พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141-1142/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างใหม่หลังหมดอายุสัญญาเดิม การเลิกจ้างระหว่างอายุสัญญาใหม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนการเลิกจ้างซึ่งจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาตามความในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสามซึ่งจะทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้นได้แก่การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างหรือเลิกจ้างในวันที่ระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างสิ้นสุดลงมิได้หมายความว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดก็ได้เมื่อสัญญาจ้างฉบับสุดท้ายครบกำหนดในวันที่20เมษายน2528จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์โดยให้โจทก์ทำงานกับจำเลยทั้งยินยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา581การที่สัญญาจ้างครบกำหนดในระหว่างที่โจทก์ทำงานอยู่บนเรือนั้นไม่ใช่เหตุซึ่งจะทำให้จำเลยไม่สามารถเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่24เมษายน2528ซึ่งอยู่ในระหว่างอายุของสัญญาจ้างใหม่จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141-1142/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างใหม่หลังหมดอายุสัญญาเดิม การเลิกจ้างระหว่างสัญญาใหม่มีผลให้ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน การเลิกจ้างซึ่งจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาตามความในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสามซึ่งจะทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น ได้แก่การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง หรือเลิกจ้างในวันที่ระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างสิ้นสุดลง มิได้หมายความว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดก็ได้ เมื่อสัญญาจ้างฉบับสุดท้ายครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2528 จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์โดยให้โจทก์ทำงานกับจำเลยทั้งยินยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581 การที่สัญญาจ้างครบกำหนดในระหว่างที่โจทก์ทำงานอยู่บนเรือนั้น ไม่ใช่เหตุซึ่งจะทำให้จำเลยไม่สามารถเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 24เมษายน 2528 ซึ่งอยู่ในระหว่างอายุของสัญญาจ้างใหม่จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้หนี้เป็นเรื่องกู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับหนี้ ศาลไม่รื้อฟื้นประเด็นอำนาจศาล
แม้หนี้ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยในคดีแรงงานจะเป็นเรื่องกู้ยืมเงินอันไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งในปัญหาข้อนี้ไว้ทั้งยอมรับว่าเป็นหนี้จำเลยตามฟ้องแย้งจริงเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำฟ้องแย้งแก่จำเลยศาลฎีกาเห็นไม่สมควรยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นอำนาจศาลแรงงานในคดีกู้ยืมเงิน เพราะโจทก์ไม่โต้แย้งตั้งแต่แรก
แม้หนี้ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยในคดีแรงงานจะเป็นเรื่องกู้ยืมเงินอันไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งในปัญหาข้อนี้ไว้ทั้งยอมรับว่าเป็นหนี้จำเลยตามฟ้องแย้งจริงเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำฟ้องแย้งแก่จำเลยศาลฎีกาเห็นไม่สมควรยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028-1029/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้ากระดาษแล้วนำมาตัดเป็นม้วนเล็กขาย ไม่ถือเป็นการผลิตกระดาษชนิดใหม่
หมวด8(9) โจทก์สั่งกระดาษม้วนใหญ่มีความกว้าง782มิลิเมตรยาวประมาณ6,100เมตรจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าร้อยละ7ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ประมวลรัษฎากรประเภทการค้า1การขายของชนิด1(ก)แล้วโจทก์นำกระดาษดังกล่าวมาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกตัดให้มีความกว้าง48มิลลิเมตรยาว2,000เมตรม้วนเป็นม้วนเล็กๆขายให้โรงงานยาสูบไปใช้พันก้นกรองบุหรี่เช่นนี้การประกอบกิจการของโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตกระดาษใช้พันก้นกรองบุหรี่ตามนัยประมวลรัษฎากรมาตรา77เพราะการที่โจทก์นำกระดาษม้วนใหญ่มาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกแล้วตัดทำเป็นม้วนเล็กๆนั้นเป็นการทำให้เหมาะสมและสะดวกแก่การใช้พันก้นกรองบุหรี่สินค้ากระดาษที่โจทก์นำเข้ามายังเป็นกระดาษอย่างเดิมมิได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นสินค้าใหม่โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตกระดาษทุกชนิดตามบัญชี1หมวด8(9)ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ในอัตราร้อยละ7ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ประเภทการค้า1การขายของชนิด1(ก)อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028-1029/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีผู้ประกอบการนำเข้ากระดาษแล้วพิมพ์ลาย ไม่ถือเป็นการผลิตกระดาษชนิดใหม่
โจทก์สั่งกระดาษม้วนใหญ่มีความกว้าง 782 มิลิเมตร ยาวประมาณ 6,100 เมตร จากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ประมวลรัษฎากร ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) แล้ว โจทก์นำกระดาษดังกล่าวมาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อก ตัดให้มีความกว้าง 48 มิลลิเมตร ยาว 2,000 เมตร ม้วนเป็นม้วนเล็ก ๆ ขายให้โรงงานยาสูบไปใช้พันก้นกรองบุหรี่ เช่นนี้ การประกอบกิจการของโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตกระดาษใช้พันก้นกรองบุหรี่ ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 77 เพราะการที่โจทก์นำกระดาษม้วนใหญ่มาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกแล้วตัดทำเป็นม้วนเล็ก ๆ นั้น เป็นการทำให้เหมาะสมและสะดวกแก่การใช้พันก้นกรองบุหรี่ สินค้ากระดาษที่โจทก์นำเข้ามายังเป็นกระดาษอย่างเดิม มิได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นสินค้าใหม่ โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตกระดาษทุกชนิด ตามบัญชี 1 หมวด 8 (9) ท้ายพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-998/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพและเงินค่ากะเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน/ค่าจ้างหรือไม่ และมีผลต่อการคำนวณเงินบำเหน็จอย่างไร
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า'เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง'เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-998/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณเงินบำเหน็จ: ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน/ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษ
ค่าครองชีพเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือค่าจ้างแต่การที่จะนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จหรือไม่ย่อมแล้วแต่หลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดเพราะเงินบำเหน็จกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเพียงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วยความสมัครใจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า"เงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษไม่นำไปรวมเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง"เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินเพิ่มพิเศษจะนำไปรวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จด้วยมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำผิดระเบียบข้อบังคับไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ จำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้การสอบสวนไม่ถูกต้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด