คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพียร สุมิระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 705 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดต่างรายกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และมีคำขอเรียกเงินจากโจทก์หลายรายการที่เกี่ยวเนื่อง หรือเป็นผลที่เกิดจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโดยมิได้มีคำขอเรียก ค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีด้วย คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย เป็นคดีนี้เรียกค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตาม ประเพณีได้ เพราะค่าจ้างทั้งสองประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างค้างจ่าย ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย แม้โจทก์จำเลยจะยังมีสภาพจ้างกันอยู่ ก็ตามจึงเป็นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ต่างรายกับมูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้อง เกี่ยวกับการเลิกจ้าง แม้โจทก์ได้เคยร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในคดีก่อนและ ศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องแต่ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ในคดีก่อนนั้นโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไว้ด้วยคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นอันยุติในชั้นศาลแรงงานกลางแล้วหาใช่อยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลฎีกาไม่คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิใช่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับของนายจ้างตามหลักสุจริตและสภาพบังคับ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่น ๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 (1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติใบลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับและหลักการตีความ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344-4345/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานไม่ไว้วางใจ แม้มิใช่ความผิดร้ายแรง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยแต่จากการ สอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้ความว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่น่าไว้วางใจ และมีมลทินมัวหมองเป็นการพิจารณาถึงเหตุที่เลิกจ้างหย่อนลงไปจาก ข้ออ้างที่ว่าทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงว่าจำเลย จะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวนซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไปแม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการ บอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344-4345/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าเชื่อถือและผลการสอบสวน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย แต่จากการ สอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้ความว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่น่าไว้วางใจ และมีมลทินมัวหมอง เป็นการพิจารณาถึงเหตุที่เลิกจ้างหย่อนลงไปจาก ข้ออ้างที่ว่าทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงว่าจำเลย จะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นไปตามผลการสอบสวน ซึ่งมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสองให้ทำงานกับจำเลยต่อไป แม้จะมิใช่ ความผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำให้การของ อ. และโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสอบสวนเป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่มีการลงนามหรือปฏิญาณตามแบบวิธีการเบิกความต่อศาลเป็นเพียงพยานบอกเล่า รับฟังได้เพียงประกอบคำเบิกความของตัวพยานซึ่งได้มาเบิกความต่อศาล เท่านั้นเมื่อ อ. และโจทก์ที่ 1 มาเบิกความต่อศาลศาลจึงต้องรับฟัง คำเบิกความของพยานทั้งสองอันเป็นประจักษ์พยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรส: อำนาจศาลเมื่อนายทะเบียนยับยั้งการจดทะเบียน และข้อจำกัดในการฎีกา
เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วแต่กลับยับยั้งการจดทะเบียนสมรสไว้ โดยหารือไปยังจังหวัดก่อนนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส อันผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 แล้ว
ในชั้นยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านอ้างเหตุที่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมอย่างหนึ่ง แต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในฎีกาว่าคำร้องเคลือบคลุมเป็นอีกอย่างหนึ่งต่างกัน ดังนั้นฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 มาตรา 19 ซึ่งบัญญัติว่า "เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย" นั้น หาใช่บทกฎหมายที่ผู้คัดค้านจะนำมาใช้ในชั้นพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนสมรสไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสข้ามสัญชาติ: อำนาจศาลเมื่อนายทะเบียนยับยั้งการจดทะเบียน และข้อจำกัดในการอ้างเหตุใหม่ในฎีกา
เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าผู้ร้องขอจดทะเบียนสมรสมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้วแต่กลับยับยั้งการจดทะเบียนสมรสไว้ โดยหารือไปยังจังหวัดก่อนนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส อันผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 แล้ว ในชั้นยื่นคำคัดค้านผู้คัดค้านอ้างเหตุที่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมอย่างหนึ่งแต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในฎีกาว่าคำร้องเคลือบคลุมเป็นอีกอย่างหนึ่งต่างกันดังนั้นฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481มาตรา 19 ซึ่งบัญญัติว่า 'เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย'นั้นหาใช่บทกฎหมายที่ผู้คัดค้านจะนำมาใช้ในชั้นพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนสมรสไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4295/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานด้วยเหตุผลทางธุรกิจ: การพิจารณาความจำเป็นและความเป็นธรรม
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อนแต่ก็เป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นแก่การเลิกจ้างแล้วแม้นายจ้างมิได้ยุบหน่วยงานที่ผู้ถูกเลิกจ้างทำงานอยู่ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุน ไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้โดยราบรื่น จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายด้วยการเลิกจ้างพนักงานเมื่อเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินบำเหน็จ ค่าชดเชยให้ตามกฎหมายถือไม่ได้ว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและไม่เป็นการฝ่าฝืนบันทึกผลการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งห้ามจำเลยที่ 1 เลิกจ้างพนักงานและลูกจ้างไม่ว่ากรณีใดๆมิฉะนั้นแล้วแม้จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุนมีหนี้สินมากจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ กิจการหยุดชะงักงันโดยสิ้นเชิงจำเลยที่ 1 ก็ยังจะต้องรับภาระจ้างพนักงานและลูกจ้างในจำนวนเดิม และไม่สามารถแก้ไขวิกฤติการณ์ จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งวันฟ้อง' แต่หลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้สั่งคำร้องขอแก้ไขฟ้องดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291-4295/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่สมเหตุสมผล แม้มีบันทึกข้อตกลงและภาวะขาดทุน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อน แต่ก็เป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นแก่การเลิกจ้างแล้วแม้นายจ้างมิได้ยุบหน่วยงานที่ผู้ถูกเลิกจ้างทำงานอยู่ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุน ไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้โดยราบรื่น จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายด้วยการเลิกจ้างพนักงาน เมื่อเลิกจ้างก็ได้จ่ายเงินบำเหน็จ ค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและไม่เป็นการฝ่าฝืนบันทึกผลการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งห้ามจำเลยที่ 1 เลิกจ้างพนักงานและลูกจ้างไม่ว่ากรณีใด ๆ มิฉะนั้นแล้วแม้จำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุนมีหนี้สินมากจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ กิจการหยุดชะงักงันโดยสิ้นเชิงจำเลยที่ 1 ก็ยังจะต้องรับภาระจ้างพนักงาน และลูกจ้างในจำนวนเดิมและไม่สามารถแก้ไขวิกฤติการณ์ จึงย่อมเป็นไปไม่ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งวันฟ้อง' แต่หลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้สั่งคำร้องขอแก้ไขฟ้องดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาระสำคัญของฟ้องคือผิดสัญญาจ้างแรงงาน แม้ระบุฐานความผิดเป็นละเมิด ศาลต้องพิจารณาอายุความตามสัญญาจ้าง
คำฟ้องโจทก์ในช่องข้อหาหรือฐานความผิดระบุว่า "ละเมิดเรียกค่าเสียหาย"ฟ้องข้อ 3 บรรยายว่า "ระหว่างที่จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย" แต่ฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายว่า "จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามสัญญาจ้างแรงงาน"เมื่ออ่านฟ้องสองข้อประกอบกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะระบุข้อหาหรือฐานความผิดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในฟ้องซึ่งเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นฟ้องเรื่องละเมิดไปได้จะใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่
of 71