พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิสูจน์ความผิดร้ายแรงเป็นสาระสำคัญ หากพิสูจน์ได้เพียงผิดระเบียบ ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าน้ำมันรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายตามวันทำงานจริงเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน ไม่รวมคำนวณค่าชดเชย
ค่าน้ำมันรถที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานแม้จะจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดงแต่จำนวนที่ได้รับไม่แน่นอนแล้วแต่มาทำงานกี่วันจึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อตอบแทนการทำงานไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าน้ำมันรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายตามจำนวนวันที่มาทำงาน เป็นค่าช่วยเหลือปฏิบัติงาน ไม่รวมคำนวณค่าชดเชย
ค่าน้ำมันรถที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานแม้จะจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดง แต่จำนวนที่ได้รับไม่แน่นอนแล้วแต่มาทำงานกี่วัน จึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อตอบแทนการทำงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าน้ำมันรถที่ไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ค่าน้ำมันรถที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานแม้จะจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดงแต่จำนวนที่ได้รับไม่แน่นอนแล้วแต่มาทำงานกี่วันจึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อตอบแทนการทำงานไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โครงสร้างค่าจ้างรัฐวิสาหกิจ, ดุลยพินิจเลื่อนขั้น, และสิทธิเงินบำเหน็จเมื่อเลิกจ้าง
มติคณะรัฐมนตรีเรื่องโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจกำหนดไว้ด้วยว่าในการปรับอัตราเงินเดือนนั้นรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องคำนึงถึงฐานะและความสามารถทางการเงินประกอบด้วยโดยให้ได้รับเพิ่มขึ้นไม่เกินไปกว่าตารางปรับค่าจ้างเงินเดือนโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนดังกล่าวเป็นอัตราขั้นสูงที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะพิจารณาปรับให้ลูกจ้างของตนได้มิใช่อัตราตายตัวที่รัฐวิสาหกิจทุกแห่งจะต้องปรับแก่ลูกจ้างของตนเมื่อปรากฏว่ากิจการโรงงานกระสอบของจำเลยขาดทุนจำเลยย่อมมีอำนาจปรับค่าจ้างเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างต่ำกว่าขั้นสูงของโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนได้. ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยการเลื่อนขั้นเงินเดือนมิใช่เป็นสิทธิอันเด็ดขาดที่โจทก์จะได้รับเสมอไปกรณีย่อมต้องอยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาว่าควรจะเลื่อนขั้นเงินเดือนให้หรือไม่ด้วยเมื่อจำเลยต้องปิดกิจการโรงงานกระสอบโดยที่ยังไม่ทันได้มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในเงินเดือนที่ยังไม่ได้พิจารณาเพิ่มให้หาได้ไม่และศาลไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยใช้ดุลยพินิจเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ได้. โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะโรงงานกระสอบขาดทุนจนต้องปิดกิจการกรณีจึงต้องด้วยข้อบังคับโรงงานกระสอบกระทรวงการคลังว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ.2521ข้อ11ซึ่งโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จอย่างมากไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย180วันตามข้อ11.3แต่โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปแล้วสูงกว่าสิทธิอันพึงได้แม้นำเอาค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จก็ยังได้ไม่เท่ากับเงินที่โจทก์ได้รับไปแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเพิ่มอีกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือจ่ายค่าเสียหาย และการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
โจทก์มีคำขอบังคับรวมมาสองทางคือขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินต่างๆอันจะพึงเกิดแก่การเลิกจ้างด้วยแม้โจทก์มิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าหากบังคับคดีไม่ได้ตามกรณีแรกก็ขอให้บังคับคดีตามกรณีที่สองแต่โดยผลของกฎหมายและตามสภาพแห่งหนี้ย่อมหยั่งทราบเจตนาของโจทก์ได้โดยง่ายฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา49 จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินตามฟ้องเพราะโจทก์กระทำความผิดเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งศาลฎีการับวินิจฉัยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการแถลงข้อเท็จจริง และความรับผิดของเจ้าของกิจการต่อลูกจ้างที่ตัวแทนจ้าง
ทนายความที่จำเลยแต่งตั้งให้เข้ามาดำเนินคดีแทนมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62การที่ศาลแรงงานกลางสอบถามข้อเท็จจริงจากทนายจำเลยในวันนัดพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นพิพาท และทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในอำนาจของทนายจำเลยที่จะกระทำได้โดยชอบ คำแถลงหรือข้อเท็จจริงซึ่งทนายจำเลย แถลงรับต่อศาลจึงรับฟังได้ จำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการเรือประมงได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไต้ก๋งเรือดำเนินกิจการโดยให้มีอำนาจหน้าที่จัดหาหรือว่าจ้างลูกเรือหรือคนงาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 2 รับเหมากิจการเรือประมงของจำเลยที่ 1 ดำเนินการเมื่อจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์เป็นลูกเรือ ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับค่าจ้างสำหรับลูกเรือไปจากจำเลยที่ 1 แล้วไม่นำไปจ่ายให้โจทก์จำเลยที่ 1 ก็ไม่พ้นความรับผิด จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างครบถ้วนแล้วหรือไม่ ให้เป็นประเด็นในคำให้การต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย และความรับผิดของเจ้าของกิจการต่อลูกจ้างที่ตัวแทนจ้าง
ทนายความที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้เข้ามาดำเนินคดีแทนมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 การที่ศาลแรงงานกลางสอบถามข้อเท็จจริงจากทนายจำเลยในวันพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทและทนายจำเลยที่ 1 แถลงรับข้อเท็จจริงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในอำนาจของทนายจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบ คำแถลงหรือข้อเท็จจริงที่ทนายจำเลยที่ 1 แถลงรับต่อศาลจึงรับฟังได้
จำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการเรือประมงได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไต้ก๋งเรือดำเนินกิจการโดยให้มีอำนาจหน้าที่จัดหาหรือว่าจ้างลูกเรือหรือคนงาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ดังนี้เป็นการที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 2 รับเหมากิจการเรือประมงของจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์เป็นลูกเรือต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับค่าจ้างสำหรับลูกเรือไปจากจำเลยที่ 1 แล้วไม่นำไปจ่ายให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างครบถ้วนแล้วหรือไม่ไว้เป็นประเด็นในคำให้การ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการเรือประมงได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไต้ก๋งเรือดำเนินกิจการโดยให้มีอำนาจหน้าที่จัดหาหรือว่าจ้างลูกเรือหรือคนงาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ดังนี้เป็นการที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 2 รับเหมากิจการเรือประมงของจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์เป็นลูกเรือต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับค่าจ้างสำหรับลูกเรือไปจากจำเลยที่ 1 แล้วไม่นำไปจ่ายให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างครบถ้วนแล้วหรือไม่ไว้เป็นประเด็นในคำให้การ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและค่าชดเชย: การพิจารณาเหตุผลในการเลิกจ้างและขอบเขตการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ละสถานประกอบการเป็นราย ๆ ไป การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงานแต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรมจึงเป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิการได้รับค่าชดเชย รวมถึงดอกเบี้ยตามคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงาน แต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 483 นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นการเกินคำขอ
การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงาน แต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 483 นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นการเกินคำขอ