คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพียร สุมิระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277-1278/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแม้โรงงานเสียหายจากเหตุสุดวิสัย หากไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้าง และสิทธิลูกจ้างในการเรียกร้องค่าจ้าง
ค่าจ้างเป็นเงินซึ่งกำหนดขึ้นตามข้อตกลงของสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตราบใดที่การจ้างยังไม่ระงับนายจ้างผูกพันต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแม้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องหยุดกิจการเพราะโรงงานถูกเพลิงไหม้จนไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้แต่เมื่อจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างการจ้างจึงยังไม่ระงับและไม่ปรากฏตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าในกรณีเช่นนี้จำเลยมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างจำเลยจึงจะอ้างเหตุที่จำเลยประสบภัยเป็นข้ออ้างเพื่อไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ไม่ได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับช่วงระยะเวลาที่จำเลยหยุดกิจการและโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการเรียกร้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงไม่ถือว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายและเมื่อค่าจ้างกำหนดอัตราแน่นอนและตายตัวศาลจะใช้ดุลพินิจลดอัตราค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์โดยถือเสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายหาได้ไม่ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุคลุมๆแต่เพียงว่าให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยของค่าจ้างแต่ละงวดนับตั้งแต่วันผิดนัดมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าค่าจ้างแต่ละงวดเป็นเงินเท่าใดและจำเลยผิดนัดงวดใดตั้งแต่วันใดนั้นไม่ละเอียดชัดแจ้งเพียงพอศาลย่อมพิพากษาตามคำขอของโจทก์ไม่ได้แต่ในวันที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างนั้นค่าจ้างถึงกำหนดจ่ายแล้วการที่จำเลยไม่จ่ายให้แก่โจทก์ตามกำหนดถือว่าจำเลยผิดนัดจำเลยจึงต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ฟ้องคดีเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้, อายุความ, อำนาจฟ้อง: ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง ฟ้องไม่เคลือบคลุม ไม่ขาดอายุความ
บรรยายฟ้องว่าให้จำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อที่ค้างชำระตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่อย่างชัดแจ้งเป็นคำฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม หนังสือรับสภาพหนี้กำหนดให้ชำระหนี้ทั้งหมดภายในวันที่31ธันวาคม2521เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดดังกล่าวเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสิ้นสุดลงในวันที่31ธันวาคม2521ต้องเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันรุ่งขึ้น หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าซึ่งจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่ายังเป็นหนี้ค่าสินค้าคือค่าน้ำมันและปรากฏว่าจำเลยยังมิได้ชำระแก่โจทก์(ผู้รับมอบอำนาจ)โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือมอบอำนาจให้ผู้ใดฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้ ตามหนังสือรับสภาพหนี้ระบุให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่ง หนังสือรับสภาพหนี้ที่ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าจำนวนแน่นอนอยู่จริงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่ใช้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน: สิทธิในการรับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2528 ต่อมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2528 จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำโดยกำหนดให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน โจทก์จึง เป็นลูกจ้างประจำที่นายจ้างให้ทดลองปฏิบัติงานตามประกาศกระทรวงทหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม การนับระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานของโจทก์ต้องนับตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2528 เป็นต้นไป มิใช่นับตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยบรรจุโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2528 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการเลิกจ้างกรณีเช่นนี้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย การกำหนด 'คราว' จ่ายสินจ้างตามสัญญา
คำว่า'คราวใดคราวหนึ่ง'และ'คราวถัดไปข้างหน้า'ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582หมายถึง'คราว'กำหนดจ่ายสินจ้าง'แต่ละคราว'โดยข้อเท็จจริงที่แยกกันจะรวมสองคราวมาเป็นคราวเดียวโดยถือจำนวนค่าจ้างที่ตกลงกันเป็นรายเดือนมาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันที่15และทุกวันสิ้นเดือนเมื่อจำเลยบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างโจทก์เมื่อวันที่17มกราคม2527โดยจ่ายสินจ้างแก่โจทก์ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงคราววันที่15กุมภาพันธ์2527แล้วปล่อยโจทก์ออกจากงานไปทันทีจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย: การกำหนด 'คราว' จ่ายสินจ้างรายเดือน
คำว่า"คราวใดคราวหนึ่ง"และ"คราวถัดไปข้างหน้า"ตามป.พ.พ.มาตรา582หมายถึง"คราว"กำหนดจ่ายสินจ้าง"แต่ละคราว"โดยข้อเท็จจริงที่แยกกันจะรวมสองคราวมาเป็นคราวเดียวโดยถือจำนวนค่าจ้างที่ตกลงกันเป็นรายเดือนมาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันที่15และทุกวันสิ้นเดือนเมื่อจำเลยบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างโจทก์เมื่อวันที่17มกราคม2527โดยจ่ายสินจ้างแก่โจทก์ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงคราววันที่15กุมภาพันธ์2527แล้วปล่อยโจทก์ออกจากงานไปทันทีจึงเป็นการชอบด้วยป.พ.พ.มาตรา582แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: ซิลิโคนจัดอยู่ในประเภทวัตถุดิบหรือของสำเร็จรูป พิจารณาจากชนิด ไม่ใช่การใช้งาน
บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้าตามภาค2ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503พิกัดประเภทที่39.01กำหนดไว้ความว่าซิลิโคนก.ชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเอามาหล่อหลอมอัดหรือผสมเป็นของสำเร็จรูปฯลฯอัตราอากรร้อยละ40ข.อื่นๆอัตราอากรร้อยละ60การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู "ชนิด"ของซิลิโคนหาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริงๆไม่เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่39.01ก.และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่นๆตามพิกัดประเภทที่39.01ข.จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้2ประเภทหรือมากกว่านั้นต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามภาค1ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503บังคับกรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของไว้ชัดแจ้งและอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้างๆตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ก)ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ข)จึงต้องจัดเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุดคือประเภท39.01ข.ตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ค)จำเลยเรียกเก็บในอัตราร้อยละ60จึงถูกต้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร กรณีซิลิโคนใช้ได้ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ต้องจัดเข้าประเภทอัตราอากรสูงที่สุด
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป
การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู 'ชนิด' ของซิลิโคน หาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริง ๆ ไม่ เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่น ๆ ตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ตามภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้ง และอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ข) จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุด คือประเภทที่ 39.01ข. ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรกรณีซิลิโคนใช้ได้ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ต้องใช้หลักเกณฑ์อัตราอากรสูงที่สุด
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู'ชนิด'ของซิลิโคนหาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริงๆไม่เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่39.01ก.และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่นๆตามพิกัดประเภทที่39.01ข.จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้2ประเภทหรือมากกว่านั้นต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามภาค1ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503บังคับกรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้งและอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้างๆตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ก)ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ข)จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุดคือประเภทที่39.01ข.ตามหลักเกณฑ์ข้อ3(ค).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามสัญญาจ้างงานที่มีระยะเวลาทำงานไม่เต็ม 15 วัน
โจทก์จำเลยตกลงกันว่าในช่วงระยะเวลา15วันโจทก์ทำงานให้จำเลย8วันหยุด7วันจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์8วันเท่ากับวันทำงานจริงโดยจ่ายให้ทุกวันที่5และ20ของเดือนต่อมาวันที่20กันยายน2528จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายไปจนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือในวันที่5ตุลาคม2528แต่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจ่ายค่าจ้างโดยแท้จริงให้โจทก์เท่าที่ทำงานเพียง8วันมิได้จ่ายให้คราวละ15วันการที่จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์คนละ8วันเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นการจ่ายสินจ้างในช่วงเวลาคราวถัดไปหนึ่งช่วงตามที่ตกลงกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก7วันจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: การจ่ายค่าจ้างตามข้อตกลง 8 วันต่อ 15 วัน ไม่ถือเป็นการจ่ายครบถ้วน
โจทก์จำเลยตกลงกันว่าในช่วงระยะเวลา 15 วัน โจทก์ทำงานให้จำเลย 8 วัน หยุด 7 วัน จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ 8 วันเท่ากับวันทำงานจริง โดยจ่ายให้ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน ต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2528 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายไปจนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือในวันที่ 5 ตุลาคม 2528 แต่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจ่ายค่าจ้างโดยแท้จริงให้โจทก์เท่าที่ทำงานเพียง 8 วัน มิได้จ่ายให้คราวละ 15 วัน การที่จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์คนละ 8 วันเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นการจ่ายสินจ้างในช่วงเวลาคราวถัดไปหนึ่งช่วงตามที่ตกลงกันแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 7 วันจากจำเลย
of 71