริงหาได้ไม่ คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวถึงค่าถมทรายในปี2516ข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่าเงินจำนวน1,705,287บาท45สตางค์เป็นรายรับของโจทก์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่1ประเมินรายรับขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาสิ่งปลูกสร้างของกรมโยธาธิการและเงินจำนวน53,390บาทเป็นรายจ่ายที่โจทก์ลงบัญชีไว้ว่าเป็นค่าขนส่งแสดงว่าโจทก์หาได้ฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะความจริงโจทก์มีรายจ่ายค่าถมทรายไม่การที่โจทก์นำสืบว่าได้จ่ายค่าถมทรายไปจึงเป็นการนอกฟ้อง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่ามีรายจ่ายค่าถมทรายในปี2517จำนวนเงินใกล้เคียงกับที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจพบใบเสร็จฉบับแรกกรรมการโจทก์คนหนึ่งลงชื่อรับเงินฉบับที่2ไม่ปรากฏว่าผู้ใดรับเงินฉบับที่3ถึง5ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้รับเงินและฉบับที่6บุคคลภายนอกซึ่งมีอาชีพรับจ้างคัดเหล็กเป็นผู้รับเงินทั้งที่โจทก์มีลูกจ้างไปซื้อทรายจากเรือเร่มาได้อยู่แล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธรับฟังไม่ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ดินที่โจทก์สร้างศูนย์การค้าเป็นที่ลุ่มต้องถมทรายก่อนทำการก่อสร้างจึงน่าเชื่อว่ามีรายจ่ายค่าซื้อทรายถมที่ดินในปี2517จริงแต่ไม่เต็มตามที่อ้าง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการประเมินใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การพิสูจน์รายจ่าย และการแก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์
รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อผู้รับเงินมีแต่ใบสำคัญจ่ายแต่มิได้มีพยานหลักฐานนำสืบว่าได้จ่ายเงินไปจริงแม้เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็จะรับฟังว่าเป็นความจริงหาได้ไม่. คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวถึงค่าถมทรายในปี2516ข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่าเงินจำนวน1,705,287บาท45สตางค์เป็นรายรับของโจทก์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่1ประเมินรายรับขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาสิ่งปลูกสร้างของกรมโยธาธิการและเงินจำนวน53,390บาทเป็นรายจ่ายที่โจทก์ลงบัญชีไว้ว่าเป็นค่าขนส่งแสดงว่าโจทก์หาได้ฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะความจริงโจทก์มีรายจ่ายค่าถมทรายไม่การที่โจทก์นำสืบว่าได้จ่ายค่าถมทรายไปจึงเป็นการนอกฟ้อง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่ามีรายจ่ายค่าถมทรายในปี2517จำนวนเงินใกล้เคียงกับที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจพบใบเสร็จฉบับแรกกรรมการโจทก์คนหนึ่งลงชื่อรับเงินฉบับที่2ไม่ปรากฏว่าผู้ใดรับเงินฉบับที่3ถึง5ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้รับเงินและฉบับที่6บุคคลภายนอกซึ่งมีอาชีพรับจ้างคัดเหล็กเป็นผู้รับเงินทั้งที่โจทก์มีลูกจ้างไปซื้อทรายจากเรือเร่มาได้อยู่แล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธรับฟังไม่ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ดินที่โจทก์สร้างศูนย์การค้าเป็นที่ลุ่มต้องถมทรายก่อนทำการก่อสร้างจึงน่าเชื่อว่ามีรายจ่ายค่าซื้อทรายถมที่ดินในปี2517แต่ไม่เต็มตามที่อ้าง. ศาลมีอำนาจพิพากษาให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการประเมินใหม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากเหตุตามคำร้องเท่านั้น ศาลมิอาจนำเหตุอื่นนอกคำร้องมาวินิจฉัยได้ และประเด็นเรื่องอำนาจมอบอำนาจต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ร้องไม่เคยมอบอำนาจให้ ส. หรือ อ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้อง ดังนี้ประเด็นในคำคัดค้านจึงมีเพียงว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้ดำเนินคดีนี้หรือไม่เท่านั้น ข้อที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะตราที่ประทับในหนังสือนั้นมิใช่ตราของผู้ร้องและมิใช่ตราที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใด ศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะ เมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสีย จะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่.
นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง เมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใด ศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะ เมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสีย จะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่.
นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง เมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, เหตุเลิกจ้าง, การพิจารณาข้อเท็จจริงนอกคำร้อง: ศาลฎีกาตัดสินให้ยกคำร้องเลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลที่อาศัยไม่ตรงกับคำร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงว่าผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ร้องไม่เคยมอบอำนาจให้ส.หรืออ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องดังนี้ประเด็นในคำคัดค้านจึงมีเพียงว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้ดำเนินคดีนี้หรือไม่เท่านั้นข้อที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะตราที่ประทับในหนังสือนั้นมิใช่ตราของผู้ร้องและมิใช่ตราที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้. เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใดศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะเมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสียจะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่. นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้างเมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตาย ทำให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วย
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาวิ่งราวทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำหนักสองสลึง 1 เส้น ราคา 2,800 บาท ของผู้เสียหายและมีคำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) มีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปในตัว ศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องใหม่หลังศาลสั่งไม่รับฟ้อง ถือเป็นการนำคดีเข้าสู่การพิจารณาใหม่ ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่รับฟ้อง กรณีเช่นนี้การพิจารณาของศาลแรงงานกลางเป็นอันสิ้นสุดไปแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก ย่อมมีผลเท่ากับว่าได้นำคดีมาสู่การพิจารณาของศาลแรงงานกลางใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องใหม่หลังศาลสั่งไม่รับฟ้อง ถือเป็นการพิจารณาคดีซ้ำซ้อนไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่ากรณีไม่ต้องด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8(5)ไม่รับฟ้อง ดังนี้ การพิจารณาของศาลแรงงานกลางเป็นอันสิ้นสุดไปแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยตามมาตรา 9 วรรคสองอีกย่อมมีผลเท่ากับว่าให้นำคดีมาสู่ การพิจารณาของศาลแรงงานกลางใหม่อีกครั้งหนึ่งจึงหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ยังมิได้จดทะเบียน และการลวงขายสินค้า
บริษัทจำเลยจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่พ.ศ. 2456 โดยใช้คำว่า ครอมพ์ตัน เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท พ.ศ. 2480 จำเลยจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตัน ใช้สำหรับโคมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ต่อจากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ที่ประเทศอื่น ๆ อีก จำเลยได้ส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2511และยังมีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายตลอดมา ส่วนโจทก์ใช้ชื่อครอมพ์ตันเมื่อปลายปี2521ทั้งคำว่าครอมพ์ตัน เป็นคำประดิษฐ์แปลไม่ได้ ยากที่โจทก์จะคิดขึ้นมาฟ้องกับจำเลยโจทก์ย่อมทราบว่ามีผู้ใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตัน สำหรับเครื่องไฟฟ้าแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงได้ขอจดทะเบียนเสียก่อน ดังนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ดีกว่าโจทก์ แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันในประเทศไทย ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามาตรา 27 ก็ตามแต่เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้ตาม มาตรา 22มิใช่เป็นการอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนอันจะต้องห้ามตาม มาตรา 27 จำเลยส่งสินค้าเครื่องไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมานาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนโจทก์นำเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันมาใช้กับสินค้าเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายใด ๆ แสดงให้เห็นที่เครื่องไฟฟ้านั้นว่าเป็นของโจทก์เลย พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เอาสินค้าของโจทก์ไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย ดังนี้จำเลยชอบที่จะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์เลิกใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันของจำเลยได้ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 29 วรรคสอง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตัดพยานโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาฯ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งไว้โดยมีโอกาสที่จะโต้แย้งได้ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่เป็นประเด็นที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและการใช้สิทธิโดยสุจริต การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
บริษัทจำเลยจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2456 โดยใช้คำว่า ครอมพ์ตัน เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2480 จำเลยจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ใช้สำหรับโคมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ต่อจากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ที่ประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 17 ประเทศ จำเลยได้ส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2511 และยังมีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายตลอดมา ส่วนโจทก์เพิ่งจะคิดชื่อ ครอมพ์ตัน ขึ้นใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2521 จำเลยจึงใช้เครื่องหมายการค้า "ครอมพ์ตัน" มาก่อนโจทก์หลายสิบปี ทั้งคำว่า ครอมพ์ตันเป็นคำประดิษฐ์แปลไม่ได้ ยากที่โจทก์จะคิดขึ้นมาพ้องกับจำเลย โจทก์ย่อมทราบว่า มีผู้ใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันสำหรับเครื่องไฟฟ้าแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทย จึงได้ขอจดทะเบียนเสียก่อน ดังนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันดีกว่าโจทก์
แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ในประเทศไทย ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 27 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยมีสิทธิดีกว่า จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 22 มิใช่เป็นการอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนอันจะต้องห้ามตามมาตรา 27
จำเลยส่งสินค้าเครื่องไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมานาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชน โจทก์นำเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน มาใช้กับสินค้าเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายใด ๆ แสดงให้เห็นที่เครื่องไฟฟ้านั้นว่าเป็นของโจทก์เลย พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เอาสินค้าของโจทก์ไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยชอบที่จะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์เลิกใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 29 วรรคสอง
แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ในประเทศไทย ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 27 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยมีสิทธิดีกว่า จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 22 มิใช่เป็นการอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนอันจะต้องห้ามตามมาตรา 27
จำเลยส่งสินค้าเครื่องไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมานาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชน โจทก์นำเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน มาใช้กับสินค้าเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายใด ๆ แสดงให้เห็นที่เครื่องไฟฟ้านั้นว่าเป็นของโจทก์เลย พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เอาสินค้าของโจทก์ไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยชอบที่จะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์เลิกใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 29 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐานคดีแรงงาน การเลิกจ้างและค่าชดเชย
ปัญหาที่ว่าคำเบิกความของพยานปากใดมีเหตุผลหรือมีน้ำหนักควรเชื่อถือหรือไม่เพียงใด เป็นดุลพินิจในการพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลจำเลยจะอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของโจทก์ ว่าไม่มีใบรับรองแพทย์ เพราะมิได้ไปหาแพทย์เนื่องจากไม่มีเงิน แล้ววินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายว่า การที่โจทก์ขาดงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันเพราะโจทก์เจ็บป่วยนั้น แม้โจทก์จะไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และถือไม่ได้ว่าเป็นการขาดงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)(4) ซึ่งจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ดังนี้แม้จะเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อเลิกจ้าง จำเลยก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย