พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าจ้างซ้ำหลังคดีรับกลับเข้าทำงาน: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเป็นประเด็นเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยมิได้เรียกร้องค่าจ้างหรือค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างซึ่งโจทก์สามารถเรียกร้องมาในคราวเดียวกันได้การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยมูลฐานเดียวกันกับคดีก่อนจึงเป็นฟ้องซ้ำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมย่อมมีอยู่ก่อน หากไม่ได้เรียกร้องในคดีเดิม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยมิได้เรียกร้องค่าจ้างหรือค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างซึ่งโจทก์สามารถเรียกร้องมาในคราวเดียวกันได้การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยมูลฐานเดียวกันกับคดีก่อนจึงเป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391-394/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากขาดทุนและการหักเงินบำเหน็จด้วยค่าชดเชย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว. ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391-394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรมและการหักเงินบำเหน็จด้วยค่าชดเชยตามระเบียบบริษัท
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและความรับผิดชอบของนายจ้าง: การพิจารณาเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เงินบำเหน็จค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินคนละประเภทและกำหนดขึ้นโดยกฎหมายต่างกันการวินิจฉัยเงินประเภทหนึ่งหามีผลกระทบถึงเงินอีกประเภทหนึ่งไม่เพราะหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกับการจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างดังกล่าวตามกฎหมาย.อาจกำหนดแตกต่างกันได้การกระทำของลูกจ้างกรณีเดียวกันจึงอาจเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างและในคราวเดียวกันอาจไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ได้.ซึ่งจะทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวแตกต่างกันได้ฉะนั้นเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเพราะเหตุที่ถูกควบคุมตัวนั้นไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร.โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับจำเลยซึ่งจำเลยมีสิทธิปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จและจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตา583หรือไม่แล้วจึงเป็นการวินิจฉัยไม่ครบถ้วนทุกประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเหล่านี้ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและสิทธิประโยชน์: การพิจารณาความผิดทางวินัยและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินคนละประเภทและกำหนดขึ้นโดยกฎหมายต่างกัน การวินิจฉัยเงินประเภทหนึ่งหามีผลกระทบถึงเงินอีกประเภทหนึ่งไม่ เพราะหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง กับการจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างดังกล่าวตามกฎหมาย. อาจกำหนดแตกต่างกันได้ การกระทำของลูกจ้างกรณีเดียวกันจึงอาจเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และในคราวเดียวกันอาจไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ได้.ซึ่งจะทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวแตกต่างกันได้ฉะนั้นเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเพราะเหตุที่ถูกควบคุมตัวนั้นไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร.โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับจำเลยซึ่งจำเลยมีสิทธิปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จและจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตา583 หรือไม่แล้วจึงเป็นการวินิจฉัยไม่ครบถ้วนทุกประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเหล่านี้ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75 จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา แม้ทำงานเกิน 120 วัน
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับกำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำแต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ46แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258-259/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ในคดีแรงงาน หากจำเลยไม่ทราบวันนัดเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยในคดีแรงงานยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่อ้างว่าเจ้าพนักงานศาลปิดสำเนาฟ้องและหมายเรียกจำเลยณที่อื่นซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยและในช่วงวันนัดถึงวันชี้ขาดตัดสินคดีผู้แทนของจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัดหากข้อเท็จจริงเป็นดังจำเลยอ้างจำเลยย่อมไม่สามารถจะแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายใน7วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา41ได้เพื่อยังความยุติธรรมให้เกิดขึ้นโดยแท้จริงสมควรนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208มาใช้บังคับโดยอนุโลมกล่าวคือศาลแรงงานกลางต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วมีคำสั่งใหม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)